ลูกปากเบี้ยว

ระวัง! ลูกปากเบี้ยว ตาปิด อาจป่วยปลายประสาทอักเสบในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกปากเบี้ยว
ลูกปากเบี้ยว

ลูกปากเบี้ยว –  สำหรับเด็กวัยเตาะแตะแล้ว โลกของพวกเขาห้อมล้อมไปด้วมความสุข  สุขที่มากกว่าการที่ต้องนอนอยู่ในเปลเมื่อครั้งยังเป็นทารกทำได้เพียงนอนจ้องมองเพดานห้องพลิกไปพลิกมาหรือคลานอยู่ในพื้นที่จำกัด อยากจะสื่อสารอะไรก็ทำไม่ได้ดั่งใจ แต่เมื่อเข้าสู่วัยเตาะแตะที่เริ่ม ยืน เดิน หรือวิ่ง และสื่อสารความต้องการได้มากขึ้น โลกของพวกเขาจะเต็มไปด้วยความสุขกับการได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต ทั้งเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และ แววตา ที่เปล่งประกายถ่ายทอดความสุขตามประสาเด็กออกมาให้พ่อแม่ได้เห็น หากแต่แววตาและรอยยิ้มของเด็กๆ อาจไม่สดใสเสมอไป ถ้ามีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น

อย่างเรื่องที่เราจะมาติดตามกันในวันนี้กับเรื่องราวของเด็กชายตัวน้อยวัยสองขวบ ที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเกิดขึ้นเวลาที่น้องแสดงความรู้สึกด้วยการยิ้มหรือร้องไห้ จนสุดท้ายต้องพาไปพบแพทย์ เพื่อคลายข้อข้องใจในอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น

ระวัง! ลูกปากเบี้ยว ตาปิด อาจป่วย ปลายประสาทอักเสบในเด็ก

คุณพ่อรายหนึ่งได้ออกมาแชร์ประสบการณ์เป็นอุทาหรณ์สำหรับบ้านที่กำลังมีลูกวัยซน กับความเจ็บป่วยของลูกชายที่อายุกำลังจะครบสองขวบ ที่วิถีชีวิตประจำวันเหมือนเป็นปกติดีทุกอย่าง โดยกิจวัตรประจำวันของครอบครัวนี้ คือคุณแม่จะเล่นกับน้องแล้วพาน้องเข้านอนตามปกติทุกวัน ทว่าในวันที่ผิดสังเกต คือ น้องตื่นนอนตามปกติ แต่สิ่งที่เริ่มแปลกไปคือ เวาลาน้อง ยิ้ม หรือ ร้องไห้ ดวงตาของน้องเหมือนจะปิดลงข้างหนึ่งพร้อมกับมีอาการปากเบี้ยว ซึ่งครั้งแรกคุณพ่อคุณแม่ต่างก็คิดว่าน้องทำหน้าทะเล้นเพราะเล่นกับแม่ซึ่งปกตินิสัยของลูกชายจะกวนๆ ทะเล้นๆ ตามประสาเด็กผู้ชาย

ลูกปากเบี้ยว
ลูกปากเบี้ยว

พ่อแม่สังเกตเห็น ลูกปากเบี้ยว ตาปิด

แต่แม้แต่การร้องไห้ที่ไม่ได้ใช้อารมณ์ความรู้สึกทะเล้นกวนๆ อย่างการยิ้มหรือมีความสุข น้องกลับมีอาการปากเบี้ยวร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ก็ยังคิดว่าน้องโดนแมลงหรือสัตว์มีพิษตัวเล็กๆ กัดหรือเปล่า คุณแม่เลยตรวจดูร่องรอยแมลง ปรากฎว่าไม่มีรอยอะไรเลย ทันใดนั้นคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องปกติแล้วจึงรีบพาน้องไปโรงพยาบาล ซึ่งคุณหมอก็ยังสันนิษฐานไม่ได้เพราะวันที่ไปโรงบาลหมอเด็กไม่มี มีเพียงหมออายุรกรรมทั่วไป และลงความเห็นว่าอาจจะเป็นวัคซีนที่น้องพึ่งฉีดมาเมื่อไม่นานนี้ คุณพ่อคุณแม่เลยพาน้องกลับมาก่อน

