ฉลากยา ซองยา

ได้ยามาต้องรู้!! บน ฉลากยา ต้องมีอะไรบ้างก่อนให้ลูกกิน

Alternative Textaccount_circle
event
ฉลากยา ซองยา
ฉลากยา ซองยา

ข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากยา

ข้อมูลสำคัญบนฉลากยาที่ทุกคนควรรู้และใส่ใจ เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ยาทุกชนิดทุกประเภทจำเป็นต้องมีฉลากและเอกสารกำกับยาติดอยู่ในขวดหรือในกล่องยา เพราะฉลากและเอกสารกำกับยาเหล่านี้คือแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะแนะนำให้ผู้บริโภครู้ไว้เพื่อประกอบในการใช้ยา ในเอกสารกำกับยาจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยาเอาไว้หลายประเด็น ไม่เพียงแต่ทำให้เราทราบชื่อยา ข้อบ่งใช้ หรือสรรพคุณของยาเท่านั้น แต่ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ ดังนั้นการใช้ยาอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาพยาบาล เพราะหากใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องอาจนำไปสู่โทษอย่างมหันต์ได้ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ความในมาตรา 25 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันต้องจัดให้มีฉลากตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ โดยจะต้องปิดไว้ที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาหรือฉลากและเอกสารกำกับยา

  1. ชื่อและนามสกุลของผู้ป่วย ฉลากยาจากสถานพยาบาลควรแสดงชื่อ และนามสกุลของผู้ป่วยกำกับทุกครั้ง เพื่อให้ส่งมอบยาให้ผู้ป่วยถูกคน และมีคำเตือนในการใช้ยากำกับไว้ เช่น ไม่ควรแบ่งยาให้ผู้อื่นหรือรับประทานยาของผู้อื่น เนื่องจากโรคประจำตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือผู้ป่วยบางรายมีข้อห้ามใช้ยาไม่เหมือนกัน เป็นต้น
  2. ชื่อยา มีทั้งชื่อสามัญทางยา และชื่อทางการค้า ยาชนิดเดียวกันอาจมีชื่อการค้าหลายชื่อหรือมีหลายยี่ห้อ ผู้ใช้ยาจึงควรทราบสูตร ส่วนประกอบ หรือ ชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ หรือ การใช้ยาซ้ำซ้อน อันเป็นสาเหตุของการใช้ยาเกินขนาดที่อาจจะเป็นอันตรายได้

    ชื่อยา ข้อมูลทางยา เรื่องจำเป็นที่ต้องมีบน ฉลากยา
    ชื่อยา ข้อมูลทางยา เรื่องจำเป็นที่ต้องมีบน ฉลากยา
  3. วันผลิตและวันหมดอายุ ช่วยเตือนสติจากการใช้ยาที่หมดอายุ หรือยาที่เสื่อมสภาพแล้ว ผู้ผลิตอาจจะใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษแทนข้อความภาษาไทย เช่น MFG. date หรือ MFd ย่อมาจากคำว่า Manufacturing Date แปลว่าวันที่ผลิต เช่น
    • MFd 22/6/16 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 22 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 หรือ พ.ศ. 2559
    • MFG. date 15.12.58 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558
    • MFd AUG.15 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558
    • MFd 01/01/21 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 01 เดือนมกราคม ค.ศ. 2021 หรือ พ.ศ. 2564
    • EXP หรือ Exp. Date ย่อมาจากคำว่า Expiration Date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น EXP JUL 20 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563
    • EXP JUL 17 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 หรือ พ.ศ. 2560
    • Exp. date 15.12.61 หมายถึง ยานี้หมดอายุวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561
  1. ผลข้างเคียงของยา ข้อห้ามใช้และคำเตือน เป็นข้อความที่ควรให้ความให้ความสำคัญ เนื่องจากยานั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ได้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากใช้ยาและปฎิบัติตัวอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานยานี้แล้วอาจทำให้ง่วงนอน ไม่ควรใช้เครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น
  2. เลขทะเบียนตำรับยา บนบรรจุภัณฑ์มักจะมีคำว่า Reg. No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา หมายถึง ยานั้นได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีผลในการรักษาจริง
  3. ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบว่ายาดังกล่าวมีข้อควรระวังในการใช้ยามากน้อยแค่ไหน หรือควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร โดยมากจะแสดงข้อความด้วยอักษรสีแดงบนบรรจุภัณฑ์
  4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต จะใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับยาของบริษัทนั้น ๆ ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้ร้องเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยระบุเลขที่หรือครั้งที่ผลิตของยาชนิดนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการตรวจสอบข้อมูลต่อไป

หลัก GPP คืออะไร??

GPP (Good Pharmacy Practice) ข้อกำหนด มาตรฐาน หรือวิธีการให้บริการทางเภสัชกรรมด้านยาในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภท เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อยกระดับร้ายขายยา ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน
  2. ให้ผู้ใช้ยามีความปลอดภัยมากขึ้น
  3. เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของ AEC

โดยร้านขายยาจะต้องทำตาม หลักของ GPP จึงสามารถต่ออายุใบอนุญาตยาได้

ใส่ใจสักนิด อ่านซองยา เพื่อความปลอดภัยของลูก
ใส่ใจสักนิด อ่านซองยา เพื่อความปลอดภัยของลูก

ผู้บริโภคได้อะไรจาก GPP

  • ประชาชนได้รับบริการจากเภสัชกรที่มีความรู้ ความสามารถและแสดงตนอย่างชัดเจน
  • ประชาชนได้รับยาที่ผ่านการเก็บรักษาอย่างมีมาตรฐานสากล
  • ประชาชนได้รับข้อมูลด้านยาที่ถูกต้อง และพอเพียง
  • ลดปัญหาการแพ้ยาซ้ำซ้อน
  • ลดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล
  • สื่อโฆษณาภายในร้านยาได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมโดยเภสัชกร
ข้อมูลอ้างอิงจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล /www.fascino.co.th/FDAThai

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ยารักษาโรคซาง ปลอดภัยดีแล้วจริงหรือ?

30 ปีแห่งการรณรงค์โครงการกระตุ้นเตือนภัย มะเร็งเต้านม หรือ Breast Cancer Campaign ภายใต้การดำเนินงานของ เอสเต ลอเดอร์ คอมพานีส์

เข้าใจ SMA โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในทารก ภัยเงียบพรากชีวิตลูก!

10 วิธีทางรอดดูแล ดวงตา ลูกให้ปลอดภัยในยุคนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up