กินยาถ่ายพยาธิ

มีพยาธิตอนท้อง ถ่ายพยาธิ ได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

Alternative Textaccount_circle
event
กินยาถ่ายพยาธิ
กินยาถ่ายพยาธิ

ถ่ายพยาธิ – โดยปกติแล้ว หากไม่มีความจำเป็น เราคงไม่ต้องกินยาถ่ายพยาธิ แต่สำหรับบางคน ในกรณีที่จำเป็นต้องถ่ายพยาธิ เนื่องจากมีอาการผิดปกติของร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็กำลังตั้งครรภ์อยู่ จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ยา ถ่ายพยาธิ จะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ มีข้อห้าม หรือข้อควรระวัง สำหรับคนท้องหรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันค่ะ

มีพยาธิตอนท้อง ถ่ายพยาธิ ได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

พยาธิ คืออะไร

คือ  ปรสิต ชนิดหนึ่ง ที่ดำรงชีพได้ด้วยการอาศัยอยู่ในร่างกายของคนหรือสัตว์ โดยเข้าสู่ร่างกายของคนได้ตั้งแต่ยังเป็นไข่ พบมากในระบบทางเดินอาหาร  เข้าสู่ร่างกายของคนได้ทางปากจากการที่เราดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่มีพยาธิปนอยู่  หรือแม้แต่พยาธิที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ก็สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ ผ่านทางการสูดลมหายใจ

นอกจากนี้ การสัมผัส สิ่งปฏิกูลจากสัตว์ ตลอดจนจุดสัมผัสที่เสี่ยงที่อาจมีไข่พยาธิติดอยู่ เช่น ลูกบิดประตู ที่รองนั่งชักโครก ก็ทำให้พยาธิเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน เมื่อ พยาธิเข้าสู่ร่างกาย จะฟักตัวและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว  โดยพยาธิเหล่านี้ จะแย่งสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

ชนิดของพยาธิ ที่ทำให้เกิดโรคในคน

  1. นีมาโทดา (Nematodes) จะมีลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องๆ รูปร่างทรงกระบอก หัวท้ายเรียวแหลม เช่น พยาธิไส้เดือนกลม พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด ชนิดที่พบผู้ป่วยในประเทศไทยมากคือ พยาธิเส้นด้าย (เข็มหมุด) ซึ่งผู้ป่วยรับพยาธิได้ง่ายจากการบริโภคอาหารดิบหรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ จากเนื้อสัตว์ และหอยชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังอาจได้รับพยาธิจากการใช้มือที่ไม่สะอาดหรือไม่ได้ล้างมือให้สะอาดหยิบอาหารรับประทาน
  2. พยาธิตัวแบน หรือ พยาธิตัวตืด (Cestodes หรือ Tapeworm) จะมีลำตัวแบน แบ่งเป็นปล้องๆ เช่น พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว เป็นต้นชนิดที่พบผู้ป่วยในประเทศไทยมากคือ พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว ซึ่งผู้ป่วยรับพยาธิได้ง่ายจากการบริโภคอาหารดิบหรือปรุงสุกๆดิบๆ จากเนื้อหมูและเนื้อวัว
  3. พยาธิใบไม้ (Trematodes หรือ Fluke) จะมีลำตัวแบนไม่แบ่งเป็นปล้อง เช่น พยาธิใบไม้ในเลือด พยาธิใบไม้ในตับ ติดต่อได้ง่ายจากการบริโภคอาหารประเภทปลาและสัตว์น้ำจืด ในลักษณะดิบหรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ
กินยาถ่ายพยาธิ
กินยาถ่ายพยาธิ

เตือนภัย! กินผักสด หมูดิบ ต้องระวัง พยาธิตืดหมู ไชยั้วเยี้ยเต็มร่างกาย

พยาธิในผักสด ฝันร้ายของคุณแม่สายคลีน!!

