สารอาหาร

สารอาหาร 11 ชนิด ที่จำเป็นสำหรับ “ทารกแรกเกิด – 2 ปี”

Alternative Textaccount_circle
event
สารอาหาร
สารอาหาร

เด็กวัยแรกเกิด – 2 ขวบนั้น จำเป็นต้องได้รับ สารอาหาร ครบถ้วน “อาหาร” ทั้งชนิดและปริมาณ จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง

สารอาหาร 11 ชนิด ที่จำเป็นสำหรับ “ทารกแรกเกิด – 2 ปี”

ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ เป็นช่วงที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสมองของทารก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70-80 ของน้ำหนักสมองผู้ใหญ่ ทารกและเด็กเล็กจึงต้องการสารอาหารมากกว่าวัยอื่นเมื่อคิดตามน้ำหนักตัว และการที่ทารกและเด็กเล็กจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและมีสุขภาพแข็งแรงนั้น ต้องได้รับการดูแล
เอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างต่อเนื่อง อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก
และส่วนสูง รวมทั้งการได้รับสารอาหารหลายชนิด ก็จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญาให้กับลูกน้อย มาดูกันว่ามี สารอาหาร ชนิดใดบ้างที่ทารกควรได้รับอย่างสม่ำเสมอ

สารอาหาร 11 ชนิด ที่จำเป็นสำหรับ “ทารกแรกเกิด – 2 ปี”

  1. โปรตีน เด็กทารกต้องการโปรตีนมาก เพื่อใช้สร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงอายุ 1 ปี เด็กทารกจะมีน้ำหนักตัวเป็น 3 เท่าของน้ำหนักแรกคลอด
  2. ไขมัน เด็กทารกต้องการไขมันเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็น คือ กรดลิโนเลอิก ปริมาณไขมันที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ หรือนมผง เพียงพอตามที่ร่างกายทารกต้องการ ไม่ควรให้เด็กได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
  3. คาร์โบไฮเดรต ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของเด็กทารกขึ้นอยู่กับจำนวนพลังงานที่ใช้ แต่อาหารเด็กทารกไม่ควรมีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กอิ่มเร็ว และทำให้ได้รับสารอาหารชนิดอื่นน้อยลงโดยเฉพาะสารอาหารโปรตีน
  4. แคลเซียม เด็กทารกต้องการแคลเซียมประมาณวันละ 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว เพื่อให้เพียงพอสำหรับนำไปใช้สร้างกระดูกและฟัน
  5. เหล็ก เด็กทารกต้องการเหล็กเพิ่มมากขึ้น ตามสัดส่วนของขนาดร่างกายที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องนำเหล็กไปใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน เด็กทารกควรได้รับเหล็กประมาณวันละ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว
  6. วิตามินเอ เด็กทารกต้องการวิตามินเอวันละ 1,400 หน่วยสากล ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ทั้งในน้ำนมแม่และน้ำนมวัวแหล่งของวิตามินเอที่ดี คือ น้ำมันตับปลา
  7. วิตามินดี ทั้งน้ำนมแม่และน้ำนมวัวมีวิตามินดีน้อย ต้องให้วิตามินดีเสริมวันละ 400 หน่วยสากล การทานปลาที่มีไขมันสูง ไข่แดง จะช่วยให้ทารกได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ
  8. วิตามินซี เด็กทารกต้องการวิตามินซีวันละ 35 มิลลิกรัม ในน้ำนมแม่และน้ำนมวัวมีวิตามินซีต่ำมาก เด็กทารกจะต้องได้รับวิตามินซีเสริมจากผักและผลไม้ต่าง ๆ
  9. วิตามินบีหนึ่ง เด็กทารกต้องการวิตามินบีหนึ่งประมาณวันละ 0.3-0.5 มิลลิกรัม
  10. วิตามินบีสองและไนอะซิน ในน้ำนมแม่มีวิตามินบีสองเพียงพอแก่ความต้องการของเด็กทารกอยู่แล้ว ซึ่งต้องการประมาณวันละ 0.4-0.6 มิลลิกรัม แต่มีไนอะซินไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทดแทนได้ ถ้าร่างกายได้รับกรดแอมิโนทริพโตเฟนจากโปรตีนในน้ำนมเพียงพอ เพราะกรดแอมิโน ทริพโตเฟน 60 มิลลิกรัม สามารถเปลี่ยนเป็นไนอะซินได้ 1 มิลลิกรัม ในร่างกาย
  11. กรดลิโนเลอิก กรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกายเด็กทารกเป็นอย่างมาก เด็กทารกควรได้รับกรดลิโนเลอิกไม่น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด

