ลิ้นเป็นฝ้า

ลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว รักษาด้วยผ้าอ้อมเปียกฉี่ ดีจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ลิ้นเป็นฝ้า
ลิ้นเป็นฝ้า

ลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว แบบไหนอันตราย?

เฟซบุ๊คเพจนมแม่อธิบายว่า ลิ้นเป็นฝ้าขาวในทารก เป็นเรื่องปกติ เพราะลิ้นมีต่อมรับรสมากมาย ทำให้มีร่องที่คราบนมสามารถติดได้

สำหรับทารกนมแม่ ไม่จำเป็นต้องกินน้ำ เพราะการกินนมแม่จะไปเคลือบลิ้นเหมือนฟิล์มบางๆ ลดการก่อตัวของเชื้อรา หากกินน้ำเข้าไปจะไปชะล้างสารฆ่าเชื้อราออกอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้ ในนมแม่มีน้ำมากอยู่แล้ว การให้ทารกทานน้ำจะทำให้ลูกอิ่มน้ำ ทานนมได้น้อย และน้ำหนักขึ้นช้า

ดังนั้น ลิ้นเป็นฝ้าขาวในทารกทานนมแม่ ไม่เป็นอันตราย คุณแม่ไม่จำเป็นต้องทำอะไรค่ะ แต่หากคุณแม่กังวลมาก อาจช่วยเช็ดลิ้นให้ลูกด้วยน้ำต้มสุก ช่วงก่อนอาบน้ำเช้าเย็น โดยใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุก ซึ่งอุ่นหรือไม่อุ่นก็ได้ค่ะ พันนิ้วชี้คุณแม่แล้วเช็ดบนลิ้น จะช่วยลดคราบไปได้บ้าง แต่ไม่ควรขัดถูเพื่อหวังให้หมดไปในคราวเดียว เพราะลูกอาจจะเจ็บแล้วไม่ยอมให้ทำอีก

สำหรับทารกที่ทานนมผสม ลิ้นเป็นฝ้าขาว อาจเกิดจากคราบนมสะสมเป็นคราบหนา ซึ่งหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นเชื้อรา ทำให้ลูกเกิดอาการงอแง กินนมได้น้อย เพราะเจ็บลิ้น

ดังนั้น หลังจากให้ลูกทานนมผสม คุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำสะอาด เช็ดลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้มให้ลูกทุกครั้งเพื่อชำระคราบนมไม่ให้สะสมที่ลิ้นและในปาก เพียงเท่านี้ปัญหาลิ้นเป็นฝ้าก็จะไม่มากวนใจลูกอีก

ลูกลิ้นเป็นฝ้า

ทำอย่างไรหาก ลิ้นเป็นเชื้อรา

ในกรณีที่คราบฝังแน่นจนเกิดเป็นเชื้อรา สามารถใช้ยาป้ายลิ้นได้ โดย นพ.ถิรชัย ตันสันติวงศ์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช แนะนำว่า ยาป้ายลิ้นที่นิยมใช้กัน มีอยู่ 2 ชนิดคือ Gentian violet และ Daktarin Oral Gel หากคุณแม่ต้องการป้ายยาให้ลูกด้วยตนเอง ต้องทำตามวิธีที่ถูกต้องดังนี้

  1. คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะป้ายยาให้ลูก
  2. ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นพอหมาดๆ เช็ดเบาๆ ให้ทั่วทั้งปากตั้งแต่โคนลิ้นไปจนถึงปลายลิ้น ทั้งด้านบนและด้านล่าง รวมไปถึงกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก
  3. ใช้สำลีพันปลายไม้หรือใช้คอตตอนบัดชุบน้ำยาพอประมาณ ป้ายให้ทั่วจากโคนลิ้นไปจนถึงปลายลิ้น รวมทั้งกระพุ้งแก้มและเพดานปากบริเวณที่เป็นฝ้า โดยป้ายวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น จนกว่าคราบขาวนั้นจะหายไป

อย่างไรก็ดี หากคุณแม่กังวลใจที่ ลูกลิ้นเป็นฝ้าขาว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลช่องปากลูกอย่างเหมาะสมค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

รู้ทัน! พร้อมรับมือแผลในปากของลูกน้อย

10 ความเชื่อแปลกๆ เกี่ยวกับลูกเบบี๋ที่แม่ควรรู้!


ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจนมแม่doctor.co.th, manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up