ท้องร่วง ไวรัส โรต้า

ระวังลูก ท้องร่วง จาก โรต้าไวรัส ระบาดหนักอย่าประมาท

Alternative Textaccount_circle
event
ท้องร่วง ไวรัส โรต้า
ท้องร่วง ไวรัส โรต้า

ท้องร่วง หนัก ระวังอันตรายจากเชื้อ โรต้าไวรัส อาการธรรมดาที่พ่อแม่ห้ามประมาท เพราะคร่าชีวิตเด็กน้อยมามาก ป้องกันไม่ยากแค่ล้างมือ ฉีดวัคซีน

ระวังลูก ท้องร่วง จาก โรต้าไวรัส ระบาดหนักอย่าประมาท!!

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในเด็กเล็ก โดยมักจะเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเชื้ออาจติดมากับมือ ของเล่นที่เปื้อน  หรืออุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ เมื่อเด็กสัมผัสและเอามือเข้าปาก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ทำให้มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย ท้องร่วงได้

4 สัญญาณเตือนภัยร้ายจาก “ไวรัสโรต้า” 

พ่อแม่ห้ามประมาทแม้อาการ ท้องร่วงจะเป็นอาการธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้ และคิดว่าไม่นานก็หาย แต่หากสังเกตเห็นว่าลูกมีอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายเหล่านี้ 4 สัญญาณเตือน ควรรีบพาลูกน้อยมาพบแพทย์ เพราะอาจส่งผลถึงชีวิต

1. มีอาการซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น

2. มีอาการอาเจียนมาก หรือถ่ายมากผิดปกติ

3. มีปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชั่วโมง

4. มีอาการตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หรือเด็กเล็กๆ จะมีกระหม่อมบุ๋ม

สัญญาณเตือน อาการอันตรายจาก ท้องร่วง โรต้าไวรัส
สัญญาณเตือน อาการอันตรายจาก ท้องร่วง โรต้าไวรัส

ท้องร่วงจาก ไวรัสโรต้า อาการแตกต่างอย่างไร??

หลาย ๆ คนอาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อาการท้องร่วง แบบไหนที่น่าเป็นห่วง หรือเป็นเพียงแค่อาการท้องเสียธรรมดา หากเป็นการ ท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า หลังรับไวรัสโรต้าเข้าไปในร่างกาย จะมีอาการป่วยได้ภายใน 2 วัน โดยมีความรุนแรงแตกต่างกันไป หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการรุนแรงได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการอาเจียนนำมาก่อน ต่อมามีถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ อาการเป็นได้นาน 3-7 วัน ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีไข้สูง และอาจมีอาการชักได้ ในเด็กเล็ก ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจมีอาการรุนแรง สูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ความดันโลหิตลดลง เกิดภาวะช็อก และเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโรต้า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอุจจาระร่วงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามสามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงได้เช่นกัน

รู้ได้อย่างไรว่าลูกติดเชื้อไวรัสโรต้า

อาการและลักษณะอุจจาระของโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าไม่ได้มีลักษณะจำเพาะ จึงไม่สามารถแยกจากการติดเชื้ออื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของอุจจาระร่วงได้ ต้องอาศัยการตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัสโรต้า

กลุ่มเสี่ยงสําคัญ

กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มที่หากได้รับเชื้อไวรัสโรต้าเข้าไปแล้ว อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นได้ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ เป็นช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด เด็กที่อยู่รวมกันในสถานเลี้ยงเด็กและเด็กที่ใกล้ชิดกับเด็กที่ท้องเสียจากเชื้อนี้ ส่วนผู้ใหญ่มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรต้าแล้วจึงไม่น่ากังวล

สุขอนามัยที่ดี ลดความเสี่ยงได้!!

