สายจูงเด็ก

อย่าเสียใจเมื่อสาย ทำลูกหายเพราะไม่ใช้ “สายจูงเด็ก”

Alternative Textaccount_circle
event
สายจูงเด็ก
สายจูงเด็ก

จากข่าวเด็กหาย จนสุดท้ายพบจมน้ำตายในสระ ทำให้พ่อแม่ตระหนักถึงการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้กับลูกตนเอง การใช้ สายจูงเด็ก ก็เป็นอีก 1 ตัวช่วยที่จะป้องกันไม่ให้ลูกพลัดหลงจากพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี

อย่าเสียใจเมื่อสาย ทำลูกหายเพราะไม่ใช้ “สายจูงเด็ก”

พบแล้ว “น้องกั้ง” เด็ก 2 ขวบบุรีรัมย์ จมน้ำตายในสระห่างบ้านไป 1 กม.

เด็กหาย
เด็กหาย

กรณี ด.ช.กั้ง อายุ 2 ปี 6 เดือน หายตัวไประหว่างอยู่กับตาทวดกับยายทวด ที่พาไปเก็บมะนาวสวนข้างบ้าน จากนั้นหน่วยกู้ภัยสยามรวมใจปู่อินทร์ ได้นำกำลังรวมกับชาวบ้านกว่า 60 คน ระดมค้นหาตามบ้านญาติและทุกจุดที่คาดว่าน้องกั้งจะหลงไปแต่ไม่พบ จนกระทั่งต้องใช้ชุดประดาน้ำของหน่วยกู้ภัย มางมหาในสระน้ำขนาดประมาณ 2 งาน ลึก 2-5 เมตร ห่างจากจุดที่หายตัวไปประมาณ 300 เมตร ทีมกู้ภัยใช้เวลากว่า 1 วัน จนพบศพน้องกั้ง อยู่ในสระน้ำทางทิศตะวันออก ห่างจากจุดที่หายไปประมาณ 1 กม.สร้างความเศร้าสลดของครอบครัวน้องกั้ง และชาวบ้านที่พบเห็นเป็นอย่างมาก ส่วนสาเหตุที่น้องกั้งเดินไปไกลถึง 1 กม.คาดว่าน้องน่าจะเดินตาม “เจ้าต้า” สุนัขเพศผู้ ซึ่งเป็นสุนัขข้างบ้านน้องกั้ง ที่มักจะเล่นด้วยกันเป็นประจำโดยจากการสอบถาม จนท.กู้ภัยทราบว่า เห็นเจ้าต้าตัวนี้ลุกลี้ลุกลน จึงบอกเจ้าต้าว่าให้พาไปหาน้องกั้ง ก่อนสุนัขตัวนี้จะวิ่งนำหน้าหน่วยกู้ภัยไป จนกระทั่งพบร่างดังกล่าว

ขอบคุณข่าวจาก : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2017139

จากข่าวเด็กหายนี้ นำมาสู่ความเศร้าสลดให้กับพ่อแม่หลาย ๆ คน รวมถึง ทีมแม่ ABK ด้วยเช่นกัน แต่จากข่าวนี้ ก็เป็นอุทาหรณ์สอนใจให้กับพ่อแม่อย่างเรา ๆ ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดกับเด็กทุกคน รวมถึงลูกหลานของตนเอง ดังนั้น เรามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดหลง หรือเด็กหาย จากนักวิจัย ฝ่ายสื่อสารสาธารณะนำเสนอกรณีตัวอย่าง นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ มาให้อ่านกันค่ะ

วิธีป้องกันลูกหาย

1. การเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย จะทำให้คุณรู้ซึ้งกับประโยคที่ว่า “ต้องดูลูกไว้-อย่าให้คลาดสายตา” โดยเฉพาะเด็กน้อยวัยซน (ไม่เกิน 4 ขวบ) เพราะเด็กวัยนี้ไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง หนำซ้ำยังไม่เข้าใจคำว่า อันตราย” เราจึงมักได้พบเด็ก ๆ ในวัยนี้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ชอบนั่งเล่นริมน้ำ, วิ่งข้ามสะพานแคบๆ) ตกจากที่สูง (ชอบปีน ชอบกระโดด) เดินเตาะแตะออกจากบ้าน แล้วเดินไปเรื่อยๆกระทั่งหลงหายไป หรือประสบอุบัติเหตุ

หรือในเด็ก 4 – 7 ขวบอันเป็นวัยที่ยังจำทิศทางและรายละเอียดขอสถานที่ยังไม่แม่น หากขืนปล่อยทิ้งไว้คนเดียวก็มีสิทธิสับสนตกใจ และเดินพล่านจนหลงทางไปเลย แม้แต่เด็กโต 7 – 10 ขวบ ก็ไม่ควรประมาท เพราะเด็กวัยนี้มักจะหลงกับพ่อแม่ในห้างสรรพสินค้า หรือในงานนิทรรศการต่างๆที่มีผู้คนหนาแน่น ที่พ่อแม่กับลูกแยกกันเดินดูสิ่งที่ตนสนใจโดยมากก็เกิดจากความ “ไว้วางใจจนเกินไป”

