ทารกป่วย

10 เคล็ดลับช่วยไม่ให้ ทารกป่วย เพิ่มภูมิคุ้มกันลูกน้อย

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกป่วย
ทารกป่วย

แม่จ๋า!! อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองด้วยนะ

ใส่ใจดูแลลูกน้อยอย่างรอบคอบแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวคุณแม่เองด้วย ดูแลสุขภาพร่างกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมรับมือถึงแม้ลูกอ่อนจะตื่นทุก ๆ 2 ชั่วโมง คุณแม่ก็ควรจะพยายามนอนให้พอ  เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคที่ติดต่อสู่ลูกได้

 

ทารกป่วย ลูกไม่สบาย
ทารกป่วย ลูกไม่สบาย

สัญญาณเตือน!! ทารกป่วย แบบนี้ ไม่ดีแน่

เมื่อเราไม่สามารถห้ามอาการป่วย ไม่สามารถหยุดเชื้อโรคได้ และแม้ว่าเราจะทำตามเคล็ดลับสุขภาพดีดังกล่าวข้างต้นอย่างไร ก็ยังคงพบว่า การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่ห้ามได้ยากยิ่ง เมื่อลูกน้อยของคุณป่วย อาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนให้ระวัง ทารกป่วยแบบนี้ไม่ดีแน่

  • ซึม

เด็กเล็กๆ จะมีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใหม่ๆ รอบตัวโดยธรรมชาติ ทำให้ซุกซนร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ถ้าเมื่อไรที่ลูกซึมผิดปกติ ไม่เล่น ไม่สนใจสิ่งรอบตัวเหมือนอย่างเคย เอาแต่นอนอย่างเดียว นั่นก็เป็นสัญญาว่า ลูกของคุณมีอาการผิดปกติแล้ว

  • เบื่ออาหาร หรือไม่ยอมดูดนม

 ระบบลำไส้หรือระบบขับถ่ายของเจ้าตัวน้อยอาจทำงานผิดปกติอยู่ ทำให้ ลูกไม่มีการดูดนม กินข้าว ขนม หรืออาหารเสริม หรือกินแล้วแหวะ อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระออกมาแบบผิดปกติ

  •  ลักษณะการดูดนมเปลี่ยนไป

การดูดนมก็สามารถบอกได้เช่นกันว่าลูกกำลังป่วยอยู่หรือไม่ โดยปกติเด็กทารกจะใช้เวลาดูดนมไม่เกิน 30 นาทีแล้วหลับ ก่อนจะตื่นขึ้นมาดูดนมในครั้งต่อไป หากผิดไปจากเดิม เช่น ดูดนมได้น้อยลง ซึม ร้องไห้งอแง หรือใช้เวลาดูดนมนานกว่าปกติ หรือดูดนมแล้วมีอาการหอบ ก็เป็นไปได้ว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ควรรีบพาไปพบแพทย์

  • กระสับกระส่ายงอแง

จากเด็กที่เคยอารมณ์ดี ยิ้มง่าย ร่าเริง จู่ ๆ ก็กลับงอแง ร้องก่อกวนไม่ยอมหยุด หรือเสียงร้องผิดไปจากเดิม คุณพ่อคุณแม่ต้องหาสาเหตุที่เจ้าตัวน้อยร้องให้แน่ชัด เพราะลูกของคุณอาจจะรู้สึกไม่สบายตัว ปวดท้อง หรือหายใจไม่สะดวกอยู่ก็ได้

  •  มีไข้

อุณหภูมิปกติของเด็กทารกจะอยู่ที่ 36.5 – 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าวัดอุณหภูมิได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ก็แสดงว่าเจ้าตัวน้อยของคุณมีไข้แล้ว และมักมีอาการร่วม เช่น ซึม ไม่ยอมดูดนม กระสับกระส่าย หรือร้องตลอดเวลา ให้รีบเช็ดตัวลดไข้ทันที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพราะลูกอาจชักได้

