ไอกรน

หมอเตือน ลูกไอบ่อยอันตราย เสี่ยงเป็น ไอกรน

Alternative Textaccount_circle
event
ไอกรน
ไอกรน

หมอเตือน ลูกไอบ่อย อันตรายเสี่ยงเป็น ไอกรน

ไอ คือ อาการที่ร่างกายพยายามกำจัดสิ่งที่กีดขวางระบบทางเดินหายใจ เช่น มูก เสมหะ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองภายในลำคอ เช่น ละอองฝุ่น หรือควัน เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด อาการไอนับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่หากลูกไอบ่อย ๆ อาจไม่ใช่อาการไอธรรมดา เพราะลูกของเราอาจกำลังเป็น ไอกรน ค่ะ

อาการไอโดยทั่วไป

อาการไอแบ่งได้ 2 แบบ

  • ไอแห้ง เป็นอาการไอจากอาการคันและระคายเคืองภายในลำคอ โดยไม่มีเสมหะหรือมูกหนาเกิดขึ้น
  • ไอแบบมีเสมหะ เป็นอาการไอพร้อมกับมีเสมหะภายในลำคอ ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยกำจัดสารหรือสิ่งสกปรกที่ติดค้างภายในลำคอ

สาเหตุของการไอ

  • การรับสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย
    สารก่อความระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะในอากาศ ขนสัตว์ เชื้อรา ละอองเกสร ไอระเหยจากสี น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีกลิ่นฟุ้ง การสูบบุหรี่ หรือการหายใจสูดเอาควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบเข้าไปในปอด
  • การใช้ยาบางชนิด
    ยารักษาบางโรคบางอาการอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นการไอได้ เช่น กลุ่มยาต้านเอซีอี อินฮิบิเตอร์  (ACE Inhibitors) เป็นยาลดความดันโลหิตและช่วยการทำงานของหัวใจ ใช้รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและภาวะอาการที่เกี่ยวกับหัวใจ และกลุ่มยาปิดกั้นเบต้า (Beta Blockers) ที่ทำให้ชีพจรเต้นช้าลงทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ใช้รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีผลข้างเคียงทำให้หลอดลมตีบแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอได้ อาการจะหมดไปด้วยเมื่อผู้ป่วยหยุดการใช้ยา
  • โรคและภาวะอาการป่วย
    ปัญหาสุขภาพสามารถทำให้เกิดการไออย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรืออย่างเรื้อรังได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความรุนแรงของโรค

โรคที่มักเป็นสาเหตุของอาการไออย่างเฉียบพลัน คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หากไม่มีอาการป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จะฟื้นตัวและหายจากอาการไอภายในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

ส่วนอาการไอที่เกิดขึ้นกึ่งเฉียบพลัน คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน แต่ฟื้นตัวช้า หรือมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าอาการไอแบบเฉียบพลัน เช่น โรคหวัด ซึ่งอาการจะทุเลาลงและฟื้นตัวภายใน 3-8 สัปดาห์ และอาการไอเรื้อรังที่มีอาการยาวนาน ติดต่อกันเกินกว่า 8 สัปดาห์ เกิดจากการอักเสบและติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง กรดไหลย้อน มะเร็งปอด หรือน้ำท่วมปอด เนื่องมาจากหัวใจล้มเหลว

ไอกรน
หมอเตือน ลูกไอบ่อยอันตราย เสี่ยงเป็นไอกรน

ไอกรน มีสาเหตุจากอะไร

พญ.นวลนภา อนันตสิทธิ์ กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวไว้ว่า โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Bordetella pertussis เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ หรือจามรดกันโดยตรง

ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อมาจากคนในครอบครัว เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดที่ยังไม่ได้รับภูมิคุ้มกัน หรือในคนที่ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันมาก่อน ในวัยผู้ใหญ่เมื่อติดเชื้อนี้แล้วอาจไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้

ลักษณะเฉพาะของ ไอกรน

ลักษณะเฉพาะของโรคไอกรน คือ

  • ไอซ้อนติดกัน 5 – 10 ครั้ง
  • ในเด็กอาจไอจนหายใจไม่ทัน หรือไอจนหยุดหายใจได้
  • นอกจากนี้จะมีอาการหายใจเข้าลึก ๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกับไอเป็นชุด ๆ
  • บางครั้งอาการไออาจเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน 2 – 3 เดือน

โรคนี้จะมีอันตรายและอัตราตายสูงในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือเด็กที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงมีความสำคัญต้องพาเด็กไปรับวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ซึ่งวัคซีนไอกรนจะรวมอยู่กับวัคซีนคอ ตีบ และบาดทะยัก

โรคแทรกซ้อน

1.  โรคแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของโรคไอกรนในเด็กเล็กโรคในปอดที่อาจพบได้อีกจะเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิด atelectasis

2.  จากการไอมากๆทำให้มีเลือดออกในเยื่อบุตา

3.  ระบบประสาทอาจมีอาการชัก พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในขณะที่ไอถี่ๆและอาการชักอาจเกิดจากมีเลือดออกในสมอง

การรักษา

เนื่องจากเชื้อ B. pertussis จะมีอยู่ในลำคอของผู้ป่วยในช่วงระยะแรก ดังนั้นถ้าให้ยาปฎิชีวนะที่ได้ผลเฉพาะคือ erythromycin ในขนาด 50 มก./กก./วันเป็นระยะเวลา 14 วัน ในระยะนี้จะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลงได้ แต่ถ้าพบผู้ป่วยระยะที่มีการไอเป็นชุด ๆ แล้วการให้ยาจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคได้ แต่จะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะยังมีอยู่ให้หมดไปได้ในระยะ 3-4 วันเป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้

การรักษาตามอาการให้เด็กได้พักผ่อน ดื่มน้ำอุ่น อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้เด็กไอมากขึ้น เช่น การออกแรง ฝุ่นละออง ควันไฟควันบุหรี่ อากาศที่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

การป้องกันไอกรน

ป้องกันโรคไอกรน ด้วยการพาเด็กไปรับวัคซีนตามอายุ ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 อายุ 2 เดือน
  • ครั้งที่ 2 อายุ 4 เดือน
  • ครั้งที่ 3 อายุ 6 เดือน
  • ครั้งที่ 4 อายุ 18 เดือน
  • ครั้งที่ 5 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เมื่ออายุครบ 4 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, pobpad

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

หมอแนะนำพ่อแม่!  4 วิธีดูแลลูกเป็นเบาหวาน

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ระบาดหมอชี้มีโอกาสติดเชื้อพร้อมโควิด

7 อาการต้องสงสัย ลูกป่วยRSV ดูแลอย่างไรไม่ให้เป็น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up