แข่งขัน ผิดหวัง กลัวการแข่งขัน

8 วิธีช่วยลูก เมื่อลูกกลัวผิดหวังจากการ แข่งขัน

Alternative Textaccount_circle
event
แข่งขัน ผิดหวัง กลัวการแข่งขัน
แข่งขัน ผิดหวัง กลัวการแข่งขัน

8 วิธีช่วยลูก เมื่อลูกกลัวการผิดหวังจากการ แข่งขัน !!

แน่นอนว่าการ แข่งขัน ย่อมมีคนแพ้ คนชนะ และการผิดหวังย่อมเกิดขึ้นเสมอกับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน แต่แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจบอกว่า งั้นเราก็เลี่ยงการแข่งขันในชีวิตลูกเสียสิ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง แม้เพียงมีผู้เล่นเพียงสองคน การแข่งขัน การเปรียบเทียบก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะพาลูกหลีกหนีเช่นไร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งที่ในชีวิตของเขาต้องเผชิญ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ควรทำเพื่อลูก คือ สร้างเกาะคุ้มกันทางใจให้แก่เขา เพื่อให้ลูกพร้อมรับมือได้กับทุกสถานการณ์

รับฟัง เมื่อลูกกลัวการ แข่งขัน
รับฟัง เมื่อลูกกลัวการ แข่งขัน

หากความพ่ายแพ้มาเยือน เราจะแนะนำ 8 วิธีที่คุณจะสามารถใช้ในการช่วยเหลือลูกน้อยของคุณให้หลุดพ้นจากความเศร้า ความผิดหวังได้

  1. เป็นพ่อแม่ที่รับฟัง ไม่ตัดสิน บางทีเมื่อเรารู้สึกผิดหวัง หรือเครียด มนุษย์เราเพียงต้องการที่ระบาย คุณพ่อคุณแม่อาจไม่จำเป็นต้องตอบโต้ สั่งสอน หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกพูดระบาย หรือเหตุการณ์ที่เขาประสบกับความผิดหวังมา แค่การนั่งอยู่เคียงข้าง และรับฟังเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว เรียกว่า เป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ลูกนั่นเอง
  2. จัดการความผิดหวังของคุณด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่การแข่งขันของลูกเท่านั้น แต่คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมมีความคาดหวังในตัวลูกอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นอย่าทำให้สถานการณ์บานปลาย คุณพ่อคุณแม่ควรสงบสติอารมณ์ เมื่อคุณเผชิญกับความวิตกกังวล และความผิดหวัง หลังพบว่าลูกพลาด แม้ว่าในใจลึก ๆ คุณจะผิดหวัง แต่จะอย่าแสดงออกมาให้ลูกรู้สึก และรับรู้ได้ เพราะเพียงแค่ความรู้สึกแย่ที่ลูกได้รับก็มากเพียงพอแล้วสำหรับเด็ก
  3. อย่ากดดันลูก ด้วยประสบการณ์ของคุณเอง บ่อยครั้งที่คำปลอบประโลมใจของคุณพ่อคุณแม่ มักยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวคุณเอง แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันมีประโยชน์ต่อการเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับลูก แต่ไม่ใช่เวลานี้ เมื่อลูกเพิ่งประสบกับความผิดหวัง อย่าเพิ่งแบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านมากับเขา ให้เวลาลูกได้ทำใจเสียก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ต่อไป
  4. ถามความต้องการของลูก ลองถามลูกดูว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้อย่างไรบ้าง บางทีพวกเขาแค่ต้องการให้คุณรับฟัง หรือบางทีพวกเขาต้องการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือครู เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยช่วยเหลือในสิ่งที่ลูกต้องการ เพราะความรู้สึกบางอย่าง บางครั้งก็ต้องการความช่วยเหลือจากผู้รู้ คุณอาจจะประหลาดใจกับคำตอบของพวกเขา
  5. กระตุ้นให้พวกเขาออกกำลังกาย เข้าสังคม และเพลิดเพลินกับช่วงเวลาเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างวันต่อไป หาโอกาสอธิบายว่าชีวิตไม่ได้หยุดอยู่แค่การ แข่งขัน นี้ ทำให้เขารู้สึกว่าชีวิตยังมีอีกหลายด้านที่เราต้องผ่านไป
  6. สอนให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเอง กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กรู้สึกถึงคุณค่าในตนเองมีมากมาย ได้แก่ การพาลูกไปร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา การมอบหมายงานบ้านที่เหมาะสมให้เขา เมื่อเขาทำสำเร็จ เขาจะรู้สึกถึงคุณค่า ความสามารถที่อยู่ในตัวเอง ทำให้ลูกรักตัวเองมากขึ้น
  7. โปรดอย่าเปรียบเทียบลูกของคุณกับเพื่อน ลูกพี่ลูกน้อง หรือเพื่อนของพวกเขา สิ่งนี้จะเพิ่มความวิตกกังวล และสร้างความเกลียดชังในความสัมพันธ์ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครเลย แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะทำไปด้วยความหวังดี อยากให้เขาเห็นตัวอย่างที่ดี แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับแย่กว่านั้น
  8. ปล่อยให้ลูกได้เผชิญกับความรู้สึกผิดหวัง จากการ แข่งขัน บ้าง แม้ว่าจะไม่มีใครอยากแพ้ อยากถูกปฎิเสธ แต่การพลาดหวังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อมีการแข่งขัน พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้รับประสบการณ์ที่แย่บ้าง เพราะแม้ว่าจะเสียใจ แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ การรู้จักปรับตัวได้มากขึ้นทุกครั้งที่ผิดหวัง รู้จักยอมรับ และเดินหน้าต่อไป สิ่งนี้ต่างหากที่จะเป็นบทเรียนอันมีค่าสำหรับลูก

“ความเครียดในเด็ก” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด หมั่นทำความเข้าใจ เปิดใจและรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกอย่างแท้จริง โดยอาจหาช่วงเวลาที่จะได้พูดคุยกับลูก เช่น เวลารับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกไม่กดดันมากจนเกินไป และเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียดของเขาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อตัวเขาเอง ทั้งเรื่องอารมณ์ความรู้สึก การเรียน ไปจนถึงการดำเนินชีวิตวัยเด็กอย่างมีความสุขได้

เด็กเครียด กดดัน จากสังคมแห่งการ แข่งขัน
เด็กเครียด กดดัน จากสังคมแห่งการ แข่งขัน

สังเกตภาวะเด็กเครียดได้อย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กยังไม่สามารถแสดงออกอารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงความเครียดของเขาออกมาได้ชัดเจนและครบถ้วนเท่าผู้ใหญ่ นั่นจึงทำให้ความเครียดก่อตัวและถูกแสดงออกมาได้หลายแบบ เช่น มีอาการปวดหัว ร้องไห้ วิตกกังวล หงุดหงิด เบื่อ เด็กไม่อยากกินข้าว เศร้า และขาดสมาธิ ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงเรื่องการเรียนของลูกได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกที่บ่งบอกถึงภาวะเด็กเครียดอยู่เสมอ

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.psychologytoday.com/https://www.milo.co.th/https://www.rama.mahidol.ac.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สอนลูกให้กล้า ไม่กลัวความล้มเหลว ปูหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต

ช่วยลูกจัดการความ ผิดหวัง ต้องลดความคาดหวังคุณด้วย

แพ้ ภูมิคุ้มกันความผิดหวังที่แม่สร้างให้ลูกได้

10 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังบ่มเพาะ นิสัยไม่ดี แก่ลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up