สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร

สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร ให้เก่งตั้งแต่เด็ก!

event
สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร
สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : matichon tv

ทั้งนี้ผู้เป็นแม่ยังกล่าวต่อว่า ปกติตนเองและสามีจะทำงานในเวลากลางวัน จึงพาน้องภูเขาไปฝากไว้ให้พี่สาว (ป้า) ของตนเป็นผู้ดูแลเป็นแบบนี้ตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งเมื่อไปฝากพี่สาวก็จะเปิดการ์ตูนให้ดู น้องภูเขาก็ดูแต่ที่ดูสนใจมากก็จะเป็นการ์ตูนภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เป็นป้าเห็นว่าหลานชอบภาษาอังกฤษ ก็สอนอ่านและท่อง A–Z ให้ฟังตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน และสอนคำศัพท์โดยใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณบ้าน และบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีรูปการ์ตูน และสัตว์ต่างๆ เมื่อน้องภูเขาเริ่มโตขึ้น ตนเองจึงได้ซื้อเครื่องแท็บเล็ตมาให้หลานได้เปิดอ่านคำศัพท์ในยูทูบ ซึ่งสังเกตได้ว่า น้องภูเขา ต่างจากเด็กทั่วไป ไม่เล่นเกม แต่จะพยายามเปิดอ่านคำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ และสนใจดูเป็นอย่างมาก จนตอนเข้าเรียน ที่น้องภูเขาสนใจและพูดจาสื่อสารเป็นประโยคกับครูต่างชาติและคนอื่นได้อย่างชัดเจน

โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ครูต่างชาติอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ น้องภูเขาก็จะตอบและพูดเป็นภาษาอังกฤษกลับมา อย่างคล่องแคล่ว สำเนียงชัดเจน ซึ่งทั้งทางโรงเรียนและทางผู้ปกครองก็จะช่วยกันสนับสนุนและส่งเสริมให้น้องภูเขาในสิ่งที่ชอบต่อไป

ด้วยเหตุนี้เองต่างก็มีพ่อแม่หลายคน อยากให้ลูกเก่งภาษาโดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะ สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เก่งเลย ได้แค่งูๆ ปลาๆ ตามที่เรียนมาสมัยก่อน! ดังนั้นทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงมีวิธีสอนลูกน้อยให้พูดภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว ตั้งแต่เด็กๆ มาฝากค่ะ

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

อายุแรกเกิด-7 ปี เวลาทองในการฝึกภาษาอังกฤษให้ลูกน้อย

ดร.แพทริเซีย คัห์ล (Dr.Patricia Kuhl) แห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลจากงานวิจัยว่า “มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้ดีที่สุดในช่วงอายุแรกเกิด-7ปี” เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้เวลาทองนี้ผ่านไป อาจต้องใช่ความพยายามเคี่ยวเข็ญมากขึ้น แต่ถ้าคุณเริ่มฝึกลูกตั้งแต่เวลาทองนี้ ลูกน้อยก็จะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง โดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย

การเรียนภาษาที่ 2 ช่วยให้เด็กมีความคิดที่ว่องไว คุณพ่อ คุณแม่ สามารถฝึกลูกได้ ดังนี้

  1. ในครรภ์คุณแม่ ลูกน้อยสามารถได้ยินเสียงพูดของแม่ได้ตั้งแต่ 6 เดือน เรียนรู้ และจำจังหวะสำเนียงภาษาของคุณแม่ได้
  2. เมื่อคลอด ลูกน้อยจะสามารถแยกความแตกต่างของภาษา ถ้าคุณแม่พูด 2 ภาษา ลูกน้อยก็จะจำทั้ง 2 ภาษา
  3. เด็กสองภาษามีความสามารถเห็นความแตกต่างของภาพหรือตัวอักษรได้ดีกว่าเด็กภาษาเดียวหลังอายุ 8 เดือนไปแล้ว
  4. เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 9 เดือน – 1 ขวบ หูจะจับสำเนียงภาษาได้ดีเยี่ยม และจะลดลงเมื่ออายุ 6 ขวบ

 

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากเหนื่อยใจแต่ก็อยากให้ลูกวัย 1-3 ขวบรู้จักพยัญชนะภาษาอังกฤษแบบจริงจัง  ไม่ใช่ท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง  (หรือต้องไล่ตั้งแต่ A ใหม่อีกหน)  ลองวิธีนี้กันดูค่ะ