จะเห็นได้ว่าทารกวัยแรกเกิด – 2 ขวบนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่ก็มีข้อสงสัยว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ลูกทานอาหารมากน้อยแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายลูก

 

อาหารทารก
อาหารทารก

ทารกและเด็กเล็กต้องการพลังงานมากน้อยแค่ไหน?

โดยทั่วไป การกำหนดความต้องการพลังงานและ สารอาหาร ต่าง ๆ ในทารกและเด็กเล็กนั้น ขึ้นกับอายุ เพศ
น้ำหนักตัว และระดับกิจกรรมการใช้พลังงานของร่างกายลูก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 2004 และ องค์การอนามัยโลก ค.ศ. 1998 จึงมีคำแนะนำความต้องการพลังงานของทารกและเด็กเล็กโดยเฉลี่ย ดังนี้

ความต้องการพลังงานต่อวันของทารกแรกเกิด – อายุ 2 ปี

อายุ พลังงานที่ต้องการ
 (กิโลแคลอรี)
พลังงานที่ควรได้จากนมและอาหารตามวัย     (กิโลแคลอรี)
นมแม่ อาหารตามวัย
แรกเกิด – 2 เดือน 512 595* 0
3 – 5 เดือน 575 634* 0
6 – 8 เดือน 632 413 219
9 – 11 เดือน 702 379 323
12 – 17 เดือน 797 346 451
18 – 24 เดือน 902 346 556
* นมแม่ปริมาณมาก

จะเห็นได้ว่านมแม่ยังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี แม้ว่าหลังจาก 6 เดือนแล้ว ลูกต้องได้รับอาหารเสริมเพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพิ่มเติม แต่ก็ยังคงต้องการนมแม่หรือนมวัวควบคู่กันไปด้วย แต่อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่หรือนมวัว มีรสชาติที่ไม่หวานมาก แต่อาหารเสริมตามวัยในทุกวันนี้ มักจะมีรสชาติหวาน เพื่อให้เด็ก ๆ ชอบทาน ข้อดีของอาหารที่มีรสชาติหวานคือ ทำให้เด็กทานได้มากขึ้น แต่ทราบไหมคะว่า การให้เด็กทานหวานมีข้อเสียมากกว่าข้อดี ดังนี้

วิจัยชี้!! ไม่ควรใส่น้ำตาลในอาหาร ให้ทารกก่อนวัย 2 ขวบ

แม่ ๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่าทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการสรรหาอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ให้กับลูกน้อย การหาอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกทานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ลูกจะทานหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากกว่า รสชาติจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ลูกทานมากหรือทานน้อย ดังนั้น จึงมีการปรุงแต่งรสชาติของอาหารมีรสชาติหวาน เพราะเป็นรสชาติที่เด็กชอบที่สุด จริงอยู่ว่าในระยะสั้น เด็กจะทานอาหารมื้อนั้นได้มาก แต่ในระยะยาว กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กเป็นอย่างมาก

คณะกรรมการที่ปรึกษาแนวทางการบริโภคอาหารในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเรียกร้องให้พ่อแม่และผู้ปกครองหยุดการเติมน้ำตาลในอาหารของทารกจนลูกมีอายุถึง 2 ปี โดยกล่าวว่า การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ยังช่วยปลูกฝังการเลือกทานอาหารที่ดีในอนาคตของชีวิตลูกอีกด้วย วิจัยชี้ว่า ทารกควรได้รับนมแม่หรือนมวัวเพียงอย่างเดียวจนอายุครบ 6 เดือน หลังจากนั้น ควรเริ่มทานอาหารเสริมที่ไม่เติมน้ำตาลจนถึงอายุ  2 ขวบ เพราะการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง จะไปลดโอกาสที่จะได้รับ สารอาหาร อย่างเพียงพอ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้

