การใช้เงินอย่างฉลาด สอนลูกเรื่องเงิน

สอนลูก การใช้เงินอย่างฉลาด สอนอย่างไรโตไปไม่ขัดสน

Alternative Textaccount_circle
event
การใช้เงินอย่างฉลาด สอนลูกเรื่องเงิน
การใช้เงินอย่างฉลาด สอนลูกเรื่องเงิน

การใช้เงินอย่างฉลาด เป็นเรื่องที่พ่อแม่สอนลูกได้ตั้งแต่ยังเด็ก หากเขาสนใจหรือเราจูงใจลูกได้ด้วยการเล่นที่ทั้งสนุก ได้เรียนรู้เรื่องการเงิน

สอนลูก การใช้เงินอย่างฉลาด สอนอย่างไรโตไปไม่ขัดสน!!

การสอนลูกเรื่องนิสัยการใช้เงินที่ดีคืองานของเราในฐานะพ่อแม่ หากเราสอนแนวคิดเรื่องเงินขั้นพื้นฐานแก่พวกเขาตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะง่ายกว่าสำหรับพวกเขาที่จะเข้าใจแนวคิดทางการเงินขั้นสูงในภายหลัง เช่น วิธีการใช้บัตรเครดิต บัญชีออมทรัพย์ และบัตรเดบิต เป็นต้น

การสอนลูกเรื่องเงิน การใช้เงินอย่างฉลาด ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก อย่างที่หลาย ๆ คนคิด วิธีที่ง่ายและสนุกในการสอนเรื่อง การเงิน กับเด็กเช่นนั้นคือการเล่น จัดสรรเวลาทุกสัปดาห์เพื่อเล่นกับลูกของคุณ และสอนพวกเขาเกี่ยวกับเงิน มีหลายวิธีในการเล่น ตั้งแต่เกมกระดานไปจนถึงการเล่นที่สร้างสรรค์ เลือกวิธีที่คุณชอบ และสนุกไปกับมัน เมื่อคุณเล่นเกมการเงินกับลูกของคุณ คุณกำลังให้การศึกษาทางการเงินตลอดชีวิต

สอนลูกเรื่องเงิน การใช้เงินอย่างฉลาด
สอนลูกเรื่องเงิน การใช้เงินอย่างฉลาด

สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับหมอประเสริฐ !!

ในบทความนี้ขออนุญาตหยิบหยกบทความของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่กรุณาแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการสอนลูกเรื่องเงินมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มหาวิธีสอนเรื่องการเงินให้กับลูก ดังนี้

Q: สอนลูกใช้เงินให้เป็น ควรสอนตอนอายุเท่าไหร่ สอนอะไร และอย่างไร

เริ่มสอนได้ตั้งแต่ลูกเริ่มถือเงินไปโรงเรียนเองครับ พ่อแม่ควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ส่วนตัวผมกำหนดเป้าหมายจะสอนลูกว่า “ในแต่ละวัน เขามีเงินเท่านั้น เขาไม่มีสิทธิใช้เงินมากกว่านี้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม”

พอกำหนดเป้าหมายแล้วก็คำนวณงบประมาณว่า วันหนึ่งๆ ลูกต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง ค่าข้าวกลางวัน ค่าขนม ตกลงกันให้ชัดว่า ลูกจะซื้อขนมได้วันละกี่บาท และต้องตั้งกฎกติกาหลักๆ ได้แก่