  • เปลี่ยนจังหวะ  เด็กๆ จดจำผ่านเสียงเพลงได้ดีกว่า  เปลี่ยนทำนองเพลงภาษาอังกฤษของลูกเป็นจังหวะใหม่ๆ  เร็วขึ้น  ช้าลง ร้องแบบกระชากเสียง  แบบกระซิบๆ  หรือร้องไปด้วยกระโดด ปรบมือไปด้วย  คุณจะได้ไม่รู้สึกเบื่อมากนัก  ลูกเองก็สนุกไปด้วย รับรอง  ร้องได้เป็นรอบที่ 10
  • ทำท่าทางเลียนแบบตัวอักษร วิธีนี้ถ้าผลัดกันเล่น 2 คนจะขำเป็นที่สุด  ยกตัวอย่าง  ให้แข่งกันทำท่าทางเหมือนตัวพยัญชนะ  เช่น X ให้ไขว้มือเป็นรูปกากบาท  หรือ ตัว  T  ให้ยืนกางแขนออกตรงๆ ผลัดกันเลือกว่าจะให้ทำเป็นตัวไหน(เลือกตัวที่ทำแล้วดูออกง่ายๆ  อย่ายาก)  แล้วคุณจะได้เห็นลูกสร้างสรรค์ตัวอักษรใหม่ๆ ด้วยท่าทางตลกๆ
  • สัปดาห์ตัว C  ลองเล่นกับลูกสิ ว่าสัปดาห์นี้เราจะทำกิจกรรมที่ขึ้นต้นด้วยตัว C  เช่น  ทำคุกกี้(cookies)  วาดรูปสีเทียน(crayon)หรืออ่านหนังสือนิทานที่เกี่ยวกับแมว (cat)  เป็นต้น  หรือดัดแปลงให้เป็นกิจกรรมที่ออกเสียง ซ โซ่  แทนก็ได้  เช่น  ทำตัวซุ่มซ่าม  ช่วยแม่ซักผ้า  ซ้อมร้องเพลงโรงเรียน
  • ตัวอักษรซ่อนหา  เล่นเกมหาตัวอักษรภาษาอังกฤษของเล่น(พลาสติก) ที่ซ่อนอยู่ในบ้าน  ใครหามาเรียงเป็นชื่อเล่นได้ก่อน  คนนั้นชนะ  (ก่อนเล่นเกมนี้ลูกต้องรู้ก่อนนะว่าชื่อตัวเองเขียนอย่างไร) วางไว้ในที่เด่นๆ หน่อย  และปล่อยให้ลูกชนะไง  คราวหน้าเปลี่ยนเป็นคำอื่นบ้าง
  • ทำหนังสือภาพตัวอักษรด้วยกัน  ตัดภาพจากนิตยสารมาทำเป็นหนังสือให้ลูก  เช่น  ตัวอักษร A แทนที่จะเป็นรูปมดแบบที่โรงเรียนสอน  คุณก็หารูปอื่นๆที่ขึ้นต้นด้วยเอมาใส่แทน  เช่น  รูปคุณป้าแอ๊ว  (aunt)  แอปเปิ้ล (apple)  ตัว B ก็เป็นรูปผีเสื้อ(butterfly)  ภาพงานวันเกิด (birthday)  เป็นต้น
  • อาหารพาเพลิน  เอาขนมปังมาปั้นเป็นตัวอักษร  เรียงผักเป็นตัวหนังสือ  ทำอาหารด้วยเส้นพาสต้าที่เป็นตัวหนังสือ  ลูกใครที่ (ช่าง)เลือกกินเหลือเกิน  เห็นอาหารทำเป็นชื่อตัวเอง  อาจขอเบิ้ลหม่ำอีกจานก็ได้นะ
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.khaosod.co.th , www.thairath.co.th และ www.matichon.co.th

สอนภาษาอังกฤษลูกอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนภาษาอังกฤษลูกน้อยแบบง่ายๆ ก่อนเข้าเรียนได้ที่บ้าน โดยการฝึกตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งมีหลักง่ายๆ ดังนี้

