ตารางออมเงิน

แจก ตารางออมเงิน ออมมีวินัยเห็นผลชัวร์ รับเศรษฐีใหม่

Alternative Textaccount_circle
event
ตารางออมเงิน
ตารางออมเงิน

ตารางออมเงิน แจกฟรีมีทุกแบบ มีตารางช่วยเตือนให้ออมเงินแบบมีวินัย ทำครบจบเตรียมตัวเป็นเศรษฐีคนใหม่กันได้เลย ใกล้ปีใหม่มาเริ่มต้นสิ่งดีด้วยเงินออมเพื่อลูกกัน

แจก!! ตารางออมเงิน ออมแบบมีวินัยเห็นผลชัวร์รับเศรษฐีใหม่

การออมเงิน เป็นวิธีที่ช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ ซึ่งเราสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยความหมายของเงินออม เงินออม หมายถึง เงินที่เก็บสะสม เพื่อให้พอกพูนขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามเวลา และควรเป็นเงินก้อนแรกที่เราหักออกจากรายได้ที่มีเข้ามาก่อนที่จะไปใช้จ่าย เรียกว่า เก็บก่อนใช้ เราสามารถเขียนออกเป็นสมการให้จำได้ง่าย ๆ ดังนี้

รายได้ – เงินออม = รายจ่าย

จากสถิติการออมของคนไทยจะพบว่า ในปัจจุบันมีคนไทยร้อยละ 77.4 เท่านั้นที่มีการออมเงิน ในขณะที่อีกร้อยละ 22.6 ไม่มีเงินออม และเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึก จะพบว่า รูปแบบการออมเงินของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของบัญชีฉุกเฉิน หรือบัญชีเงินเก็บระยะสั้น มากกว่าการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.scb.co.th
การออมเงิน เป็นพื้นฐานของความสำเร็จทางการเงิน
การออมเงิน เป็นพื้นฐานของความสำเร็จทางการเงิน

เงินออม คือ จุดตั้งต้นของความสำเร็จทางการเงิน หากต้องการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว คงต้องลองย้อนไปดูชีวิตของเศรษฐี หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการเงินดู จะพบว่า แทบทุกคนเริ่มต้นความร่ำรวยมาจากการรู้จัก ประหยัด อดออมเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น ดังนั้นหากเราต้องการเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จทางการเงิน มีเงินออมเหลือเก็บ เหลือใช้ ไว้เป็นเงินยามฉุกเฉิน และเป็นเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ คงต้องเริ่มกันเสียแต่วันนี้

ตารางออมเงิน… ตัวช่วยการออม

หากการออมเงิน เป็นเรื่องยากของใครหลาย ๆ คน หรือเมื่อถึงวันเงินเดือนออกแล้ว ยังไม่ทันข้ามวันเงินแทบเกลี้ยงกระเป๋า คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือไม่ หากใช่วันนี้ ทีมแม่ ABK ขอนำเสนอวิธีการเก็บเงินในรูปแบบที่ง่าย ตั้งเป้าหมายได้ตรงตามความต้องการของรูปแบบการเงินของเราเอง เพื่อไว้เป็นการฝึกฝนให้เราสามารถทำการออมเงินในรูปแบบอื่น ๆ ได้ต่อไป ด้วยการลองใช้วิธีการออมเงินด้วยตารางออมเงิน

ตารางออมเงินคือ การเก็บเงินในรูปแบบฉบับของคนเก็บเงินไม่อยู่ โดยใช้ตารางจำแนกเป็นช่อง ๆ เพื่อป้องกันการลืม และเป็นตัวย้ำเตือนให้เราทำตามแบบค่อยเป็นค่อยไป ในจำนวนที่ไม่มากในแต่ละครั้ง นอกจากจะเป็นการช่วยเตือนให้จำได้แล้ว ยังได้ความรู้สึกสนุกต่อการออมเงินอีกด้วย ว่าเราต้องการเก็บเงินกี่ช่องในแต่ละวัน เมื่อทำครบจบเราจะประหลาดใจว่า “นี่เราก็สามารถเก็บเงินก้อนใหญ่ได้ไม่ยากเหมือนกันนะ” หากเริ่มสนใจกันบ้างแล้ว มาเริ่มลงมือทำกันเลยดีกว่า