  1. ใครเป็นคนจ่ายเงิน เช่น ถ้าได้เงินประจำวันจากแม่แล้ว ก็ไม่ควรไปอ้อนขอพ่อเพิ่ม
  2. ไม่มีสิทธิ์ขอเพิ่ม ลูกต้องรู้จักบริหารชีวิตด้วยเงินในงบประมาณที่ได้รับ ถ้าทำเงินหายก็ต้องรับผิดชอบเอง
  3. ควรใช้เงินให้ถูกต้อง ถ้าเป็นเงินสำหรับซื้อข้าวกลางวัน ก็ควรนำไปซื้ออาหารที่มีประโยชน์กิน ไม่ใช่อดข้าวเพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของเล่นหรือขนม
  4. ให้น้อยดีกว่าให้มาก การให้เงินน้อย ดีกว่าให้เงินมากจนเหลือ ‘เผื่อ’ เพราะเมื่อมีเงินมากเกินความจำเป็น เด็กก็มีโอกาสที่จะควบคุมตนเองไม่ได้ และนำเงินไปใช้ในทางที่ผิด
  5. รู้จักเก็บออม เปิดโอกาสให้ลูกจัดการเงินที่เหลือเก็บในแต่ละวันตามที่เขาต้องการ ไม่ว่าจะเก็บไว้ซื้อของที่อยากได้, เอามาฝากพ่อแม่(ควรจดบัญชีให้เขาดูอย่างชัดเจน) หรือนำเงินไปฝากธนาคารในชื่อของเขาเอง(แต่ไม่ควรทำบัตรเอทีเอ็ม)

ส่วนจะให้เงินลูกเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนนั้น ต้องดูจากความสามารถในการบริหารเงินของลูก ถ้าเขาทนแรงยั่วยวนของขนม เกม ฯลฯ ได้น้อย เงินต่อวันไม่เคยเหลือ ก็ไม่ต้องมาพูดกันเรื่องขอเงินรายสัปดาห์ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยแนะนำใครให้เงินเด็กมัธยมเป็นรายเดือนครับ

บทความโดย: นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ลูกยังเล็ก สอนเรื่องเงินได้จริงหรือ??

อย่าเพิ่งไปคิดเอาเสียเองว่า เด็กจะไม่สามารถรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงิน เราสามารถเริ่มต้นสอนลูกเรื่องเงินได้เร็วที่สุดเท่าที่ลูกของคุณเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม แต่อย่าใช้วิธีการบังคับให้เรียนรู้จนกว่าลูกของคุณจะพร้อม

สอนลูกเรื่องเงิน ได้ตั้งแต่ยังเด็ก
สอนลูกเรื่องเงิน ได้ตั้งแต่ยังเด็ก

6 วิธีสอนเด็กก่อนวัยเรียนเกี่ยวกับเงินอย่างไร?

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับทั่วไป 6 ข้อสำหรับวิธีสอนเรื่องเงินให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ที่จะช่วยให้เขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น และเป็นพื้นฐานของการสอน การใช้งินอย่างฉลาด ได้ในวัยต่อ ๆ ไป

1. สอนให้รู้จักมูลค่าของเงิน

การเรียนรู้วิธีการซื้อของในร้านค้าเป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านการเล่นบทบาทสมมติ ตลอดจนการซื้อและจ่ายจริงเป็นเงินสด การเล่นเหล่านี้จะทำให้เด็ก ๆ เริ่มเรียนรู้คุณค่าของเหรียญ และธนบัตรรวมไปถึงราคาของสิ่งของต่าง ๆ แต่อย่าไปจดจ่ออยู่กับการจำมูลค่าของเหรียญ และธนบัตรมากเกินไป จะทำให้เด็กเบื่อได้ แค่พูดต่อไปว่า “ราคาเท่าไหร่” และ “มาดูกันว่าเราพอไหม” เป็นต้น หากฝึกฝนบ่อย ๆ ลูกก็จะสามารถจำมูลค่าของเงินได้เร็วขึ้นตามลำดับ ๆ ไป

ตัวอย่างการสอนมูลค่าของเงิน

  • เอาขนมที่มูลค่าต่างกัน เช่น ชิ้นเล็ก ราคา 5 บาท ชิ้นใหญ่ 10 บาท แล้วฝึกให้ลูกหยิบเงินให้ตรงกับราคา
  • เมื่อลูกโตขึ้น อาจฝึกให้เขาหยิบเงินให้แม่ 27 บาท โดยให้เหรียญและธนบัตรแก่เขา
  • เมื่อเขาบวกลบเลขได้ ให้เขาหยิบธนบัตร 20 บาท ถามเขาว่าถ้าซื้อของ 15 บาท แม่ค้าต้องทอนกี่บาท หรือถ้าเขามีเงิน 5 บาท แม่ให้เพิ่ม 20 บาท เขาจะมีเงินกี่บาท

