งูเขียวหางไหม้กัด

แชร์เรื่องจริง! ลูกรอดจาก งูเขียวหางไหม้กัด เพราะรับมือด้วยวิธีนี้..?

event
งูเขียวหางไหม้กัด
งูเขียวหางไหม้กัด

7 งูพิษ หน้าฝน ที่พบบ่อย

จากเหตุการณ์ที่มีเด็กถูก งูเขียวหางไหม้กัด เพราะเป็นหนึ่งใน งูพิษ ที่พบว่ามีผู้ถูกกัดอยู่บ่อยครั้ง เพราะมันสามารถพรางตัวอยู่ตามต้นไม้ได้อย่างแนบเนียน และพบบ่อยโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ทั้งนี้นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนควรระวังตัวเองและลูกน้อยให้เนอย่างดีจากสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ โดยเฉพาะงู … ซึ่งส่วนใหญ่งูที่อาศัยอยู่ตามสภาพแวดล้อมใกล้ตัว ทั้งบริเวณสวนข้างบ้าน ทุ่งหญ้า ป่า หรือในน้ำเป็นงูไม่มีพิษ แต่สำหรับงูพิษที่พบผู้ถูกกัดอยู่บ่อยครั้ง มี 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า , งูจงอาง , งูกะปะ , งูเขียวหางไหม้ , งูแมวเซา , งูสามเหลี่ยม และ งูทับสมิงคลา

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : RAMA CHANNEL

Must read : ต้นไม้กันงู 5 ชนิดช่วยไล่งูได้เป็นยาสมุนไพรด้วย

 

วิธีรับมือและการปฐมพยาบาล เมื่อลูกถูกงูเขียวหางไหม้กัด

  1. พ่อแม่ต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินเหตุ เนื่องจากบางรายที่ถูกงูพิษกัดอาจได้รับพิษ และก็มีที่บางครั้งงูพิษกัด แต่ไม่ปล่อยพิษออกมา เพราะงูพิษตัวนั้นได้กัดสัตว์อื่นมาก่อนและไม่มีน้ำพิษเหลือ ในกรณีทีได้รับพิษงู ผู้ถูกงูกัดจะยังไม่เสียชีวิตหรือมีอาการอันตรายร้ายแรงทันที ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที จึงจะเริ่มมีอาการรุนแรง

ทั้งนี้ นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวว่า หากถูกงูมีพิษกัด จะมีสัญญาณ 7 ข้อ ดังนี้

    • พบรอยเขี้ยว  หรือ 2 ข้าง และมีอาการบวมแดงรอบๆรอยกัด แต่บางครั้งอาจจะเห็นเพียงรอยเดียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกกัดบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบางครั้งอาจเห็นมากกว่า 2 รอยหากถูกกัดมากกว่า 1 ครั้ง
    • อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง
    • คลื่นไส้อาเจียน
    • หายใจติดขัด หากรุนแรงอาจหยุดหายใจได้
    • สายตาขุ่นมัว
    • มีน้ำลายมากผิดปกติ
    • หน้าชาไม่รู้สึกหรือชาตามแขนขา โดยพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงู
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.thaihealth.or.th
  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) และห้ามกระทำสิ่งต่อไปนี้ คือ กรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล ประคบน้ำแข็ง สมุนไพรพอกแผล ดื่มสุรา กินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพริน การกระทำเหล่านี้ไม่ช่วยรักษาผู้ที่ถูกงูกัด แต่จะมีผลเสีย เช่น เพิ่มการติดเชื้อ เนื้อตาย เ็นต้น
  2. เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ถูกงูกัด เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ อาจจะทำให้มีการดูดซึมพิษงูจากบริเวณที่ถูกกัด เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดมากขึ้น และถ้าทำได้ให้ใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดและใช้ผ้าพันยึด หรือผ้าสะอาดพับทับให้แน่นพอประมาณ คล้ายการปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก หรือข้อมือ ข้อเท้าซ้น
  3. ไม่ควรทำการขันชะเนาะ อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเกิดเป็นเนื้อตาย
  4. นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด
  5. ระหว่างการนำส่ง ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จนไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลได้ เพราะงูพิษบางอย่าง เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา มีพิษทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตทั้งตัว ผู้ถูกงูกัดจะเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ

ข้อสำคัญ : ควรแจ้งให้แพทย์ทราบลักษณะงูที่กัด และกัดบริเวณใด เมื่อไร ถ้านำซากงูไปด้วยก็จะดีมาก แต่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาตามหา และไล่ตีงูเพื่อนำไปด้วย เพราะจะทำให้เสียเวลาในการรักษาโดยไม่จำเป็น

การรักษาจากแพทย์ เมื่อลูกถูก งูเขียวหางไหม้กัด

สำหรับการรักษา หลังจากที่ ลูกถูกงูกัด ทั้ง งูมีพิษ และไม่มีพิษ คุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด บางรายยังไม่มีอาการของพิษเมื่อมาถึงโรงพยาบาลจึงต้องสังเกตอาการต่อจนกว่าจะพ้นระยะอันตราย การให้เซรุ่มต้านพิษงูมีประโยชน์แต่ก็ความเสี่ยงต่อการแพ้ และบางครั้งงูพิษกัดแต่ไม่ปล่อยพิษทำให้ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ แม้จะถูกงูพิษกัด

แพทย์จึงเลือกให้เซรุ่มเฉพาะรายตามความเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องให้เซรุ่มทุกราย ซึ่งเซรุ่มต้านพิษงูจะช่วยเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง และ เลือดออก ให้ดีขึ้นได้ แม้ผู้ป่วยจะได้เซรุ่มแล้วบางรายยังอาจเกิดเนื้อเน่าตาย หรือ ไตวาย ต่อมาภายหลังได้ จึงอาจต้องอาศัยการรักษาอื่นๆร่วมด้วย เช่น การผ่าตัดตัดเนื้อตายออก การให้สารน้ำหรือการล้างไต เพื่อป้องกันและรักษาภาวะไตวาย เป็นต้น

ทั้งนี้หากเจอเหตุการณ์แบบนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด คุณพ่อคุณแม่สามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือ1669ตลอด 24 ชั่วโมง


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sanook.comwww.thaihealth.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up