เนื่องจากไวรัสโรต้าติดต่อกันทางสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือทางอ้อมผ่านมือ สิ่งของ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก เชื้อติดต่อจากคนสู่คน โดยการรับประทานเชื้อเข้าไป การป้องกันอาจจะทําได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนเตรียมหรือก่อนรับประทานอาหารหรือนม หรือหลังจากเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารร่วมกัน หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัดที่มีการเล่นร่วมกันในช่วงที่มีการระบาดของโรค อาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้ นอกจากนี้การกินนมแม่ อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้  หลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้ที่มีอาการท้องเสีย อีกวิธีหนึ่งในการป้องกัน คือ การรับวัคซีนโรต้า 

วัคซีนโรต้า ป้องกัน ท้องร่วง
วัคซีนโรต้า ป้องกัน ท้องร่วง

วัคซีนโรต้า !!

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีสุขอนามัยที่ดี แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ เนื่องจากปริมาณเชื้อเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อโรคได้ อีกทั้งเชื้อมีความคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนาน จึงเป็นการยากที่จะป้องกัน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ การเตรียมบุตรหลานให้มีภูมิคุ้มกันด้วยการรับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าตั้งแต่วัยทารก
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าผลิตจากเชื้อไวรัสโรต้าที่ทำให้อ่อนฤทธิ์จนก่อโรคไม่ได้  เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน ปัจจุบันมี 2 บริษัทผู้ผลิต คือ RotarixTM หยอด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 และ 4 เดือน และ RotateqTM หยอด 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน วัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงไม่แตกต่างกัน โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าที่รุนแรงได้ดีใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 85-98 วัคซีนมีความปลอดภัยสูง พบผลข้างเคียงได้น้อย เช่น ถ่ายอุจจาระเหลว อาเจียน ซึ่งอาการจะไม่รุนแรง แม้ว่าจะมีรายงานการเกิดลำไส้กลืนกันหลังจากหยอดวัคซีน แต่พบได้ในอัตราที่น้อยมากประมาณ 1-5 คนใน 100,000 ราย ซึ่งเป็นโรคที่รักษาได้ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์จากวัคซีนในการป้องกันโรคแล้ว ถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำว่า เด็กเล็กทุกคนควรได้รับการหยอดวัคซีนนื้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ตามวัย เด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าครบแล้ว อาจยังเกิดโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ แต่อาการมักไม่ค่อยรุนแรง
ท้องร่วง อาการที่พ่อแม่ต้องระวัง
ท้องร่วง อาการที่พ่อแม่ต้องระวัง

ข้อมูลวัคซีนโรต้า

เป็นวัคซีนชนิดหยอด ในขณะนี้มี 2 ชนิดในประเทศไทย เริ่มหยอดครั้งแรกอายุไม่ต่ำกว่า 6 สัปดาห์ ครั้งต่อไปให้ห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หยอดทั้งหมด 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดวัคซีน ดังนี้

ชนิดแรก หยอดทั้งสิ้น 2 ครั้ง  ครั้งสุดท้ายควรให้เสร็จก่อนอายุ 6 เดือน

ชนิดที่สอง หยอดทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายควรให้เสร็จก่อนอายุ 8 เดือน

ประสิทธิภาพของวัคซีน

วัคซีนลดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจากเชื้อโรต้าไวรัสได้ 80-90% ลดการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเนื่องจากท้องเสียได้ประมาณ 80-95% โดยรวมป้องกันท้องเสียจากเชื้อโรต้าได้ถึง 70%

ผลข้างเคียงของวัคซีน

วัคซีนมีความปลอดภัยสูง มีอาการข้างเคียงได้บ้าง เช่น ไข้ ถ่ายเหลว อาเจียน ซึ่งไม่รุนแรง มีรายงานการเกิดภาวะลําไส้กลืนกันหลังรับวัคซีนได้บ้างหลังรับวัคซีนยังมีโอกาสเกิดโรคได้อยู่บ้าง แต่เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าและเกิดโรคอุจจาระร่วง อาการมักจะไม่รุนแรง

อ่านต่อ >> รวมราคา แพคเกจ วัคซีนโรต้า ราคาเท่าไหร่ ที่ไหน คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up