พอตกเย็นคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจพาน้องไปหาหมอที่คลินิคเฉพาะทางเด็ก และคำตอบที่ได้จากคุณหมอ คือ น้องเป็นโรคเส้นประสาทเสีย ซึ่งคุณหมอบอกว่าโชคดีมากๆ ที่เป็นแค่ซีกเดียว เพราะถ้าเป็นทั้งสองซีกต้องส่งตัวน้องไปรักษาใหญ่ๆ  สิ่งที่ได้ยินทำให้คนเป็นพ่อกับแม่รู้สึกจุกในอกจนพูดไม่ออก โดยคุณหมอบอกว่าโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส เนื่องจากวัยของน้องที่กำลังซน ชอบหยิบนู่นหยิบนี่เข้าปาก เอามากัดเล่นอมเล่นจึงรับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้

ทำความรู้จัก โรคเส้นประสาทสมองที่ 7 อักเสบ” (Bell’s palsy)

ทางการแพทย์ เรียกโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยวตาปิดว่า ” โรคเส้นประสาทสมองที่ 7 อักเสบ” (Bell’s palsy) หรืออาจเรียกว่าโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นภาวะที่มีกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแอที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก ใบหน้าอัมพาตอาจเกิดขึ้นในเด็กหรือผู้ใหญ่ สำหรับเด็กส่วนใหญ่ อาการมักจะหายเป็นปกติได้ โดยการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ

สาเหตุ

คาดว่าเป็นผลมาจากการอักเสบ (บวม) ของเส้นประสาทใบหน้า ซึ่งควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางสีหน้า (เช่น การขมวดคิ้ว การยิ้ม) เส้นประสาทใบหน้ายังควบคุมการปิดเปลือกตาและส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรสที่ส่วนหน้าของลิ้น

  • การบาดเจ็บ (เช่น กระแทกที่ศีรษะ)
  • หูอักเสบ การติดเชื้อของกระดูกกะโหลกศีรษะใกล้กับหู (mastoiditis)
  • การติดเชื้อของต่อม parotid (parotitis)
  • การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไซโตเมกะโลไวรัส เอ็บสไตบาร์ไวรัส  

ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบ จะทำให้เส้นประสาทบวม ส่งผลให้เส้นเลือดมีขนาดเล็กลง เลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทได้ไม่สะดวก จึงรบกวนการทำงานของเส้นประสาทความสามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้ที่กล้ามเนื้อสำหรับใช้ปิดตาและยิ้มอาจลดลง

อาการ

ใบหน้าอัมพาตมักจะพัฒนาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน หากลูกของคุณมีปัญหาใบหน้า พวกเขาจะมีปัญหาในการยิ้ม เคี้ยวอาหาร หรือเลิกคิ้ว ลูกของคุณอาจ:

  • อาจเกิดอาการนำคือ ปวดที่บริเวณด้านหน้าหรือหลังหู 1-2 วั
  • ไม่สามารถปิดตาที่ได้รับผลกระทบได้อย่างถูกต้อง – อาจทำให้ตาระคายเคืองและแห้ง และน้ำตามักจะลดลง
  • มีความไวต่อเสียงมากขึ้น เสียงก้องที่หูข้างเดียวกัน หูอื้อ
  • กล้ามเนื้อแสดงสีหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก โดยปิดตาและ ยักคิ้วข้างนั้นได้ลดลง หรือเวลาหลับตาแล้วปิดตาไม่สนิทส่งผลให้เกิดสภาพตาแห้ง
  • รู้สึกตึงหรือหนักที่ใบหน้าซีกนั้น
  • บางครั้งอาจมีอาการชาลิ้น พบว่าอาหารมีรสชาติแตกต่างไปจากปกติ

