เป็นRSV

ลูกไม่ป่วย เป็นRSV แน่ ถ้าพ่อแม่ดูแลได้แบบนี้!

Alternative Textaccount_circle
event
เป็นRSV
เป็นRSV

เป็นRSV-  โรค RSV (Respiratory syncytial virus)  คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่สามารถส่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ทว่าเชื้อชนิดนี้จะส่งผลร้ายแรงกว่าในเด็กทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากทางเดินหายใจของทารกและเด็กเล็กอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่  ในรายที่มีอาการหนักอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะปอดอักเสบได้จากการเกิดพยาธิสภาพของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli)

ทำความรู้จักเชื้อ RSV

เชื้อไวรัส RSV แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ RSV-A และ RSV-B  สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผ่านทางการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวมักพบในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี ในคนส่วนใหญ่ RSV ทำให้เกิดอาการหวัดโดยมักจะมีอาการไอร่วมด้วย ในเด็กทารก RSV อาจมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นจากหลอดลมฝอยอักเสบ ทารกที่เป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบจะหายใจได้ค่อนข้างลำบาก นอกจากนี้เชื้อไวรัสยังสามารถนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดบวม  RSV เป็นไวรัสที่ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ  มีเพียงการรักษาตามอาการเพื่อลดระยะและความรุนแรงของการติดเชื้อเท่านั้น

เป็นRSV
เป็นRSV

อาการของ RSV ในทารกและเด็กเล็ก

ในเด็กโต RSV อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ในทารกและเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 3 ขวบ ไวรัสอาจทำให้เด็กมีอาการรุนแรงกว่า โดยสามารถมีอาการโรคลุกลามไปยังทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม เนื้อปอด) ทำให้หลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบตามมาได้ โดยไวรัส RSV มักระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือประมาณ เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน

อาการเริ่มต้นของโรคผู้ป่วยอาจมีความอยากอาหารลดลง หรือน้ำมูกไหล หลังจากนั้นอาการที่รุนแรงมากขึ้นอาจปรากฏภายในสองสามวันต่อมา

อาการของทารกและเด็กที่ติดเชื้อ RSV ได้แก่ :

  • หายใจเร็วกว่าปกติ
  • หายใจลำบาก
  • ไอ
  • มีไข้
  • กระวนกระวาย
  • ซึมลงอย่างเห็นได้ชัด
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • จาม
  • หายใจลำบาก (ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกช่วยหายใจ)

ทารกบางคนมีความเสี่ยงต่ออาการ RSV มากกว่า ซึ่งรวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดหรือหัวใจ

ลูกมีอาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

ผู้ป่วย RSV อาจมีอาการหวัดเล็กน้อยไปจนถึงหลอดลมฝอยอักเสบขั้นรุนแรง แต่ถ้าคุณสงสัยว่าลูกของคุณติดเชื้อ RSV ควรโทรหากุมารแพทย์หรือขอการดูแลทางการแพทย์ฉุกเฉิน

โดยอาการที่ต้องระวัง ได้แก่ :

  • ลูกมีอาการขาดน้ำ เช่น ไม่มีน้ำตาเมื่อร้องไห้
  • ไอมีเสมหะเป็นมูกข้น มีสีเขียวหรือเหลือง ทำให้หายใจลำบาก
  • มีไข้สูงกว่า 38 °C  ตรวจทางทวารหนักในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน
  • มีไข้สูงกว่า 39.4 °C ในเด็กทุกวัย
  • น้ำมูกเหนียวข้นทำให้หายใจลำบาก
  • รีบไปพบแพทย์ทันทีหากเล็บหรือปากของทารกเริ่มมีสีเขียว สิ่งนี้บ่งชี้ว่าเด็กอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

การรักษา RSV ในทารก

ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอ และยาละลายเสมหะ แต่ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมากและมีอาการหนักอาจต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลม หรือให้น้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก ยาปฏิชีวนะไม่มีประโยชน์ในการรักษาหากไม่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน  นอกจากนี้หากเด็กมีอาการขาดน้ำ แพทย์อาจพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (IV)

เป็นRSV

ลูกไม่ป่วย เป็นRSV แน่ถ้าพ่อแม่ดูแลแบบนี้!

จะป้องกันลูกจากการติดเชื้อได้อย่างไร

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน ไม่มียาป้องกัน จึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ดังนี้
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ  เพื่อลดเชื้อ RSV และเชื้ออื่นๆ ที่ติดมากับมือ การล้างมือสามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้สูงถึงร้อยละ 70
  • ในกรณีฉุกเฉินสามารถใช้แอลกอฮอลเจลถูมือช่วยป้องกันโรคได้
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดถ้าไม่จำเป็น
  • ทำความบริเวณสะอาดบ้าน ของใช้ และของเล่นเด็กเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ มีรายงานว่าทารกที่สูดดมควันบุหรี่ มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส RSV ได้ง่าย และอาการมักรุนแรง
  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งนี้ไม่ควรอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • เมื่อบุตรหลานมีไข้หรือมีน้ำมูก ควรแยกเด็กที่ป่วยออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

อย่างที่ทราบกันว่า RSV เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาว หากคุณพ่อคุณแม่รู้ถึงวิธีการรับมือ และการปฏิบัติตนให้ครอบครัวห่างไกลโรค ก็ทำให้ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม การปลูกฝังลูกให้ดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยการอธิบายให้เด็ก ๆ ได้รู้ว่าการไม่ดูแลตนเอง ไม่รักษาความสะอาดนั้นจะก่อให้เกิดโรคขึ้นได้ง่าย ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ดีในการที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะการป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆให้ลูกได้ กล่าวคือ ลูกจะเป็นเด็กที่มีทักษะความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) เป็นเด็กที่สามารถเติบโตสมวัยไปพร้อมกับการพัฒนาการที่ดีและที่สำคัญมีสุขภาพที่ดีได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เตือนแม่ สังเกตอาการ RSV รีบพาไปตรวจหากเข้าข่ายนี้!

Rhinovirus แตกต่างจาก RSV อย่างไร ระวังลูกเป็นโรคทางเดินหายใจ

ไวรัส RSV ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ อันตรายรุนแรงได้คล้ายอาการ RSV ในเด็ก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up