อาหารเด็กทารก

อาหารเด็กทารก ป้อนอย่างไรไม่ให้ลูกเสี่ยงแพ้อาหาร?

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารเด็กทารก
อาหารเด็กทารก

การป้อน อาหารเด็กทารก หากป้อนไม่ถูกวิธีอาจทำให้ลูกเสี่ยงแพ้อาหาร ซึ่งอาการแพ้อาหาร สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของลูกน้อยได้

อาหารเด็กทารก ป้อนอย่างไรไม่ให้ลูกเสี่ยงแพ้อาหาร?

การแพ้อาหารคืออะไร?

การแพ้อาหาร (Food allergy) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารบางชนิดเข้าไป อาการแพ้อาหารสามารถพบได้มากถึง 2-10% ในปัจจุบัน  โดยอาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นอาจมีได้ตั้งแต่น้อย ปานกลาง จนถึงรุนแรง อาการที่รุนแรงที่สุด คือ เกิดปฏิกริยาเฉียบพลันต่อระบบของอวัยวะในร่างกายที่สำคัญตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ซึ่งมีผลต่อชีวิตได้ อาการที่เกิดจากปฏิกริยาการแพ้อาหาร มีดังนี้

  • ผิวหนัง มีอาการคัน ผื่นแดง ผื่นลมพิษ ผิวหนังบวม
  • ตา มีอาการคัน น้ำตาไหล ตาแดง อาการบวมรอบตา
  • ทางเดินหายใจส่วนบน มีอาการคัน แน่นจมูก น้ำมูกไหล จาม เสียงแหบ กล่องเสียงบวม
  • ทางเดินหายใจส่วนล่าง มีอาการไอ เสียงหวีดในลำคอ หายใจไม่ออก แน่นหรือเจ็บหน้าอก
  • ทางเดินอาหาร มีอาการคันในช่องปาก อาการบวมของริมฝีปาก ลิ้น หรือ เพดานปาก คันหรือแน่นในคอ ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด
  • หัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว มึนงง สลบหรือเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจแพ้อาหาร

โดยปกติแล้ว อาการแพ้อาหารแบบเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นหลังจากทานอาหารชนิดนั้น ๆ ไปแล้วไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมง อาการเริ่มต้นที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือ เกิดลมพิษขึ้นบริเวณผิวหนัง มีผื่นขึ้นบริเวณรอบ ๆ ปาก มีอาการท้องเสีย อ้วก ลูกจะงอแง เพราะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายท้อง โดยหากเกิดอาการเพียงเล็กน้อย ควรหยุดป้อนอาหารที่ต้องสงสัยนั้นทันที โดยอาการแพ้จะสามารถหายได้เอง แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้จ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น

แต่หากลูกมีอาการหายใจลำบาก มีเสียงหวีดในลำคอ ลิ้น ริมฝีปาก และหน้าบวม ให้สงสัยว่าลูกอาจมีอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

ลูกแพ้อาหาร
ลูกแพ้อาหาร

ข้อควรระวังก่อนป้อน อาหารเด็กทารก มื้อแรกให้ลูก

ก่อนเริ่มให้ลูกทาน อาหารเด็กทารก คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบว่าลูกอาจมีความเสี่ยงที่จะแพ้อาหารหรือไม่ โดยเด็กที่แพ้อาหาร มักจะมีปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  • กรรมพันธุ์ พบว่าหากในครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 หากมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ 2 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80
  • คนเอเชีย และเด็กผู้ชาย มีความเสี่ยงสูงในการเกิดการแพ้อาหาร
  • การขาดวิตามินดี มีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหาร
  • ลูกเคยมีหรือมีอาการของโรคผิวหนังอักเสบ หรือมีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาก่อน

กลุ่มอาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้บ่อย

อาหารที่พบมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย คือ ไข่ ขนม ถั่วลิสง ถั่ว (Tree nuts) ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ส่วนอาหารอื่นๆได้แก่ งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้ (อ่านต่อ อาหารก่อภูมิแพ้ 8 ชนิดที่พ่อแม่ควรระวัง)

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารในกลุ่มอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการแพ้ โดยอาหารแต่ละชนิดควรเริ่มทานในช่วงวัยที่แตกต่างกัน อย่างเช่น กลุ่มข้าวและผัก สามารถเริ่มทานได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป กลุ่มเนื้อสัตว์ ควรเริ่มทานตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป สำหรับอาหารทะเล ไข่ขาว ถั่ว ควรเริ่มทานได้ตั้งแต่ 1 – 1.5 ขวบขึ้นไป เป็นต้น สำหรับอาหารที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้ ทีมแม่ ABK ขอนำตารางอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ เริ่มแพ้เมื่อไหร่ และจะหายแพ้เมื่อไหร่ โดยอ่านได้ที่หน้า 2 ค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ เด็กแพ้อาหารจะเริ่มเกิดในช่วงอายุใด? และจะหายแพ้เมื่อไหร่?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up