พ่อแม่เชื่อว่าลูกโตแล้วคงไม่หลงแน่ ส่วนลูกก็มั่นใจจนเกินไปว่าตนเองหาพ่อแม่เจอแน่ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว นั่นคือการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป ดังนั้นทุกครั้งเมื่อจะพาลูกไปที่ไหนก็ตาม ควรจะเตรียมแผ่นกระดาษโน้ต (เคลือบพลาสติกใสด้วยก็ยิ่งดี) โดยบันทึกชื่อคุณพ่อคุณแม่ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ให้ครบถ้วน แล้วสอดไว้ในกระเป๋าเสื้อของลูก โดยลูกเองก็ต้องจำได้ด้วยว่ากระดาษสำคัญแผ่นนี้เอาไว้ที่ไหน หากพลัดหลงกัน ถ้ามีผู้ใหญ่มาพบเข้าจะได้รู้ว่าจะแจ้งพ่อแม่ได้ที่เบอร์ไหน? ที่อยู่ใด?   แต่ทั้งนี้เพื่อป้องกันเหล่ามิจฉาชีพ จึงไม่ขอแนะนำให้จดรายละเอียดใด ๆ ไว้ในที่ ๆ  พบเห็นได้โดยง่าย เช่น บนกระเป๋าเสื้อด้านนอก หนีบไว้บนกระเป๋านักเรียน บนกระติกน้ำ เป็นต้น

2. เด็กหลาย ๆ คนรู้ว่าตนเองนั้นมีชื่อเล่นว่าอะไร แต่จำชื่อ และนามสกุลจริงของตนเองไม่ได้เลย! ดังนั้นจึงขอฝากคุณพ่อคุณแม่ให้ช่วยฝึกฝนท่องทบทวนชื่อนามสกุลของตนเอง และของคุณพ่อและคุณแม่ ยิ่งจำเบอร์โทรของคุณพ่อคุณแม่ได้ก็จะดีมาก

3. เมื่อพบตำรวจในเครื่องแบบให้แนะนำให้ลูกได้รู้จัก และบอกลูกว่านี่คือบุคคลที่จะช่วยลูกได้ ในยามที่ถูกรังแกหรือเดินพลัดหลง ให้ลูกเดินเข้าไปบอกคุณตำรวจ ดังนั้นการหลอกหรือขู่ให้เด็ก ๆ กลัวตำรวจโดยไร้เหตุผล เช่น ถ้าไม่เลิกงอแงจะเรียกตำรวจมาจับไปขัง มาจับหักคอ ฯลฯ และเมื่อถึงคราวมีภัยถึงตัวลูกจะจะไม่กล้าขอความช่วยเหลือกับตำรวจ หรือกลัวแม้แต่รปภ.

4. ก่อนที่จะพาลูกไปเที่ยวที่ใด ควรจะนัดแนะกันให้เข้าใจและตรงกัน ว่าหากเกิดพลัดหลงกันก็ให้มาเจอกันที่ไหนอันเป็นจุดนัดพบ เช่น ที่ประตูทางเข้า, เคานเตอร์ขายตั๋ว, หน้าร้านไอศกรีม เป็นต้น

5. เมื่อเห็นว่าลูกโตพอที่จะไปกลับโรงเรียนเองได้แล้ว ก็ควรจะต้องเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกในช่วงแรก ๆ โดยวางแผนการเดินทางโดยใช้เส้นทางที่ปลอดภัยเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงทางลัดทางเปลี่ยวทั้งหลายโดยเด็ดขาด (หากจะมีแผนที่แสดงเส้นทางที่ถูกต้องและปลอดภัยเพื่อลูกจะได้พกติดตัวก็จะน่าจะอุ่นใจไม่น้อย)

6. ทันทีที่รู้ว่าลูกเดินพลัดหลงกับเราหรือเมื่อรู้ว่าลูกออกจากบ้านไปนานจนผิดสังเกต ให้รีบดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งทันทีอย่ามัวชักช้าเป็นอันขาด เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายและเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกที ให้รีบเข้าแจ้งความกับตำรวจโดยเร็ว (อ่านต่อ เด็กหาย!! ทำอย่างไรให้เจอเร็ว ไม่เกิดเหตุร้าย?)

7. สำหรับเด็กเล็ก อายุไม่เกิน 7 ขวบ ควรใช้ สายจูงเด็ก เมื่อต้องไปในที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หรือเมื่อต้องไปทำธุระต่าง ๆ นอกบ้าน เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่กำลังยุ่งกับการทำธุระ อาจเผลอปล่อยมือลูกจนลูกเดินออกไปไกลจากตัวคุณพ่อคุณแม่และพลัดหลังกันได้

