ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

Alternative Textaccount_circle
event

ท่านอนของทารก เป็นสิ่งที่แม่ ๆ ควรสังเกต เนื่องจากท่าที่ทารกนอนบางท่า อาจทำให้เกิดอันตรายจากโรค Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรืออาการเสียชีวิตกระทันหันของทารกได้

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

อาการเสียชีวิตกระทันหันของทารก หรือ  Sudden Infant Death Syndrome นั้น เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตลูกน้อยมากกว่าสามพันคนต่อปี โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตกระทันหันนี้ ได้แก่

  • การให้ทารกนอนคว่ำหรือตะแคงข้าง
  • ให้ทารกนอนบนที่นอน โซฟา เตียง หมอน และผ้าห่ม ที่นุ่มเกินไป
  • การคลุมหน้าหรือหัวทารกด้วยผ้าห่ม อาจทำให้ผ้าห่มไปปิดกั้นทางเดินหายใจ หรืออาจทำให้ลูกร้อนจนเกินไปได้
  • แม่ท้องหรือหลังคลอดสูบบุหรี่

ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?

1. ท่านอนหงาย

ทารกแรกเกิดควรจะนอนในท่าหงาย ไม่ว่าจะเป็นการนอนกลางวันในช่วงสั้น ๆ หรือช่วงเวลากลางคืนก็ตาม การนอนหงายจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก (SIDS) ได้เป็นอย่างดี เพราะท่านี้จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของทารกทำงานได้สะดวก ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของทารกที่นอนหงาย คือ อาจทำให้ทารกหัวเบี้ยว หัวแบนได้ อย่างไรก็ตาม อาการหัวเบี้ยวหัวแบนจะกลับมาเป็นปกติเมื่ออายุ 1 ขวบ แต่อาการนี้ คุณแม่สามารถป้องกันได้โดยการจัดศีรษะทารกให้สลับด้านบ่อย ๆ ระหว่างหลับ

2. ท่านอนคว่ำ

ความอันตรายของการนอนคว่ำนั้น คือ ทารกอาจขาดอากาศหายใจจนทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากท่านอนที่กดบริเวณกราม จะทำให้ไปปิดอากาศที่จะเข้าไปในร่างกาย โดยเฉพาะทารกที่นอนในที่นอนที่นิ่มจนเกินไป จะทำให้ทารกหายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้ การนอนคว่ำ จมูกของทารกจะอยู่แนบชิดกับเตียงนอนที่อาจจะมีฝุ่นหรือเชื้อโรคเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ทารกต้องหายใจนำฝุ่นเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้

สำหรับทารกบางคนที่มีกรดไหลย้อนรุนแรงหรือมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ แพทย์บางคนอาจพิจารณาว่าการนอนคว่ำในเด็กที่มีโรคนี้อาจอันตรายน้อยกว่า เนื่องจากเด็กอาจอาเจียนขณะนอนหลับจนทำให้สำลักได้ และไม่มีแรงพอที่จะหันคอเพื่อหายใจ อย่างไรก็ตามแพทย์จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากให้ทารกนอนคว่ำ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

ท่านอนทารก
ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่จะช่วยให้ทารกนอนหลับสบาย ไม่สะดุ้งตื่นบ่อย แต่กลับอันตราย เพราะเป็นสาเหตุของโรคไหลตายในทารก

3. ท่านอนตะแคง

การให้ลูกนอนตะแคงนั้นมีความอันตรายไม่ต่างจากท่านอนคว่ำ เพราะเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถพลิกคว่ำได้แล้ว จะทำให้ลูกพลิกไปนอนในท่านอนคว่ำได้ และหากกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงพอที่จะหันไปมา หรือหันคอไปด้านข้างได้ จะทำให้ลูกหน้าคว่ำจนขาดอากาศหายใจได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ 10 วิธีป้องกันโรคไหลตายในทารก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up