ซึมเศร้าในเด็ก

ซึมเศร้าในเด็ก ภัยเงียบจากโควิดที่พ่อแม่ควรระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
ซึมเศร้าในเด็ก
ซึมเศร้าในเด็ก

คุณแม่รู้ไหมคะว่า ผลพวงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ทำให้ โลกต้องเกิดวิถีชีวิตใหม่ๆ ต้องมีการเว้นระยะห่างในสังคม ต้องเรียนออนไลน์ ทุกคนต้องอยู่ในวิถีชีวิตที่ไม่คุ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเด็ก ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการ ซึมเศร้าในเด็ก ค่ะ

ซึมเศร้าในเด็ก ภัยเงียบจากโควิดที่พ่อแม่ควรระวัง

การต้องอยู่ในวิถี New Normal  ห่างไกลจากการเข้าสังคม ส่งผลกระทบต่อเด็กจำนวนมากวิตกกังวลการเรียนออนไลน์ที่บ้าน ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลานาน ใกล้ชิดกับพ่อแม่มากกว่าปกติ ทำให้เด็กจำนวนมากปรับตัวไม่ได้จนอยู่ในภาวะความเครียด บางคนถึงกับไม่อยากเรียนหนังสือ หลายคนเกิดอาการ ซึมเศร้าในเด็ก ค่ะ

ซึมเศร้าในเด็ก สุขภาพจิตเด็กแย่ลงกว่า 40% ช่วงโควิด

มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 กับ เด็กกว่า 80,000 คนทั่วโลก ในช่วงอายุระหว่าง  4-17 ปี พบว่า ความแข็งแรงของสุขภาพจิตในเยาวชนลดลงกว่า 40%

นอกจากนี้ผลการประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยที่อายุต่ำกว่า 20 ปีจำนวน 183,974 คนที่เข้ามาประเมินสุขภาพจิตตนเองผ่านแอปลิเคชั่น Mental Health Check-in ของกรมสุขภาพจิตพบว่า ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง, ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 22 มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย

ซึมเศร้าในเด็ก
โควิด – 19 ส่งผลให้เกิดซึมเศร้าในเด็ก

โควิด – 19  ทำเด็กซึมเศร้าได้อย่างไร

อาการซึมเศร้าในเด็กที่มาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มีสาเหตุมาจาก

  • ปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปจากการเจ็บป่วยของคนในบ้าน
  • การเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ซึ่งเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกทักษะทางสังคม เด็กบางรายจะรู้สึกวิตกกังวลและมีภาวะซึมเศร้า
  • การงดกิจกรรมนอกบ้าน ทำให้ต้องอุดอู้อยู่ในบ้าน
  • พ่อแม่ที่ทำงานที่บ้านเครียดจัด เพราะทุกอย่างกดดัน ลูกก็ซึมซับความเครียดไปด้วย
  • ความเครียดจากเรียนออนไลน์ ที่เด็กถูกบังคับให้นั่งหน้าจอเป็นเวลานาน
  • รู้สึกเหนื่อยล้า มีการบ้านมาก และส่งครูด้วยวิธีการที่ต่างไปจากเดิม หากเด็กต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ก็ทำได้ยากกว่าการเรียนที่โรงเรียน ยิ่งทำให้เกิดความเครียด
  • รูปแบบการเรียนออนไลน์ทำให้พลังจดจ่อจำกัด เด็กจะว่อกแว่ก ขาดสมาธิ
  • เด็กจำนวนหนึ่งปรับตัวกับการเรียนรูปแบบใหม่ไม่ได้ จนเกิดผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการได้หลายด้าน ก่อให้เกิดความเครียดและวิตกกังวลตามมา
  • เด็กที่ต้องสอบเข้า ม.1, ม.4 จะมีความเครียดมากขึ้น เพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับการสอบ การวัดและประเมินผลที่จะต้องนำผลสอบไปใช้
  • ผลกระทบที่มีต่อผู้ปกครองและครอบครัวก็ทำให้การเลี้ยงดูทำได้ไม่เต็มศักยภาพ ไม่สามารถใช้เวลาที่มีคุณภาพกับเด็กได้เพียงพอ