ลูกมีพยาธิ แน่! หากพ่อแม่ปล่อยปละละเลย

อาการเมื่อติดเชื้อพยาธิ

  • มีอาการปวดท้อง หรือ ท้องเสีย
  • รู้สึกหิวบ่อย
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • อาจน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจพบรอยแดงบนผิวหนัง เช่น ที่ขา และเท้า  มีลักษณะเป็นทางเหมือนพยาธิไช
  • รู้สึกคันบริเวณรอบๆ รูทวารหนัก
  • อาจมีพบพยาธิ ปนออกมากับอุจจาระได้

หากสงสัยว่ามีอาการใกล้เคียงกับอาการข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อทำการรักษาต่อไป

กินยาถ่ายพยาธิ
กินยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยา ถ่ายพยาธิ ในหญิงตั้งครรภ์

การใช้ยา ถ่ายพยาธิ อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกจะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยหลังจากการปฏิสนธิประมาณ 18 วัน หัวใจและระบบประสาทของทารกจะเริ่มเจริญเติบโต สร้างแขนขาและตาหลังการปฏิสนธิ 24 วัน และสร้างอวัยวะเพศหลังจากการปฏิสนธิ 37 วัน ซึ่งในระยะที่กล่าวมานี้ หากมียาหรือสารบางชนิดไปกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ ก็จะทำให้อวัยวะนั้น ๆ มีความผิดปกติหรือหยุดการเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณของยาหรือสารที่ได้รับ นอกจากนี้ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีความเสี่ยงอันตราย ต่อทั้งแม่และเด็กในครรภ์ได้

สำหรับกรณีในหญิงตั้งครรภ์ ข้อแนะนำในการใช้ยา ถ่ายพยาธิ ควรเป็นดังนี้

1. หากหญิงตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคพยาธิ ควรเข้ารับการรักษาและใช้ยาถ่ายพยาธิตามดุลพินิจของแพทย์ เพราะอาการของโรคพยาธิขั้นรุนแรงทำให้เกิดโรคโลหิตจางในมารดา และอาจรวมถึงทารกในครรภ์ น้ำหนักตัวของทารกแรกคลอดลดลง และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์

2. ยาที่ใช้ได้ในสตรีมีครรภ์

  • มีเบนดาโซล (Mebendazole)
  • อัลเบนดาโซล (Albendazole)
  • นิโคลซาไมด์ (Niclosamide)
  • ไอเวอร์เมคติน (Ivermectin)

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์หลังจากนั้น สามารถเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ได้ เพื่อแพทย์ตรวจติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์

3. ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์

  • ไพเรนเทล (Pyrantel)
  • พราซิควอนเทล (Praziquantel) 
  • ไดเอทิล คาร์บามาซีน (Diethylcarbamazine)
  • พิเพอร์ราซีน (Piperazine) 

เนื่องจากกลุ่มยาข้างต้น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ แพทย์จะพิจารณาใช้เมื่อจำเป็นและมารดามีอาการรุนแรงจริงๆ จากพยาธิเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ใช้ยา พราซิควอนเทล (Praziquantel) ใช้เพื่อรักษาโรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis) เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อ

หญิงมีครรภ์ ควรลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้พยาธิเข้าสู่ร่างกาย ดังนี้

• กินอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่
• ล้างผักให้สะอาดก่อนรับประทาน
• ควรล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร
• ดื่มน้ำที่สะอาด
• เก็บรักษาอาหาร ไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้าไปวางไข่ได้
• หากมีแหล่งน้ำขัง น้ำท่วม  ไม่ควรเดินลุยน้ำเท้าเปล่า ควรสวมรองเท้าบูทป้องกัน
• ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ป้องกันการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย และ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า

เมื่อคุณแม่รู้จักการดูแลป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย แน่นอนว่าการตั้งครรภ์จะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เมื่อลูกน้อยคลอด และเติบโตขึ้นสู่วัยเรียนรู้ จากประสบการณ์ของคุณแม่ ในเรื่องการระวังและป้องกันการติดเชื้อจากพยาธิ คุณแม่สามารถแนะนำและปลูกฝังในเรื่องนี้ให้ลูกได้ เพื่อให้ลูกห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และปูพื้นฐานให้ลูกเรามีความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ(HQ) ได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.who.int,medthai.com,thaitravelclinic

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย

คนท้องกินยาพาราได้ไหม คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ยาที่คนท้องห้ามกิน มีอะไรบ้างเช็กเลย!

ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up