 วิธีใช้ตารางออมเงิน 

  1. เลือกจำนวนเงินเป้าหมายที่ต้องการเก็บออม โดยเราอาจจะกำหนดจากเป้าหมายราคาสิ่งของ หรือจำนวนเงินที่เราต้องการใช้ในอนาคตอันใกล้ เช่น ต้องการเก็บเงินไปซื้อของ ต้องการเก็บเงินไปเที่ยวปีใหม่ หรือต้องการเก็บเงินไปท่องเที่ยวทั่วโลก เป็นต้น
  2. เลือกตารางที่มีจำนวนเงินเป้าหมายตรงตามวัตถุประสงค์ของเรา โดยตารางออมเงินนี้มีให้เลือกตั้งแต่ 500 – 10,000 บาท หรืออาจหารูปแบบออมเงินตามวัน เช่น แบบตารางออมเงิน365วัน เป็นต้น
  3. ตัวเลขในช่องตาราง คือ จำนวนเงินที่เราต้องเก็บให้ได้ในแต่ละครั้ง เมื่อเก็บเงินได้ตามจำนวนในช่องแล้ว ก็กากบาทเอาไว้
  4. การกากบาทไม่จำเป็นต้องเรียงจากช่องแรกไปถึงช่องสุดท้าย และไม่กำหนดจำนวนครั้ง จะกากบาทกี่ช่อง ช่องไหนบ้างก็ตามแต่สะดวกได้เลยมีมากเก็บมาก มีน้อยเก็บน้อย แต่ต้องทำทุกวันอย่างน้อย วันละ 1 ช่อง แต่จะทำมากกว่าก็ย่อมได้
  5. เมื่อกากบาทครบทุกช่อง เราก็จะได้จำนวนครบตามเป้าหมายที่เราได้เลือกไว้ในข้อที่ 1

แจกฟรี!! ตารางออมเงินหลากหลายรูปแบบ

มาเริ่มการออมให้เป็นนิสัยด้วยการออมเงินด้วยตาราง ที่วันนี้เรามีมาแจกกันฟรี ๆ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ ได้ลองฝึกการออม เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า อย่ามัวแต่รอช้ารีบดาวน์โหลดกันเลย

ตารางออมเงิน เป้าหมาย 500 บาท
ตารางออมเงิน เป้าหมาย 500 บาท
ตารางออมเงิน 1000 บาท
ตารางออมเงิน 1000 บาท

 

ตารางออม เป้าหมาย 3000 บาท
ตารางออม เป้าหมาย 3000 บาท
ตารางออมเงิน 5000 บาท
ตารางออมเงิน 5000 บาท
ตารางเป้าหมาย 10000 บาท
ตารางเป้าหมาย 10000 บาท
โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ตารางเงินออมเพิ่มเติมได้จากที่นี่ ตารางออมเงินจาก ศคง.1213
ขอขอบคุณรูปภาพ และข้อมูลอ้างอิงจาก FB:ศคง.1213

สอนลูกให้รู้จักใช้เงิน!!

การสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงินเป็นเรื่องที่ดี และจำเป็น หากเราต้องการเห็นลูกมีความพร้อมทั้งทางด้านแง่คิด และหลักการในการดำเนินชีวิต หนึ่งในเรื่องที่จำเป็นที่ควรสอนลูกตั้งแต่เด็ก คือ ความรู้เรื่องการวางแผนการเงิน เพื่อฝึกให้ลูกเรามีนิสัยประหยัด อดออม
 6 วิธีสอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน 
1. หัดหนู
การฝึกลูกใช้เงินในบางคนอาจเข้าใจว่า เด็กคงไม่เข้าใจ และไม่รู้เรื่องเงิน ไม่มีความจำเป็นต้องสอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันการสอนลูกเกี่ยวกับเรื่องการใช้เงินนั้นสามารถทำได้ หากลูกอยู่ในวัยเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา คุณอาจเริ่มต้นให้เงินลูกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ลูกฝึกการบริหารการใช้จ่ายด้วยตนเองในโรงเรียน จากนั้นทำการพูดคุยกับลูกว่าใช้เงินไปอย่างไรบ้าง พร้อมสอดแทรกคำสอนลงไป ซึ่งสำคัญ คือ อย่าลืมปรับเพิ่มค่าขนมลูกให้เหมาะสมตามวัย
2. สอนหนู
เด็กรู้จักใช้เงินตั้งแต่เริ่มนับเงินได้ การสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน การได้มาซึ่งเงิน หรือรายได้ จะทำให้ลูกเข้าใจว่าเงินไม่ได้ได้มาฟรี ๆ ต้องทำงานแลกเงิน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการมอบหมายงานบ้านให้เขา แล้วเมื่อเขาทำสำเร็จจะได้รับค่าจ้าง ผลตอบแทนค่าแรงนั้น  ๆ
3. ให้หนู