  • การเรียนภาษา ก็เหมือนกิ้งก่า ซึ่งต้องเปลี่ยนสภาวะแวดล้อม life style เพื่อรองรับทักษะใหม่ คุณพ่อคุณแม่ที่ภาษาไม่เก่งจึงไม่ต้องกลัว  เพียงแค่เราเตรียมการเรียนรู้ภาษาให้ลูก เราก็จะค่อยๆ เก่งขึ้นไปพร้อมหับลูกเอง
  • สำเนียงไม่ต้องเป๊ะ เพราะคนที่สำเนียงดีต้องโตที่ต่างประเทศ คุณพ่อคุณมาสามารถสอนให้น้องออกเสียงคำให้ถูกต้องก็พอ แต่ทั้งนี้หากอยากให้สอนคำศัพท์ลูก หรือพูดประโยคใดๆกับลูก ต้องเช็คการออกเสียงให้ชัวร์ก่อน เช็คง่ายได้ที่ https://translate.google.co.th/ เพียงพิมพ์คำภาษาอังกฤษลงไปเลย แล้วกดที่รูปลำโพง กูเกิ้ลแปลภาษาก็จะอ่านให้ฟังด้วยเลย
  • ลงทุนซื้อคอร์สวีดีโอเด็กเล็ก เพราะคอร์สพวกนี้ถูกสร้างมาเพื่อสอนเด็กเล็กโดยเฉพาะ เพราะอย่างไรก็ดีเด็กฝรั่ง ตอนเกิดมา ก็ไม่รู้ภาษาเหมือนกัน ดังนั้นสำหรับภาษาแล้วเด็กทุกคนเริ่มจากศูนย์ทั้งหมด ถ้าคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกเล็กไปเรียนที่สถาบันสอนภาษาโดยเฉพาะ ก็คงไม่พ้นคอร์สพวกนี้แน่นอน
  • เปิดเพลงภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กให้ลูกหัดฟังบ่อยๆ ซึ่งอาจจะมีเพลงเฉพาะตอนเข้านอน หรือตอนแต่งตัว  และสอนให้ลูกร้องตาม
  • ไม่ควรพูดคำไทย แล้วแปลเป็นอังกฤษ เพราะมันจะฝึกการแปลภาษาสองครั้ง ซึ่งเป็นการฝึกแบบไม่ใช่ธรรมชาติ แนะนำให้ช่วยลูกเล็กเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของแทนคำพูด เช่น  พ่อแม่ชี้เก้าอี้ ก็อย่าพูดว่า “Chair เก้าอี้”  แต่ให้พูดแค่ chair แล้วปล่อยให้สมองของลูกน้อยทำความเข้าใจแทน  และเวลาที่ลูกเห็นเก้าอี้ ก็จะได้นึกถึงคำว่า “chair” ขึ้นมา ไม่ใช่คำว่า “chair เก้าอี้”
  • ให้ดูหนัง Soundtrack ถึงแม้ว่าลูกอาจจะอ่านภาษไทยเพื่อแปล แต่อย่างน้อย ก็จะได้ฝึกการฟังไปด้วย
  • เลือกซื้อหนังสือที่ลูกชอบแต่เป็นภาษาอังกฤษทุกอย่างที่เด็กทำมาจากความชอบ  ลูกชอบอะไรก็ให้ส่งเสริม แต่สิ่งนั้นๆ ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วยทุกครั้ง
  • ห้ามออกคำสั่งให้ท่องคำศัพท์ หรือห้ามตั้งเงื่อนไขว่า ท่องไม่ได้โดนตี หรืออดขนม เพราะจะเป็นการสร้างทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษากับลูกน้อยไปจนโต

การฝึกภาษาอังกฤษกับลูกวัยเรียน 

ข้อดีของการเรียนรู้ภาษาที่สองในวัย 3-5 ขวบก็คือ เด็กๆ ไม่กลัวความผิดพลาด ไม่กลัวพูดผิด แต่กล้าที่จะออกเสียงคำใหม่ๆ โดยไม่คิดมาก สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้และเข้าใจมากๆ คือ การจะเรียนภาษาที่สองหรือวิชาใดๆ ให้ได้ผลดีสำหรับเด็กเล็กแล้วเขาต้องเรียนอย่างมีความสุข ไม่ควรต้องถูกบังคับเรียน ลองดูว่าคุณพ่อคุณแม่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการใช้ภาษาที่สองให้ลูกน้อยอย่างมีความสุขได้อย่างไรบ้าง

1. สนุกด้วยกัน

ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพราะลูกวัยนี้ จะสนุกและตื่นเต้นที่ได้ทำอะไรร่วมกับพ่อแม่ ฟังเพลง ร้องเพลง อ่านนิทานภาษาที่สอง โดยให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือก หากเป็นไปได้ควรเลือกเพลงที่เจ้าของภาษาร้องเอง เป็นเพลงที่เหมาะกับวัยของลูก เขาจะได้ฟังการออกเสียงที่ถูกต้องไปด้วย

2. มีช่วงเวลาของภาษาที่สองประจำบ้าน

เช่น สัปดาห์ละ 2 วันๆ ละ 30 นาทีและใน 30 นาทีก็ทำกิจกรรมที่ใช้ภาษาที่สองเท่านั้น เช่น ดูหนัง ทำอาหาร เรียนคำศัพท์ใหม่ๆ และค่อยๆ เพิ่มจำนวนวัน เป็นต้น

3. ผิดถูกไม่ว่ากัน

ถ้าลูกจะลองพูดบางคำ บางประโยค ก็รับฟัง ช่วยเหลือและชื่นชม ไม่จำเป็นต้องตามแก้ไปทั้งหมด เป็นการขัดจังหวะ หรือรู้สึกว่าพูดไปก็ผิดไปหมด พอรู้สึกไม่สนุกจะพาลไม่อยากพูดไม่อยากใช้ภาษาอีก เพียงแต่บอกลูกว่า ในประโยคที่พูดควรเป็นภาษาเดียวกันหมด ไม่ใช้สองภาษาปะปนกันในประโยคเดียว

4. ใช้ในชีวิตประจำวัน

เขียนคำเรียกข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ ในบ้าน ด้วยภาษาที่สองบนกระดาษสีสวย แปะตามของใช้ต่างๆ จะช่วยให้ลูกเข้าใจตัวอักษรและคุ้นเคยกับภาษาที่สองง่ายขึ้น

จุดประสงค์สำคัญในการสอนภาษา คือ จ้องให้ลูกรู้สึกสนุกกับภาษาอังกฤษ  เมื่อลูกเห็นหนังสือ หรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล  แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน  ทีละนิดๆ และลูกน้อยก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา แล้วเมื่อเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับลูกไปอย่างสิ้นเชิง

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.fmcpenglish.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up