ลูกโป่งไว้ในรถ

อุทาหรณ์! ซื้อ ลูกโป่งไว้ในรถ ระเบิดคารถ เด็ก 6 ขวบเจ็บสาหัส

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกโป่งไว้ในรถ
ลูกโป่งไว้ในรถ

ภัยร้ายใกล้ตัวจากลูกโป่ง ของเล่นที่ทำให้เด็กตายได้

ลูกโป่ง ของเล่นที่ดูเป็นมิตรกับเด็ก ๆ จะเป็นภัยร้ายที่ทำให้เด็กตายได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

อันตรายจากลูกโป่ง
อันตรายจากลูกโป่ง ที่สามารถทำให้เด็กเสี่ยงขาดอากาศหายใจตาย
  1. การให้เด็กเป่าลูกโป่งเอง เด็กอาจเผลอกลืนลูกโป่งเข้าไปในขณะเป่าลูกโป่ง ในจังหวะที่เด็กต้องการหายใจเข้าเพื่อเติมลมในปอดนั้นจะต้องดูดอากาศเข้าอย่างแรง หรืออาจดูดอากาศเข้าไปผิดจังหวะ โดยมีลูกโป่งจ่ออยู่ที่ริมฝีปาก ทำให้เกิดโอกาสที่ลูกโป่งจะถูกดูดเข้าไปในปากและลงไปในหลอดลมเกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้
  2. เศษลูกโป่งที่แตกแล้วติดคอ เมื่อลูกโป่งแตกแล้ว  เด็กอาจเอาเศษลูกโป่งมาเคี้ยวเล่น หรือเอามายืดออกไว้ที่ริมฝีปากและเป่า ในจังหวะหายใจเข้า เศษลูกโป่งอาจจะถูกดูดเข้าไปในปากและสำลักลงหลอดลมได้

การสำลักลูกโป่งลงไปในท่อหลอดลม เป็นเรื่องยากที่จะทำให้มันหลุดออกมาได้ เพราะเนื้อลูกโป่งมีความเหนียว และการที่ลูกโป่งไปอุดตันทางเดินหายใจอาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรคจึงมีข้อแนะนำในการให้ลูกเล่นลูกโป่ง ดังนี้

  • ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เล่นลูกโป่งที่ยังไม่เป่า
  • ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานที่อายุน้อยกว่า 8 ปีตลอดเวลาการเล่นลูกโป่ง
  • ผู้ปกครองไม่ควรอนุญาตให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 8 ปีเป่าลูกโป่งเอง ควรเป่าลูกโป่งให้เด็ก ๆ เท่านั้น
  • ไม่ควรให้เด็กอมลูกโป่งเข้าปาก ไม่ว่าจะอายุกี่ปีก็ตาม
    ลูกโป่งที่แตกแล้ว ต้องเก็บเศษลูกโป่งทั้งหมดไปทิ้งในที่ที่พ้นมือเด็ก
  • ควรแขวนลูกโป่งให้สูง อย่าให้เด็กหยิบถึงได้เอง
  • สำหรับลูกโป่งลอยได้ (ทั้งลูกโป่งที่บรรจุแก๊สฮีเลี่ยม และ แก๊สไฮโดรเจน) ผู้ปกครองควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรนำไปไว้ในที่ที่ติดไฟได้ง่าย และที่ที่มีความร้อนสูง หรือนำ ลูกโป่งไว้ในรถ
  • ควรสอนเด็ก ให้เล่นลูกโป่งไกลหน้าไกลตา เพราะหากเกิดการแตก แรงระเบิดจะเป็นอันตรายต่อใบหน้าและตาได้

จริงอยู่ว่าลูกโป่งสมัยนี้ มีลวดลายการ์ตูนที่ทำให้เด็ก ๆ เกิดความอยากได้อยากถือ แต่สิ่งที่อยู่ภายในลูกโป่งนั้น (โดยเฉพาะลูกโป่งที่บรรจุแก๊สไฮโดรเจนที่ติดไฟง่าย) อันตรายเหมือนกับการให้เด็กถือระเบิดเอาไว้เลยค่ะ ดังนัน ทุกครั้งที่ให้เด็กเล่นลูกโป่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกโป่งประเภทไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ควรนำ ลูกโป่งไว้ในรถ นะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รวม ของที่ลูกไม่ควรเล่น 7 อย่าง เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!

รู้ไว้ใช่ว่า! 6 ขั้นตอน ช่วยลูกถูกไฟดูด (มีคลิป)

วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)

ลูกอมติดคอลูก แม่เล่าวินาทีชีวิต ช่วยลูกไว้ได้เพราะดูคลิปนี้! (มีคลิป)

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up