สายจูงกันหลง
สายจูงกันหลง

ในช่วงหลังมานี้ มีพ่อแม่คนไทยหลาย ๆ คนหันมาใช้สายจูงลูกน้อย แทนการจูงมือธรรมดาแล้ว เพราะการใช้สายจูงนั้น ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหาย หรือหลุดมือ แถมหนูน้อยยังเดินสะดวกอีกด้วย ซึ่งที่ต่างประเทศเขาก็ใช้วิธีนี้กันเพื่อป้องกันลูกน้อยหลงทางและหายกันมานานแล้ว แต่ขณะเดียวกันคนไทย หรือคนที่ไม่มีลูกหลายคน กลับมองมองว่าเป็นเรื่องตลก และแปลกที่เด็กเล็ก ๆ จะมีสายจูงผูกที่ตัว ทำให้พ่อแม่หลายคนเลือกจะไม่ใช้ สายจูงเด็ก เลย หรือมองว่าการใช้สายจูงเด็กจะทำให้ลูกรู้สึกอับอาย รู้หรือไม่? ว่าการที่คุณพ่อคุณแม่ หรือปู่ย่าตายาย ไม่ใช้สายจูงเด็กเมื่อต้องไปที่ที่มีคนเยอะ หรือเมื่อต้องไปทำธุระ เป็นการหยิบยื่นอันตรายให้กับลูกหลานของตนเอง ดังนั้น มาดูประโยชน์ ข้อดีข้อเสียของการใช้ สายจูงกันหลง กันค่ะ

ประโยชน์ดี๊ดีที่ทำไมต้องใช้ สายจูงเด็ก

สำหรับในเด็กวัยหัดเดินหลายคนชอบอยู่ใกล้กับพ่อแม่เวลาไปเดินห้าง แต่บางคนที่ชอบสำรวจอาจเดินหลงหายไปได้ การใช้สายสำหรับจูงลูกในเด็กกลุ่มนี้จะช่วยได้มาก

ข้อดีของการใช้ สายจูงเด็ก

  1. ช่วยป้องกันลูกน้อยพลัดหลงทาง หายตัว ในกรณีเข้าไปในสถานที่ ที่มีคนเยอะ
  2. ไม่ต้องคอยวิ่งตามจับ เหมาะกับคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ที่ตามหลานไม่ทัน
  3. เพิ่มความสบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ขณะทำธุระด้วยมือทั้งสองข้าง
  4. ป้องกันลูกวิ่งล้ม โดยเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใช้การดึงกระตุกอย่างเบามือ
  5. ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และในขณะเดียวกันลูกก็มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ข้อเสียและข้อควรระวังของการใช้ สายจูงเด็ก

  • ในบางครั้งอาจทำให้ลูกเดินวิ่ง ไม่สะดวก
  • อาจทำให้ขวางทางจราจรของผู้อื่น เนื่องจากสายจูงเด็กที่ยาว
  • ขณะที่ไม่มีสายจูงอาจทำให้เด็กไม่ระมัดระวัง จนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการล้มที่ผิด เพราะลูกจะรู้สึกว่าปลอดภัยทุกครั้งที่ล้ม เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่คอยระวังจากการใช้สายจูงช่วยเหลือได้ทัน
  • ทำอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ขณะที่พ่อแม่พาลูกขึ้นบันไดเลื่อนหรือลิฟต์ แล้วไม่ปลดสายออกก่อน ปล่อยห้อยแกว่งไปมา ปลายสายจะถูกดูดเข้าไปหนีบกับบันไดหรือลิฟต์ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวังไม่ให้ใช้สายจับลูกมัดไว้กับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่คุณเป็นคนถือสายเด็ดขาด เพราะอาจเกิดเรื่องเศร้าโดยไม่คาดคิดก็ได้ เช่น สายรัดพันคอลูกจนเสียชีวิต ขณะที่คุณลูกไปทำธุระเพียงชั่วขณะ แล้วก็ต้องคอยระวังสายรัด อวัยวะต่าง ๆ ของเด็ก เช่น แขน ขา ที่สำคัญ เด็กให้ห่างมือลูกเมื่อเลิกใช้แล้ว เพราะอาจเล่นและเกิดอุบัติเหตุรัดคอเด็กได้

และคุณพ่อคุณแม่ ควรจูงลูกครั้งละ 1 คนเท่านั้น เพราะถ้าหากจูงลูก 2 คนพร้อม ๆ กัน อาจดูแลไม่ทันหากอีกคนวิ่ง  อีกคนเดิน จะเกิดอุบัติเหตุได้ ควรใช้ได้เฉพาะในทางราบเท่านั้น ห้ามใช้ขณะขึ้นบันได หรือทางที่ลาดชัน

ที่สำคัญใช้ในยามที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการใช้ตลอดเวลา อาจเป็นการปิดกั้นพัฒนาการเด็ก ในเรื่องการเดิน การวิ่ง ควรใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์

อย่างไรก็ดีของใช้ทุกอย่างนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวอยู่เสมอ สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ต้องฉลาดใช้และเลือกสิ่งที่ดีให้กับลูกน้อย และอย่าลืมศึกษาวิธีการใช้อย่างเข้าใจก่อนนำมาใช้กับลูกของเรานะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อย่าละสายตาจากลูกน้อยแม้แต่วินาทีเดียว

เกือบเสียลูกรักไป เพราะลูกน้อยร้องไห้กลั้น

อันตรายจากรถหัดเดิน…ลูกถูกสิบล้อทับเพราะรถหัดเดินไหลลงถนน

สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ oknation.nationtv.tv

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up