ไข้ลด ตัวเย็น

อาการขั้นวิกฤต ไข้ลด ตัวเย็น เสี่ยงช็อกเสียชีวิต จากไข้เลือดออก!

event
ไข้ลด ตัวเย็น
ไข้ลด ตัวเย็น

ไข้ลด ตัวเย็น

  1. รางน้ำฝน เป็นจุดเสี่ยงที่คนมักจะคาดไม่ถึงแต่เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ชั้นดี เพราะเศษใบไม้ที่ร่วงใส่หลังคาจะไหลลงมาสะสมไว้ที่รางน้ำฝน จนเกิดการอุดตันและมีน้ำขังเมื่อฝนตกลงมา ดังนั้นจึงควรหมั่นตรวจสอบและเก็บเศษใบไม้ออกจากรางน้ำฝนอยู่บ่อยๆ
  2. ภาชนะที่มีน้ำขัง บริเวณนอกบ้านเป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะมากสำหรับการเก็บสะสมข้าวของที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือรอการทิ้งไป แต่เมื่อฝนตกลงมา หรือสาดเข้ามา ข้าวของที่เราเก็บไว้โดยเฉพาะภาชนะต่างๆ เช่น กระป๋อง หรือยางรถยนต์จะมีน้ำฝนขังอยู่ กลายเป็นแหล่งน้ำสะอาดสำหรับการวางไข่ของยุงลาย ดังนั้นจึงต้องคว่ำภาชนะไว้ไม่ให้มีน้ำขัง หรือเทน้ำขังออกอยู่เสมอ ทางที่ดีคือรีบกำจัดของที่ไม่ใช้แล้วออกไป
  3. กระถางต้นไม้ ถาดรองน้ำใต้กระถางที่กันไม่ให้น้ำไหลออกมาเลอะเทอะเวลาที่รดน้ำต้นไม้จะกลายเป็นที่ขังน้ำ และน้ำตรงนี้มีสภาพนิ่งและสะอาด แม้จะเป็นแค่แอ่งน้ำตื้นๆ แต่ไม่ควรมองข้ามไปเพราะยุงลายสามารถอาศัยวางไข่ได้ ควรเทน้ำออกจากถาดรองเป็นประจำ หรือทางที่ดีคือเททรายลงในถาดรองน้ำเพื่อไม่ให้น้ำขัง
  4. ขาตู้กันมด ใครที่ใช้น้ำหล่อรอบขาโต๊ะหรือขาตู้เพื่อกันมดหรือแมลง ไม่ว่าจะเป็นที่โต๊ะอาหารหรือตู้กับข้าว อย่าปล่อยให้แหล่งน้ำสะอาดตรงนี้กลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ยุงลาย สามารถแก้ไขจุดเสี่ยงนี้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนจากการใส่น้ำเปล่าเฉยๆ มาเป็นน้ำเปล่าผสมเกลือหรือใส่น้ำส้มสายชูแทน ง่ายๆ เท่านี้ยุงลายก็จะไม่สามารถวางไข่ได้
  5. โอ่งน้ำ จุดเสี่ยงขนาดใหญ่ในบ้านอีกแห่งหนึ่งคือแหล่งเก็บน้ำภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโอ่งน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือแทงค์น้ำจะต้องมั่นใจว่ามีฝาปิดสนิทเรียบร้อยดี ไม่มีช่องทางให้ยุงสามารถเข้าไปวางไข่ได้
  6. ภาชนะเลี้ยงพืชน้ำ ใครที่ชอบความสวยงามของพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน สาหร่าย เป็นต้น ในภาชนะที่ขังน้ำไว้เพื่อเลี้ยงพืชน้ำนี้ยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ แนะนำให้เลี้ยงปลาในภาชนะเลี้ยงพืชเพื่อให้ปลาคอยกินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น
  7. แจกันดอกไม้ จุดเสี่ยงใกล้ตัวเพราะเป็นแหล่งขังน้ำที่อยู่ภายในบ้าน หากลูกน้ำยุงเติบโตที่นี่ก็จะกลายเป็นยุงมากัดคนในบ้านแน่นอน ดังนั้นหากชอบความสวยงามของดอกไม้ก็ต้องขยันเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกๆ 7 วัน
อ้างอิงข้อมูล: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ไข้ลด ตัวเย็น

ทั้งนี้ในการช่วยกันค้นหา และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมกัน ตามมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ซึ่งจะเน้นไปที่การควบคุมยุงลายไม่ให้แพร่พันธุ์ และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ต้องเก็บสิ่งต่างๆ ดังนี้
1. เก็บบ้าน บ้านที่เป็นระเบียบร้อยนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศมีความปลอดโปร่ง จึงไม่มีที่ให้ยุงลายไปหลบซ่อนอยู่
2. เก็บขยะ กองขยะในบ้านนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว เมื่อฝนตกลงมาอาจเกิดน้ำขังและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ในที่สุด
3. เก็บน้ำ แหล่งน้ำในบ้านนั้นอาจกลายเป็นที่ที่ยุงลายใช้แพร่พันธุ์ได้หากไม่ดูแลให้ดี โดยเฉพาะแหล่งน้ำนิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ต้องปิดให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุง

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรคได้ที่เบอร์ 1422

อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!


ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข โดย ศ.พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก)

ขอบคุณข้อมูลจาก: daily.rabbit.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up