ลูกปากเบี้ยว

โดยปกติแล้ว เด็กที่มีอาการ Bell’s palsy  จะไม่ควรมีอาการปวดอย่างรุนแรง มีปัญหากับการเห็น หรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือร่างกาย หากมีถุงน้ำ (ตุ่มเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลว) ในช่องหูหรือที่ลิ้นหรือเพดาน นี่อาจบ่งบอกว่าลูกของคุณมีอาการ Ramsay-Hunt คุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสถุงน้ำ และพาลูกไปพบแพทย์ทันที หากบุตรของท่านมีอาการอัมพาตใบหน้า ให้พาไปพบแพทย์ แพทย์จะสามารถแยกแยะเงื่อนไขที่ร้ายแรงอื่น ๆ และพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีการรักษาใด ๆ หรือไม่ หากบุตรของท่านมีใบหน้าที่หย่อนยานอย่างกะทันหันภายในไม่กี่วินาทีหรือนาที  โดยที่หรือไม่มีปัญหาในการพูด  ให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที เนื่องจากอาจหมายถึงโรคหลอดเลือดสมองได้

การรักษา

เด็กมากกว่าร้อยละ 95 ที่มีอาการ Bell’s palsy สามารถฟื้นตัว และหายเป็นปกติได้โดยไม่ต้องรักษา และมักจะฟื้นตัวได้ดีกว่าผู้ใหญ่ แพทย์อาจสั่งยาสเตียรอยด์ (เพรดนิโซโลน) เพื่อลดการอักเสบตามเส้นประสาทใบหน้า  โดยปกอาการต่างๆ จะดีขึ้นภายในไม่เกินหกสัปดาห์หรืออยากมากหนึ่งปีก่อนที่อาการของโณคหายไปอย่างสมบูรณ์ มีเด็กจำำนวนน้อยมากอาจมีอาการอ่อนแรงอย่างต่อเนื่องของกล้ามเนื้อใบหน้า โดยเส้นประสาทไม่ฟื้นตัวและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างถาวร

อาการที่ต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ

  • หากเด็กมีปัญหาในการหลับหรือปิดตา อาจจำเป็นต้องหยอดสารหล่อลื่นที่ดวงตาหลายครั้งต่อวัน  ข้อสำคัญคือ ควรปิดตาให้ลูกในเวลากลางคืนหรือเมื่อลูกของคุณเข้านอน
  • แพทย์อาจสั่งยาต้านไวรัส (เช่น อะซิโคลเวียร์) หากพวกเขาคิดว่าไวรัสเริมเป็นสาเหตุของการอักเสบของเส้นประสาท (กลุ่มอาการแรมเซย์-ฮันต์)
  • หากบุตรของท่านติดเชื้อที่หูด้วย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะและอาจแนะนำให้ผ่าตัดเอาการติดเชื้อที่หูออก
  • หากมีสัญญาณของโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ลูกของคุณอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ (IV)

เมื่ออาการไม่ปกติสำหรับ Bell’s palsy หลังจากสองสามสัปดาห์ แพทย์อาจสั่งการทดสอบ เช่น:

  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) scans
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)
  • ตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (EMG) เพื่อตรวจสอบว่ากล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ดีเพียงใด
การห้ามไม่ให้เด็กวัยกำลังซนเอาของเข้าปากอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นผู้ปกครองจึงไม่ควรปล่อยเด็กๆ โดยเฉพาะวัยเตาะแตะให้ละสายตา ที่สำคัญควรสอนให้ลูกหมั่นล้างมือบ่อยๆ ให้เด็กๆ เคยชินกับการทำความสะอาดเมื่อหยิบจับสิ่งสกปรก ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างให้เด็กเกิดทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี  (HQ) อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : Poommin Lengteck , rch.org.au

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up