งานจิตอาสา ทักษะชีวิต

รวม! งานจิตอาสา ช่วยปลูกฝังพัฒนาทักษะชีวิตลูกเริ่มได้ทุกวัย

Alternative Textaccount_circle
event
งานจิตอาสา ทักษะชีวิต
งานจิตอาสา ทักษะชีวิต

งานจิตอาสา ให้อะไรมากกว่าที่คิด ในสังคมยุคใหม่ที่ต่างคนต่างอยู่ ทักษะชีวิตเช่นการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือกันจางหาย มาสร้างลูกให้มีจิตสาธารณะเพื่อสังคมน่าอยู่กัน

10 งานจิตอาสา ช่วยปลูกฝังพัฒนาทักษะชีวิตลูก เริ่มได้ทุกวัย!!

แพทย์หญิงถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ว่าทำไมเด็กยุคนี้ต้องทำงานจิตอาสา คุณหมอบอกว่า การทำงานจิตอาสาเป็นสิ่งที่ช่วยปลูกฝังให้เด็กมีทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ การเสียสละ การมีน้ำใจ ความขยัน อดทน ความรับผิดชอบ การเข้าสังคม อ่อนน้อมถ่อมตน ลดความเห็นแก่ตัว มีเมตตาต่อกันทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือการเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กยุคนี้ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย การติดต่อสื่อสารกันหรือการเรียนรู้ส่วนใหญ่มักผ่านทางหน้าจอ ทำให้ขาดทักษะที่สำคัญในชีวิตหลายอย่าง แต่ข้อควรระวังคือการทำงานจิตอาสาแล้วถ่ายรูปโพสใน facebook หรือ instagram เพื่อจุดประสงค์ในการให้คนเข้ามาชมหรือคอมเม้นท์ เด็กๆก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากงานจิตอาสาที่แท้จริง

ที่มา : ปิดเทอมสร้างสรรค์

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม!!

วิถีชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ก็ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่สายพันธุ์ แล้วมนุษย์ล่ะ!! ว่ากันว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม เพราะมนุษย์มีการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมวดหมู่ มิได้ใช้ชีวิตอยู่เพียงคนเดียวตามลำพังแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์ต้องทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (คำกล่าวของอริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก) แต่ละคนต่างก็ต้องการที่จะเสริมสร้างความสุข ความมั่นใจ และความปลอดภัยให้กับตนเองอยู่เสมอ ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงเป็นการตอบสนองต่อความต้องการนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี สังคมจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ทางความคิดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้นนั่นเอง

กิจกรรมช่วยงานสาธารณะ ปลูกฝังทักษะชีวิต
กิจกรรมช่วยงานสาธารณะ ปลูกฝังทักษะชีวิต

ทักษะการใช้ชีวิตร่วมกันกำลังจะหายไป!!

ในสังคมยุคปัจจุบันเราเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า การปฎิสัมพันธ์กันของมนุษย์นั้นเริ่มลดน้อยถดลง แม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยให้โลกนั้นแคบลงก็ตาม การติดต่อสื่อสารกันทำได้ง่ายขึ้นแม้ว่าเราจะอยู่ห่างไกลกันแค่ไหน แต่ทำไมเด็ก ๆ ในยุคใหม่ ถึงขาดทักษะการอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือแม้แต่หลักในการเข้าหาพบปะพูดคุยถึงลดลง

เราควรกลับมามองและให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นของเด็กกันให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาที่เราได้ตั้งข้อสังเกตกันไว้ในเบื้องต้น เพราะการทำกิจกรรมรวมกลุ่มกันนั้น สามารถมอบทักษะการใช้ชีวิตให้แก่เด็ก โดยที่ไม่สามารถหาได้จากในตำราเรียน

ทักษะชีวิต สำคัญอย่างไร?

ทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้เด็กสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรืออาจกล่าวได้ว่าทักษะชีวิต คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดทักษะชีวิตไว้ 10 ทักษะ ได้แก่

  1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพหรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
  2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจจนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไขได้
  3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในทางความคิด ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีการคิดแบบสร้างสรรค์เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
  4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหาหรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถช่วยให้เด็กตระหนัก และประเมินผลสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของตนเอง เช่น การรู้จักคุณค่าในตนเอง การจัดการกับความกดดันจากเพื่อนๆ หรือการรับข้อมูลจากสื่อต่างๆ
  5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูด และท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมและสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ
  6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน สามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
  7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self-awareness) เป็นความสามารถในการค้นหา รู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดีข้อด้อยของตนเอง รู้ความต้องการและสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่างๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่นๆ เช่นการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน
  9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธและความโศกเศร้า ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกายและจิตใจได้อย่างเหมาะสม
  10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียดเพื่อให้เกิดพฤติกรรมในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

    ร่วมแรงร่วมใจทำงาน วิถีชีวิตสมัยก่อน
    ร่วมแรงร่วมใจทำงาน วิถีชีวิตสมัยก่อน

ทักษะชีวิตทั้ง 10 ทักษะนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ต้องอาศัยการฝึกฝน ซึ่งการที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณลักษณะที่ดีนั้นต้องฝึกตนเองให้มีจุดแข็งในด้านทักษะการวิเคราะห์ การตัดสินใจ และการปฏิบัติตนที่เหมาะสม รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง และพร้อมที่เผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีความพร้อมที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี นั่นคือ ความฉลาดในการเข้าสังคม (SQ : Social Quotient)

งานจิตอาสา ปลูกฝังพัฒนาทักษะชีวิต!!

ทักษะชีวิตไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ ดังนั้นการให้ลูกได้ทำ กิจกรรมจิตอาสา เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยปลูกฝังให้เด็กได้ฝึกฝนการใช้ทักษะชีวิตในด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังทำให้เด็กเป็นผู้ที่มีจิตอาสา จิตใจเมตตากรุณา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาสังคมของเราให้น่าอยู่ และเป็นสุขต่อไป สังคมที่พวกเขาจะต้องใช้ชีวิตอยู่ หากร่วมกันทำให้น่าอยู่แล้ว ก็นับว่าเป็นการสร้างอนาคตทื่ดีให้ลูกอีกทางหนึ่งด้วย

อ่านต่อ>> รวมเว็บไซต์ งานจิตอาสา ให้เลือกตามชอบ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up