ฝึกลูกกินข้าวเอง

ฝึกลูกกินข้าวเอง ช่วยพัฒนาการอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
ฝึกลูกกินข้าวเอง
ฝึกลูกกินข้าวเอง

 ฝึกลูกกินข้าวเอง ช่วยพัฒนาการอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกไปค่ะว่า การที่พ่อแม่ช่วยเหลือลูกทุกอย่าง โดยที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกทำอะไรได้เอง อย่างเวลาลูกกินข้าวก็คอยป้อนให้ลูกทุกครั้ง ลูกจะถือแก้วหัดดื่มเอง แม่ก็คอยช่วยจับให้ แบบนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีเลยค่ะ

นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้อธิบายถึงข้อดีของการ ฝึกลูกกินข้าวเอง ที่จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีในหลายเรื่อง ดังนี้ค่ะ

ลูกน้อยวัย 1-3 ขวบ กล้ามเนื้อมือมีความแข็งแรงมากขึ้น จึงสามารถฝึกให้ใช้ช้อนส้อม กินข้าวเอง ได้แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะกินได้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนผู้ใหญ่ เพราะมือของเขาจะยังจับช้อนส้อมได้ไม่คล่อง อาจจะได้แค่จับแล้วเขี่ยไปมาหรือทำอาหารหกเลอะเทอะบ้าง แต่ช่วงที่กินอย่างเลอะเทอะนี่แหละที่เด็กจะได้สนุกกับการกินและได้  เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าเป็น…

 

ฝึกลูกกินข้าวเอง

1. กินเลอะเทอะก็มีข้อดี

แม้ลูกจะกินเลอะเทอะ แต่การปล่อยให้เขาได้ลองกินเองช่วยพัฒนาลูกในหลายๆ เรื่องเลย นั่นคือ

  • พัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง
  • พัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตา เพราะระหว่างที่ลูกน้อยตักอาหารและจับช้อนเข้าปาก ต้องใช้ ทั้งมือและสายตาในการทำงานร่วมกันค่ะ
  • พัฒนาการในเรื่องการใช้สติปัญญา เพราะในระหว่างที่หัดกิน ลูกจะต้องรู้จักสังเกต คิดวิเคราะห์ วางแผนและ แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เช่น จะหยิบช้อนยกไปในทิศทางไหนดี ใช้น้ำหนักเท่าไรดี จะตักอะไรกินก่อนดี อาหาร หกจะทำยังไงดี คำเล็กหรือใหญ่ไปจะแก้ปัญหาอย่างไรดี ทั้งหมดนี้นับเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางสติปัญญา

2. ความเลอะเทอะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของพ่อแม่

หน้าที่ของพ่อแม่คือต้องเตรียมให้ลูกได้ฝึกทักษะต่างๆ จากการกิน ซึ่งทักษะการทำงานของเด็กเล็กๆ เช่นนี้จะติดตัวมา จนถึงตอนโต ทำให้เด็กมีความคล่องแคล่ว เรียนรู้ที่จะใช้อุปกรณ์ต่างๆ หรือหยิบจับทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แม้ช่วง ฝึกฝนจะทำให้บ้านสกปรกเลอะเทอะก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบที่พ่อแม่ต้องจัดการ เช่น คุณพ่อคุณแม่รู้อยู่แล้วว่าลูกกินอาหารเองแล้วจะทำเลอะเทอะ ก็เพียงหาผ้าหรือกระดาษมาปูรองให้เรียบร้อย ตรงส่วนนี้เป็นการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของพ่อแม่ ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เต็มที่แล้ว ลูกยังจะได้ซึมซับวิธีแก้ไขปัญหาของพ่อแม่ ทำให้ลูกรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองเมื่อเขาโตขึ้น

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าลูกน้อยมัวแต่เขี่ยอาหารไปมา ทำช้อนหล่นบ้าง อาหารหกบ้าง ไม่เคยป้อนได้ถึงปากตัวเองสักคำแล้วจะอิ่มท้องได้อย่างไร คุณหมอมีคำตอบให้ตามนี้ค่ะ

“คุณแม่เพียงแค่แยกจานป้อนกับจานกินเองไว้ จานที่ให้ลูกกินเองก็ให้เขาฝึกไปเรื่อยๆ จะเข้าปากบ้างหกบ้างก็ไม่เป็นไร ส่วนจานป้อนมีไว้สำหรับกินจริงๆ จะอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ซึ่งคอยป้อนอยู่ข้างๆ แรกเริ่มเมื่อลูกหัดกินใหม่ๆ เขาจะยังกินเองได้ไม่มาก ก็แบ่งอาหารไว้ที่จานสำหรับป้อนเยอะหน่อย แต่เมื่อเขากินเองได้มากขึ้นก็ค่อยๆ ลดอาหารจากจานป้อนแล้วไปเพิ่มที่จานกินเองของลูกแทน จนเมื่อลูกกินเองได้คล่องแคล่วดีแล้วจึงให้ลูกกินเองได้ทั้งหมด ต่อไปลูกก็จะกินได้เองทั้งหมดโดยไม่ต้องมีจานป้อนไว้สำรอง”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

อ่านต่อ >> “3 กิจกรรมง่ายๆ ช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูก” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up