ตัวอย่างอาหารน้ำตาลสูง ที่ลูกน้อยควรเลี่ยง

  • ขนมเค้ก 1 ชิ้น มีปริมาณน้ำตาล 5 ช้อนชา
  • ไอศกรีม 1 โคน มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชา
  • กล้วยบวชชี 1 ถ้วย มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชา
  • ช็อคโกแลตเม็ดเคลือบน้ำตาล 1 ห่อ มีปริมาณน้ำตาล 7.5 ช้อนชา
  • น้ำอัดลม 1 กระป๋อง มีปริมาณน้ำตาล 8 ช้อนชา
  • น้ำผลไม้ 1 กล่องเล็ก มีปริมาณน้ำตาล 10 ช้อนชา
  • ชาไข่มุก 1 แก้ว มีปริมาณน้ำตาล 11 ช้อนชา
  • ลูกเกด 100 กรัม มีปริมาณน้ำตาล 16 ช้อนชา
  • ซีเรียลและซีเรียลบาร์

อ่านต่อ WHO เตือน! อาหารทารก มีน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงหลายโรคร้าย

อาหารน้ำตาลสูง
อาหารน้ำตาลสูง

การไม่ให้ทารกรู้จักรสชาติหวานตั้งแต่แรกเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ลูกไม่ติดหวาน เราจึงขอนำคำแนะนำจาก แพทย์หญิงอนุตรา โพธิกำจร กุมารแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ได้แนะนำคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ให้ดูแลเรื่องอาหารสำหรับเจ้าตัวเล็ก ดังนี้

  • อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน ให้กินแต่นมแม่ ในกรณีที่นมแม่ไม่พอหรือกินนมแม่ไม่ได้ ให้กินนมผงสำหรับทารกแรกเกิดแทน ซึ่งในนมแม่และนมผงประเภทนี้มีปริมาณสารอาหารที่เพียงพอสำหรับเด็ก ปริมาณของโซเดียม แคลอรี ไขมัน และโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายกำลังดี
  • อายุ 6 – 9 เดือน ให้กินอาหารเสริมวันละมื้อควบคู่กับนม โดยเน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องไม่ปรุงรสใด ๆ เน้นรสธรรมชาติ
  • อายุ 9 – 12 เดือน เพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ และกินผลไม้เป็นของว่างได้
  • อายุครบ 1 ขวบ ให้กินอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น เหมือนผู้ใหญ่ แต่ไม่ปรุงมาก เน้นรสธรรมชาติ ส่วนนมถือว่าเป็นของว่างช่วงสาย บ่าย และก่อนนอน

สามารถจัดสัดส่วนเพื่อให้ลูกได้รับปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตง่าย ๆ คือ เน้นผักใบเขียว 40% เสริมด้วยผลไม้ แป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต 25% โปรตีนคุณภาพดี คือโปรตีนเนื้อ ๆ ไม่เอาหนังไม่เอามัน 25% และผลไม้ 10% ที่สำคัญมากคือ อย่าส่งเสริมให้เด็กรับประทานโปรตีนแปรรูป พวกไส้กรอก หมูแฮม เบค่อน กุนเชียง ปูอัด หมูหยอง เพราะมีสารเคมีค่อนข้างเยอะ รวมถึงมีโซเดียมและไขมันอิ่มตัวสูง

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รู้หรือไม่? เด็กทารกก็เป็นโรคเบาหวานได้!

อ่านก่อนซื้อ! พบสารเคมีตกค้างใน “น้ำส้มคั้นสด” ถึง 60%

สุดยอด ผักสวนครัว ปลูกกินเองทั้งปี ลูกกินดี แก้สารพัดโรค

อาหารเสริมเด็กทารก ป้อนก่อนวัยเสี่ยงอันตราย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย คณะอนุกรรมการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับหรับผู้บริโภค , romper.com, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, www.foodnetworksolution.com, health.mthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up