2. สอนรูปแบบต่างๆ ของเงิน

รูปแบบของเงินในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างมาก มีรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย ไม่เฉพาะเพียงแค่เงินในรูปแบบที่จับต้องได้ หากเราสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับเงินจริงในรูปของเหรียญและธนบัตร พวกเขาจะรู้สึกสับสนที่จะดูเราทำธุรกรรมออนไลน์หรือชำระค่าสินค้าด้วยการรูดบัตรเครดิต แม้จะมีความซับซ้อนในการอธิบายแนวคิดต่าง ๆ เช่น การทำงานของเงินในรูปแบบบัตรเครดิต หรือโมบายแบงกิ้ง แต่การให้เด็กได้ลองเล่นบทบาทสมมติในการฝากเงินเข้าแบงก์ แล้วใช้จ่ายผ่านบัตร ก็จะช่วยให้เราอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของรูปแบบต่าง ๆ ของเงินได้ง่ายขึ้น

3. สอนลูกเกี่ยวกับนิสัยการใช้เงินที่ดี

อีกแง่มุมหนึ่งของการสอนลูกเรื่องเงิน คือนิสัยในการใช้เงิน โดยเป็นเรื่องที่ควรเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย คุณสามารถพัฒนานิสัยที่ดีต่อสุขภาพทางการเงินของเขา เพื่อให้ลูกได้เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต พวกเขาสามารถเรียนรู้ที่จะประหยัดเงินส่วนตัว จัดลำดับความสำคัญของความต้องการ ในการใช้เงินด้วยตนเอง

สอนลูกเรื่องเงิน ผ่านการเล่นเกมออนไลน์
สอนลูกเรื่องเงิน ผ่านการเล่นเกมออนไลน์

4. สอนถึงค่านิยมที่ดีของสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน

การสอนให้ลูกเห็นคุณค่าของเงินเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมากเกินไปจะทำให้เขาบูชาเงินได้ การสอนให้ลูกเห็นถึงค่านิยมทางสังคมที่ดี ที่เราสามารถใช้เงินเป็นปัจจัยช่วยให้สำเร็จได้ เช่น การบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การไม่สุรุ่ยสุร่ายพัฒนานิสัยแห่งความกตัญญู การปฏิบัติต่อผู้คนทุกฐานะทางเศรษฐกิจด้วยความเคารพ เป็นต้น

5. สอนวิธีหาเงิน

สอนเด็กๆ ถึงวิธีหาเลี้ยงชีพของผู้คนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย คุณทำงานแล้วคุณจะได้เงิน และมีรายได้ เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ว่าอาชีพต่างๆ จะได้รับค่าตอบแทนต่างกัน และระดับการศึกษาอาจมีผลต่อค่าตอบแทนที่ได้รับ

พวกเขายังต้องเรียนรู้ด้วยว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จ ย่อมมีภูมิหลังหลากหลายในการทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลวมาก่อน

6. สอนแนวคิดในแนวทางปฏิบัติ

แม้ว่าคุณจะสามารถและควรพูดคุยกับบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับแนวคิดและแนวคิดเกี่ยวกับเงินทั้งหมดเหล่านี้ แต่หากเป็นเพียงคำพร่ำสอน ย่อมทำให้ลูกเกิดความเข้าใจได้ยาก นอกจากการพูดคุยกับพวกเขาแล้ว การให้ประสบการณ์ในชีวิตจริง และโอกาสในการเข้าใจแนวคิดของเงินในทางปฎิบัติ เมื่อโตขึ้นจะสามารถเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนมากขึ้นได้

อ่านต่อ>> สอนลูก การใช้เงินอย่างฉลาด ผ่านการเล่น!! คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up