กลั้นจาม

หมอเตือนอย่าเผลอ กลั้นจาม บ่อย ทำลมเข้าสมอง เสี่ยงหน้าเบี้ยว ปอดทะลุ

account_circle
event
กลั้นจาม
กลั้นจาม

กลั้นจาม ใครๆ ก็ทำกัน ยิ่งช่วงโควิด-19 ระยะ จะจามแบบเต็มที่ เสียงดังให้สะใจก็กลัวคนรอบข้างรังเกียจ ทั้งเอามือปิดปากปิดจมูก บางคนเอามือบีบจมูกแน่นกลัวมีเสียง มีลมออกมา แต่แม่รู้ไหมมีผลเสียมากกว่าดี ทำบ่อยๆ เสี่ยงปอดทะลุ หูดับ ปากเบียว พูดไม่ชัด ลูกบ้านไหนทำแบบนี้ให้รีบหยุดทันที

กลั้นจาม บ่อยไม่ดี ลมอั้นเข้าสมอง เสี่ยงหน้าเบี่้ยว ปอดทะลุ 

ใครจะนึกว่าพฤติกรรมเล็กน้อยในชีวิตประจำวันจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพขนาดนี้ นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ด้านระบบหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธได้โพต์เตือนผลเสียจากการ กลั้นจาม ให้ประชาชนทั่วไปต้องระวัง

“หลังพบผู้ป่วยหญิงวัยกว่า 80 ปีมาเข้ารับการตรวจรักษาจากอาการ “พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออกอยู่ 3 วัน” พร้อมกับมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูงเมื่อปี 2559 หลังตรวจ MRI สมองพบว่ามี “ลมอยู่เนื้อสมองข้างซ้าย (Air pocket)ขนาด  7 x 4 x 3.2 เซนติเมตร จึงให้การรักษาจนหายเป็นปกติ

จนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 คนไข้รายเดิมกลับมาหาหมออีกครั้ง ด้วยอากรผิดปกติเช่นเดิม หลังจากจามแล้วเอามือปิดปากปิดจมูกเพราะไม่อยากให้มีเสียงดัง หลังทำมีอาการพูดไม่ชัด หน้าข้างขวาเบี้ยว หูข้างซ้ายอื้อ มีเสียงดัง ทำคอมพิวเตอร์สมองพบลม (air pocket) ในเนื้อสมองข้างซ้ายขนาด 5.1 × 4.1 × 2.8 เซนติเมตร ตำแหน่งเดิมเหมือนเมื่อ 3 ปี 5 เดือนก่อน แต่ปริมาตรของลมในเนื้อสมองครั้งนี้น้อยกว่า ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล 4 วัน อาการดีขึ้นช้าๆ กลับบ้านได้

สาเหตุของลมเข้าสมองทั้ง 2 ครั้งของผู้ป่วยรายนี้ คือจามแล้วเอามือปิดจมูกปิดปากพร้อมๆกัน ปกติความแรงของการจามทำให้ลมพุ่งออกจากจมูกและปากด้วยความเร็วสูงถึง 110 กม/ชม เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้ปิดจมูกปิดปากขณะจาม แรงดันในช่องปากคงสูงมาก ลมผ่านจากท่อในปากเข้าหูชั้นกลางด้านซ้าย แล้วดันทะลุผ่านกระโหลกใต้สมองเข้าเนื้อสมองด้านซ้าย

นอกจากลมจะรั่วเข้าสมองจากการบังคับไม่ให้จามออกทางปากและจมูกแล้ว ยังมีรายงานแรงดันสูงทำให้ปอดรั่ว แก้วหูทะลุ ผนังช่องคอทะลุ เส้นเลือดในสมองแตกได้อีกด้วย

เพราะฉะนั้นอย่าทำร้ายตัวเองด้วยการเอามือมาปิดจมูกและปากขณะจามเด็ดขาด จามขณะใส่หน้ากากอนามัยไม่เป็นอันตราย เพราะลมสามารถผ่านหน้ากากได้

คำถามชวนสงสัยคือ “ลมไปอยู่ในสมองได้อย่างไร” …

 