สัญญาณเตือนอันตราย เมื่อ ทารกป่วย
สัญญาณเตือนอันตราย เมื่อ ทารกป่วย
  • อาเจียน

การสำรอก หรือแหวะนมออกมา เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ปกติในเด็กทารก เพราะการกินนมจำนวนมากอาจทำให้แหวะนมได้ แต่ถ้าลูกของคุณอาเจียนทุกครั้งหลังกินนม อาเจียนมากกว่าห้าครั้งต่อวัน หรือไอหลังจากกินนม ก็เป็นไปได้ว่าระบบทางเดินอาหารมีอาการผิดปกติ หรือเกิดการติดเชื้อขึ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบแพทย์

  • สะดือมีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือเลือดออก

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดสะดือให้ลูกทุกครั้งหลังอาบน้ำ และหลังอุจจาระปัสสาวะ ไม่ใช้แป้งโรยบริเวณสะดือ หากสะดือของเจ้าตัวน้อยมีกลิ่นเหม็น มีหนอง เลือดออก หรือเกิดการอักเสบ ควรรีบพาไปพบแพทย์

  • ตัวเหลืองผิดปกติ

เด็กแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลืองสัปดาห์แรกหลังคลอด เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงและมีสารเหลืองออกมา แต่กำจัดสารเหลืองได้ช้าเนื่องจากการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดภาวะตัวเหลือง ถ้าลูกน้อยของคุณสีผิวเหลืองมากจนคล้ายขมิ้น หรือมีอาการเหลืองนานกว่า 14 วัน โดยเฉพาะในเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะลูกของคุณอาจมีอาการผิดปกติ ชักเกร็ง และพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติได้

  • การขับถ่ายผิดปกติ

ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย ท้องผูก หรือท้องอืด และผายลมบ่อย ร่วมกับมีไข้ งอแง ไม่ถ่าย ไม่ผายลมเลยนาน 2-3 วัน หรือถ่ายอุจจาระมากกว่า 1 ครั้งหลังกินนมแต่ละรอบ มีอุจจาระเหลวปนน้ำ หรือมีมูกเลือดปน อุจจาระมีกลิ่นแรงกว่าปกติหรืออาเจียน ก็เป็นสัญญาณว่า ลูกน้อยของคุณอาจมีปัญหาในระบบการย่อยอาหารที่รุนแรง และควรรีบพาไปพบแพทย์

  • เสียงลมหายใจผิดปกติ

หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง หรือหายใจถี่มากหรือไม่ อาการเหล่านี้บ่งบอกว่า ลูกกำลังหายใจได้ไม่สะดวก และอาจมีสิ่งติดขวางทางเดินหายใจอยู่ ให้รีบตรวจดูคอและจมูกของลูก หากไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ลูกก็ยังหายใจไม่ปกติ ควรปรึกษาแพทย์

สัญญาณเตือนหากพบรีบพาลูกไปหาหมอ
สัญญาณเตือนหากพบรีบพาลูกไปหาหมอ

การรักษาให้ลูกน้อยห่างไกลโรค ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เจ้าตัวน้อย กับเคล็ดลับที่เราได้แนะนำไปแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยาก สามารถทำให้กับลูกน้อยได้เลย แต่ความรู้ การหมั่นสังเกตที่จำเป็นต้องใช้ในยามลูกป่วยก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน หากพบว่าลูกมีสัญญาณเตือนแบบด้านบนแล้วละก็ อย่ามัวนิ่งนอนใจ รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยละเอียดต่อไป การรู้ถึงโรคได้เร็ว ยังเป็นการช่วยลดความทรมานจากการป่วยของทารกได้ดีอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.babimild.com

ภาพ: Shutterstock

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สอนลูก การใช้เงินอย่างฉลาด สอนอย่างไรโตไปไม่ขัดสน

ไม่อยากให้คนอื่นอุ้มลูก กับ 3 เทคนิครักษาน้ำใจคน

ระวัง! อันตรายของ ยาแก้ไอเด็ก ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูก

ฝันว่ามีลูกผู้หญิง เลขเด็ดพร้อมคำทำนาย ชัดๆ ตรงๆ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up