ปฐมพยาบาลงูกัด

ปฐมพยาบาลงูกัด เรื่องควรรู้ช่วงหน้าฝน ทุกนาทีคือชีวิตลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ปฐมพยาบาลงูกัด
ปฐมพยาบาลงูกัด

ปฐมพยาบาลงูกัด อย่างไร??

หากสันนิษฐานได้ว่าลูกถูกงูกัด พ่อแม่ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อชะลอพิษงูกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสิ่งแรกที่ควรทำในการ ปฐมพยาบาลงูกัด คือ การตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ และทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายผู้ที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด เพราะการเคลื่อนไหวมากจะทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น
  2. ล้างแผลด้วยน้ำ และสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าหรือสมุนไพรใด ๆ ทาแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อได้
  3. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ควรใช้ปากดูด หรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม หรือจี้ไฟ
  4. ไม่ควรขันชะเนาะบริเวณที่ถูกงูกัด เนื่องจากไม่ใช่วิธีชะลอพิษงูตามที่เข้าใจกัน การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือด และเน่าตาย ควรคลายความแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว จุดประสงค์เพื่อให้อวัยวะนั้นอยู่นิ่ง ไม่ใช่เป็นการห้ามพิษเข้าสู่หัวใจตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ถูกต้อง
  5. ใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดด้วยการกดแผลโดยตรง ถ้าสามารถใช้แอลกอฮอล์ หรือเบตาดีนทาแผล ช่วยการทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ก็ยิ่งดี
  6. วางอวัยวะส่วนที่ถูกกัดให้ต่ำกว่า หรือระดับเดียวกับหัวใจ
  7. รับประทานยาแก้ปวด หากรู้สึกปวด แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า เป็นต้น
  8. รีบนำส่งผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน ควรศึกษาไว้ก่อนเกิดเหตุว่า โรงพยาบาลไหนมีเซรุ่มงู พร้อมฉีด และใกล้บ้านที่สุด
  9. ไม่จำเป็นต้องนำซากงูมาให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด หากไม่แน่ใจจริง ๆ เนื่องจากอาจจับงูตัวที่อยู่ละแวกนั้นแต่ไม่ใช่งูตัวที่กัดมาแทน ปัจจุบันใช้การดูรอยกัด และลักษณะแผลเพื่อกำหนดการใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดให้เหมาะสม
  10. แต่หากสามารถทราบว่าเป็นงูตัวใด สามารถถ่ายรูปหรือนำซากงูที่ตายแล้วมาด้วย และรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ต่อไป โดยผู้ป่วยจะได้รับเซรุ่มแก้พิษทันทีในกรณีที่ทราบชนิดงู
  11. ให้ระลึกเสมอว่างูที่กัดทุกตัวเป็นงูมีพิษ

    สอนลูกให้รู้จักสัตว์มีพิษ ระวังตัว
    สอนลูกให้รู้จักสัตว์มีพิษ ระวังตัว

โรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงู

  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลพระมงกุฏ
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลพญาไท 2
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  • โรงพยาบาลสำโรง
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • โรงพยาบาลปากน้ำ สมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ พุทธมณฑลสาย 3
  • โรงพยาบาลปทุมเวช
  • โรงพยาบาลปทุมธานี
  • โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี
  • โรงพยาบาลนวนคร
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  • โรงพยาบาลเอกปทุม
  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอล
  • โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
  • โรงพยาบาลระยอง
  • โรงพยาบาลมาบตาพุตร
  • โรงพยาบาลบ้านฉาง
  • โรงพยาบาลสิริกิตติ์
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง
  • โรงพยาบาลมงกุฎระยอง
  • โรงพยาบาลบ้านค่าย
  • โรงพยาบาลแกลง
  • โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ผศ.นพ.ธีระ  กลลดาเรืองไกร  ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล /www.pobpad.com 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เตือนไข้หวัดใหญ่ระบาด!รุนแรงในรอบ 2ปีรีบฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี

ฝนตกระวังงู ในช่องแอร์ เตือนให้ระวัง!!

ตั้งชื่อลูกชาย ตามวันเกิด 2565 เสริมมงคล มั่งคั่ง สุขภาพดี

อุทาหรณ์ใช้อุปกรณ์ อาบน้ำลูก ไม่ได้มาตรฐานอันตราย!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up