เด็กในหลอดแก้ว

จุฬาทำคลอดทายาท เด็กในหลอดแก้ว ชี้คนหลอดแก้วมีลูกได้!

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กในหลอดแก้ว
เด็กในหลอดแก้ว

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วของแต่ละโรงพยาบาลจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามถึงขั้นตอน การเตรียมตัว และค่าใช้จ่าย กับโรงพยาบาลนั้น ๆ ก่อนเสมอ โดยแต่ละโรงพยาบาล จะมีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

  • ฝ่ายหญิงจะได้รับคำแนะนำให้ควบคุมรอบเดือนให้ประจำเดือนมาปกติ จากนั้นแพทย์จะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ ซึ่งต้องฉีดต่อเนื่องเป็นประจำประมาณ 10-12 วัน
  • ตรวจสอบความคืบหน้าของการกระตุ้นการตกไข่ และฉีดฮอร์โมนเข็มสุดท้ายก่อนเก็บไข่ประมาณ 34-38 ชั่วโมง
  • เก็บไข่ โดยแพทย์จะดูดไข่ออกจากช่องคลอด ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ซึ่งระหว่างนั้นแพทย์ก็จะให้ยาสลบหรือยาชาแก่ฝ่ายหญิง
  • แพทย์นำไข่และสเปิร์มที่ได้ไปทำการปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการ พร้อมกับฉีดยาฮอร์โมนให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
  • เมื่อตัวอ่อนมีความแข็งแรงพอแล้ว แพทย์จะนัดเพื่อฉีดตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ivf ขั้นตอน
ขั้นตอนการทำ ivf และความเสี่ยงในการทำ เด็กในหลอดแก้ว

ความเสี่ยงในการทำ เด็กในหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้วอาจมีความเสี่ยงและผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ โดยแพทย์จะคอยดูแลและติดตามผลให้เกิดความเสี่ยงและผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด โดยความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้น มีดังนี้

  1. รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด หายใจลำบากและอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงได้
  2. ตั้งครรภ์นอกมดลูก
  3. เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง ต้องอาศัยกำลังใจจากคนรอบข้างและการบำบัดเป็นหลัก
  4. ได้รับผลข้างเคียงจากยา อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย
  5. เสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก และอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เพราะปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่
  6. เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ เกิดแผลในมดลูกและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ได้
  7. มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหากสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีการถ่ายฝากตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว

ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงจะคลายความกังวลใจไปได้ไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าการทำเด็กหลอดแก้วนั้นไม่ได้อันตราย หรือทำให้ลูกผิดปกติอย่างที่คิด ทั้งนี้ การทำเด็กหลอดแก้วก็อาจเกิดความผิดพลาดและมีความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนทำ และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ทำไงให้ท้อง? 12 ทางลัด ที่คนอยากมีลูกไม่ควรพลาด

อันตรายจากน้ำอัดลม เพียงวันละแก้ว ก็ลดโอกาสติดลูกถึง 33%

อยากมีลูกแต่ไม่มีสามี! วิจัยเผย อนาคตหญิงท้องได้ ไม่ง้อผู้ชาย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up