คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

ประสบการณ์จริง เมื่อคุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

Alternative Textaccount_circle
event
คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ

การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

สำหรับคุณแม่ที่ยังสามารถควบคุม และดูแลตัวเองได้ คุณหมอก็จะแนะนำวิธีการดูแล และสังเกตตัวเองให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน คุณหมอจะให้คุณแม่ดูแลตัวเอง ควบคู่ไปกับการดูแลโดยคุณหมออย่างใกล้ชิด คุณหมอจะตรวจประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด

คุณหมอจะเช็คประวัติ ยาที่ได้รับก่อนการตั้งครรภ์ เพราะยาบางชนิดมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ทั้งต่อคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ลูกน้อยผิดปกติ ยาบางชนิดเป็นเป็นอันตราย และส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยง หรือเปลี่ยนตัวยาที่ปลอดภัย แต่บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้ ถึงแม้ว่าจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การสังเกต และเฝ้าระวังจึงเป็นทางเดียวที่จะประเมินภาวะแทรกซ้อนนั้นได้

คุณแม่โรคหัวใจ
การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

คำแนะนำในการฝากครรภ์

ช่วงก่อน 28 สัปดาห์คุณแม่ควรมาฝากครรภ์ทุกๆ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นควรมาตรวจทุก 1 สัปดาห์ไปจนถึงวันคลอด ในแต่ละครั้งที่มาตรวจ ควรประเมินอาการ และอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ สังเกตอาการเหนื่อยหอบ ภาวะบวม ไอเป็นเลือด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นรวดเร็วอาจทำให้เกิดการบวมน้ำในภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เฝ้าระวังการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินหายใจ เพราะจะเป็นตัวส่งเสริม หรือกระตุ้นให้โรคหัวใจกำเริบได้
  • คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ควรตรวจความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ ในช่วง 18 – 22 สัปดาห์ด้วย และควรอัลตร้าซาวนด์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตในไตรมาส 3 หรือหลังจาก 28 สัปดาห์ เนื่องจากอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดในรกที่ลดลง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้
  • การนับลูกดิ้น การตรวจสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ หรือการประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย จะช่วยบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ โดยเริ่มตรวจได้ตั้งแต่ 28 – 30 สัปดาห์
  • การดูแลตัวเองในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังตั้งครรภ์ เช่น การได้รับธาตุเหล็กอย่างเพีงพอ การดูแลด้านโภชนา จำกัดรสเค็ม และพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง รวมถึงลดกิจกรรมหนักๆ เช่น การออกกำลังกายที่รุนแรง
  • คุณแม่ควรนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนคลอดถ้าอาการของโรคหัวใจไม่รุนแรง ควรนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ต้นไตรมาตร 3 ถ้าโรคหัวใจรุนแรงปานกลาง และควรนอนโรงพยาบาลตลอดการตั้งครรภ์ถ้าโรคหัวใจรุนแรงมาก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “การดูแลรักษาคุณแม่โรคหัวใจในระยะคลอด” คลิกหน้า 5

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up