โรค 4S

ลูกหนังลอกแสบทั้งตัวจาก “โรค 4S” แม่เตือน! อย่าให้ใครหอม

Alternative Textaccount_circle
event
โรค 4S
โรค 4S

โรค SSSS หรือโรค 4S คืออะไร?

Staphylococcal scalded skin syndrome (โรค SSSS หรือโรค 4S)  เกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus โดยเชื้อจะสร้างสารพิษที่ชื่อ exfoliatin ทำให้เกิดตุ่มน้ำในระหว่างชั้นของหนังกำพร้า เมื่อตุ่มน้ำเหล่านี้ขยายใหญ่และเชื่อมต่อกัน จึงทำให้หนังกำพร้าชั้นบนของเด็กหลุดลอกออกจากหนังกำพร้าชั้นล่างตลอดทั้งตัว ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด

คลิปอาการของโรค 4S

ขอบคุณคลิปจาก เพจอีจัน

โรค 4S มีอาการอย่างไร? เป็นแล้วอันตรายหรือไม่?

เมื่อสารพิษของเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • มีผื่นแดงทั้งตัว ในช่วงนี้เด็กจะงอแงเพราะปวดตามผิวหนังมาก
  • ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ผื่นแดงก็จะกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผนังบาง เหี่ยวย่น
  • 24-48 ชั่วโมงต่อมา ตุ่มน้ำจะขยายใหญ่ขึ้น และลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ จนเห็นเนื้อสีแดงข้างใต้ ถ้าเอามือลูกบนผิวหนังที่มีตุ่มน้ำขนาดใหญ่เพียงเบา ๆ ก็ทำให้ผิวหนังช้นบนหุดลอกออกได้แล้ว
  • จากนั้นผิวหนังที่ลอกจะเริ่มแห้ง เมื่อลอกออกจนหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5-7 วันก็จะหายสนิท
  • ในระหว่างที่ผิวหนังลอก เด็กจะสูญเสียน้ำออกไปทางผิวหนังมาก อาจทำให้เด็กซึมลงถ้าได้รับการชดเชยน้ำไม่เพียงพอ

การติดเชื้อ S. aureus นี้สามารถเกิดได้ในอวัยวะชั้นตื้น ๆ เช่น ผิวหนัง ชั้นใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะที่ลึกลงไป เช่น กระดูกและข้อ ไต ตับ เชื้ออาจจะสามารถหลุดเข้าสู่ระบบเลือดหรือแพร่กระจายทางเลือดโดยตรง ทำให้เกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ เช่น กระดูก ปอด และลิ้นหัวใจ ได้ อัตราการเสียชีวิตจากเชื้อนี้ อยู่ที่ร้อยละ 26 จากการรักษาช้า เชื้อดื้อยา และจากการติดเชื้อที่รุนแรง โดยเชื้อแพร่กระจายเข้ากระเเสเลือด

โรค 4S ติดต่อกันทางไหน?

การติดเชื้อ S.aureus สามารถติดได้จากการสัมผัสโดยทางตรงและทางอ้อม เพราะจะพบเชื้อนี้ได้ตาม สะดือ ผิวหนัง เยื่อบุตา หูชั้นกลาง จมูก ช่องคอ หรือในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นวิธีการป้องกันการติดเชื้อนี้ คือ การล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อ สำหรับเด็กเล็ก ไม่ควรให้คนแปลกหน้ากอดหรือหอมลูก

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ คลิก

ปกป้องลูก อย่างไร? ไม่ให้คนอื่น แตะ กอด หอม

ติดเชื้อเพราะถูกหอม อันตรายใกล้ตัวทารกและเด็กเล็ก

18 ลักษณะลิ้นบอกโรค เพียงแค่ดูลิ้นลูก ก็รู้ได้ว่าป่วยหรือไม่?

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : คุณ ฉัตรเพชร ก่อสร้างสาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย, mutualselfcare.org

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up