กลั้นจาม

จากข้อมูลจากวารสาร BMJ Case Reports ของวันที่ 15 มค 2561 ได้ชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากการเอา “มือบีบจมูก” หรือ “เม้มปากขณะจาม” เพื่อให้ลมออก หลังจากซักประวัติคนไข้ก่อนป่วย พบว่า หลายคนเคยใช้มือบีบจมูกขณะจาม หรือเอานิ้วอุดหูข้างขวาและเม้มปากไปพร้อมกัน ทำให้ลมจากการจามออกทางจมูกหรือปากไม่ได้ จึงผ่านไปยังท่อในช่องปากเข้าสู่หูชั้นกลาง แล้วทะลุผ่านกะโหลกเข้าปยังสมองด้านซ้าย

ด้วยเร็วของลมจากการจามที่เร็วถึง 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ลองนึกถึงลมปะทะตอนขับรถด้วยความเร็วระดับเดียวกัน)  สามารถทำให้อวัยวะในระบบหายใจหายเสียได้ทั้งแต่ ปอดรั่ว แก้วหูทะลุ ผนังช่องคอทะลุ และอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือลมเข้าไปอยู่ในเนื้อสมองด้วย ฉะนั้นจึงไม่ควรกลั้นจาม หรือปิดช่องทางระบายของลมโดยเด็ดขาด

คอหอยฉีกอาจเกิดจาก“กลั้นจาม”

ภัยของการกลั้นจามยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ยังมีผู้ป่วยชาวอังกฤษที่กลั้นจาม  ทำให้เกิดอาการ “คอหอยบวม” ต่อมาก็พูดไม่มีเสียงโดยที่หาสาเหตุไม่ได้  จนเมื่อสแกน MRT ก็พบว่ามีช่องบริเวณด้านหลังคอหอย และมีลมค้างอยู่ใกล้ ๆ กับหลอดลม

ปกติแล้ว ภาวะเนื้อเยื่อคอหอยจฉีกขาดหรือมีรูรั่วฉับพลัยพบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอาเจียนหรือขย้อนอาหารรุนแรง ไอถี่มาก หรืออาการบาดเจ็บสาหัสบางอย่าง แต่คนที่มีพฤติกรรมกลั้นจาม ทำให้ลมที่อุดตันอยู่พยายามหาทางระบายออกจากร่างกายโดยกระจายตัวผ่านเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อหน้าอก ด้วยความแรงขอลมนี้เอง ส่งผลให้เกิดเสียงดังจากลำคอไปถึงซี่โครง เป็นต้นเหตุของอาการปวดร้าวหน้าอก และภาวะติดเชื้อในลำคอ

กลั้นจาม

การปล่อยให้อากาศแทรกผ่านเนื้อเผื่อของอวัยวะสำคัญยังเกิดขึ้นกับช่องอก ลำคอ รวมถึงสมองผ่านท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachain) ซึ่งเชื่อมระหว่างช่องจมูก หูชั้นกลางและเยื่อแก้วหู จึงทำให้แก้วหูแตก หรืออาจจะเป็นสาเหตุเล็ก ๆ ของอาการเส้นเลือดในตาเปราะขาดหรือแตก และความผิดปกติต่อกระบังลมด้วย เมื่อลมผ่านกะโหลกเข้าสู่สมองแล้ว จะทำให้เกิดความผิดปกติมากมาย เช่น  เบลอ พูดไม่ชัด พูดไม่ออก หูดับ หูหนวกถาวรด้วย

จามแบบไหนปลอดภัยที่สุด

การจามเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของร่างกายเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงไม่ควรปิดกั้นช่องทางระบายลม วิธีที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้การจามแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น  หากรู้ตัวว่าป่วย มีน้ำจูก คัดจมูก ควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรทิ้งอย่างถูกต้อง หรือถ้าไม่ใช่ผู้ป่วย การใส่หน้ากากผ้าก็ช่วยป้องกันละอองได้จากการจามได้ระดับหนึ่ง

ถ้าไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไว้ สามารถจามใส่กระดาษชำระ หรือถ้าเผลอจามแบบไม่ทันตั้งใจ ใช้แค่ต้นแขนป้องจมูกเบาๆ ไม่ต้องบีบจมูก หรือปิดจนมิด เพื่อให้ลมระบายออกมาได้ ที่สำคัญอย่าลืมล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคระบาดที่เรากำลังตั้งการ์ดสู้กันอยู่ด้วยนะคะ

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

5 อันดับยอดฮิต…โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็ก

รวมผลิตภัณฑ์ ยาพ่น และ น้ำเกลือล้างจมูก เลือกแบบไหนดี!

ยาแก้ไอ สําหรับทารก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี?

 


แหล่งข้อมูลและภาพ  www.facebook.com/หมอมนูญ-ลีเชวงวงศ์-FC  Kapook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up