การให้กระปุกออมสินแก่ลูก จะช่วยให้เขารู้จักกับคำว่า “การออมเงิน” นอกจากจะสอนให้เขารู้จักประหยัด อดออม นำเงินมาหยอดกระปุกเพียงอย่างเดียวแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มการสอน การแบ่งเงินรายได้ของลูกออกเป็นเงินออมอย่างน้อย 10% การปลูกฝังการรักการออมเช่นนี้ จะช่วยให้เขาสามารถจัดการกับรายได้ของตนเองได้ถูกทางในอนาคต

กระปุกออมสิน เครื่องมือช่วยลูกรักการออม
กระปุกออมสิน เครื่องมือช่วยลูกรักการออม
4. ฝึกหนู
เมื่อลูกรู้จักการอดออมจนสามารถมีเงินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหนึ่งแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มการสอนแก่ลูกมากขึ้นด้วยการ หัดให้เขารู้จักลงทุน โดยให้ลูกนำเงินที่หยอดกระปุก เก็บเล็กผสมน้อยมาได้ มาลงทุนเพิ่มเติม เช่น การนำเงินไปฝากธนาคาร แม้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารปัจจุบันจะได้ผลตอบแทนไม่สูง แต่การหัดลูกให้นำเงินเก็บเข้าธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ย ก็นับว่าเป็นการลงทุนในรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
5. เป็นตัวอย่างให้หนู
คำสอนหลายร้อย หลายพันคำ ก็ไม่สู้การลงมือปฎิบัติให้ลูกได้ดูเป็นตัวอย่างที่ดี อยากให้ลูกมีนิสัยทางการเงินอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีนิสัยทางการเงินแบบนั้นเช่นกัน เพราะเด็กจะซึมซับสิ่งที่เห็นได้มากกว่าเพียงแค่ฟังจากคำสั่งสอน
6. เตือนหนู
ขึ้นชือว่าเด็กแล้ว ย่อมมีความยับยั้งชั่งใจไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่คอยเตือนให้เขาระมัดระวังการใช้จ่าย แม้บางครั้งมีความอยาก ต้องการที่จะได้ของเล่นที่มีราคาแพง พ่อแม่ก็ต้องเตือนให้เขารู้ว่าไม่ควรซื้อของที่มีราคาเกินกว่าเงินในกระเป๋าของตนเอง บางครั้งเราอาจใช้วิธีการอื่นในการเตือน หรือสอนลูกได้นอกจากการสั่งสอนด้วยคำพูดเท่านั้น เช่น การพาลูกไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสบ้าง เป็นการปลูกฝังเรื่องคุณค่าของเงินแก่ลูกในทางอ้อม เพราะเมื่อเขาเห็นความขาดแคลน จะทำให้ลูกตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งของ ของเล่น ไม่ซื้อทิ้งซื้อขว้าง รู้จักการให้ และการแบ่งปัน

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

45 ทรงผมสั้นผู้หญิง ตัดเเล้วปัง เก๋ไม่ตกเทรนด์

นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ

ผดร้อนในทารก ป้องกันได้สบายผิว

ส่องความน่ารักลูกดาราเกิดปี 2564 หล่อสวยได้พ่อหรือแม่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up