หากลูกเป็นวัยรุ่นนั้น พบว่าจะมีความเครียดสูงมากขึ้น ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับซึมซับความเครียดจากผู้ปกครอง และอาจรวมถึงเจอปัญหาอื่น ๆ ในครอบครัว จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายในบางรายอีกด้วยค่ะ

 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหากเด็กมีอาการซึมเศร้า

หากลูกมีความเสี่ยงมีอาการซึมเศร้า คุณแม่สามารถสังเกตสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ดังต่อไปนี้นะคะ

วัย 0-5 ปี

– ติดพ่อแม่หรือผู้ดูแลมาก

– พฤติกรรมถดถอยไปจากช่วงวัยปกติ เช่น ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน

– เปลี่ยนพฤติกรรมการกินการนอน

– กลัวความมืดหรือกลัวในสิ่งที่ไม่เคยกลัวมาก่อน

– ร้องไห้งอแงและหงุดหงิด

– หยุดพูด

– ไม่เล่นหรือเล่นแค่อย่างซ้ำ ๆ

วัย 6-12 ปี

– หงุดหงิดหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว

– ฝันร้าย

– พูดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ

– แยกตัวไม่เข้าสังคมหรือไม่อยากรวมกลุ่ม

– ไม่อยากไปโรงเรียน

– รู้สึกและแสดงออกถึงความกลัว

– ไม่จดจ่อ ไม่มีสมาธิ

ในสถานการณ์วิกฤต เด็ก ๆ จะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจเมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต ในรูปแบบแตกต่างกันไป อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือไม่จดจ่อ เป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยมากขึ้น ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นสังเกตลูกอย่างสม่ำเสมอ

ซึมเศร้าในเด็ก
การเรียนออนไลน์ ส่งผลให้เด็กเครียด นำมาสู่อาการซึมเศร้า

การดูแลไม่ให้เกิดปัญหาซึมเศร้าในเด็ก

  • คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรม และวิถีชีวิตในแต่ละวันของลูกแบบห่วงอยู่ห่างๆ
  • คุณแม่ควรจัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันร่วมกับลูก ทั้งช่วงการเรียน การรับประทานอาหาร ช่วงทำงานบ้าน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย หากเป็นเด็กโตอาจให้จัดเอง โดยพ่อแม่คอยดูแล
  • ให้ลูกพักจากหน้าจอเป็นระยะ ๆ ไปทำกิจกรรมอื่น
  • พยายามใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ พยายามสื่อสารสร้างความรู้สึกเชิงบวกในครอบครัว ควรใช้เวลาพูดคุยซึ่งกันและกัน
  • พ่อแม่ควรหาวิธีคลายเครียด พูดคุยกับลูก
  • อย่าอยู่ร่วมกันหรือนั่งด้วยกันแต่ต่างคนต่างอยู่กับโทรศัพท์มือถือ
  • คุณแม่สอนให้ลูกมีความยืดหยุ่น เพราะความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์
  • ควรทำให้ลูกเรียนรู้ว่าทุกเรื่องมีทางออกเสมอ ต้องไม่ยึดติดหรือคิดว่าชีวิตหมดหนทาง

อาการซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไปแล้ว คุณแม่และครอบครัวต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้เด็กได้ใช้ชีวิตเรียนในสถานการณ์ New Normal อย่างมีความสุข ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อผ่อนคลายกายและใจบ้าง เพื่อให้เด็กๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงที่ต้องเผชิญกับวิกฤตนี้นะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
Springnews, กรมสุขภาพจิต , MGR Online , สสส. , โรงพยาบาลพญาไท 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิจัยชี้! เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต เสี่ยงเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า

4 ไอเดีย กิจกรรมยามว่างกับลูก ช่วงโควิด โดยพ่อเอก

แนะนำ! กิจกรรมวันหยุด อิ่ม สนุก ถูกใจทั้งครอบครัว

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up