นำร่องลองของใหม่

Alternative Textaccount_circle
event

ต้องเข้าใจก่อนว่าวัยเตาะแตะชอบกินอาหารเดิมๆ เหมือนกับที่เขาชอบของใช้ เสื้อผ้า นิทานชิ้นเดิม เพราะของที่คุ้นเคยทำให้รู้สึกปลอดภัยนั่นเอง การจะให้วัยเตาะแตะลองอาหารชนิดและรสชาติใหม่ก็ต้องให้เวลาเขา เรามีเทคนิคช่วยให้งานนี้ง่ายขึ้นมาฝากกัน

 
– ตอบรับการปฏิเสธของลูกด้วยท่าทีปกติ ถ้าลูกไม่ยอมกินอาหาร ถึงกับออกปาก ไม่Ž คุณแค่ตอบกลับไปด้วยน้ำเสียงปกติ อ๋อ วันนี้ลูกไม่อยากกินฟักทอง ไว้กิน พรุ่งนี้เนอะŽ จากนั้นคุณอาจกินอาหารนั้นเอง และบรรยายความรู้สึกอร่อยของคุณให้ลูกฟัง

 
– จัดอาหารใหม่คู่กับอาหารที่ลูกชอบ คุณอาจตักทั้งอาหารโปรดและอาหารใหม่ลงในจานของลูก ส่วนลูกจะกินหรือไม่ ขอให้เป็นการตัดสินใจของเขาเอง

 
– กระตุ้นด้วยการแนะนำและชักชวน เช่น ดูจากอาหารที่ลูกกินได้มาก วันนี้ลูกกินฟักทองได้เยอะ ลองแครอทด้วยอีกสักชิ้นนะŽ หลีกเลี่ยงการบังคับ ต่อรองหรือยัดเยียด

 
– คุณและลูกร่วมวงกินอาหารด้วยกัน ชวนลูกพูดคุยเพื่อสร้างบรรยากาศการกินที่สบายๆ ผ่อนคลาย สนุก และ อร่อยŽแถมพิเศษเมื่อมีเจ้าเตาะแตะร่วมวงอาหาร

 
– หากลูกยังเล็ก จะอุ้มเขานั่งกินบนตักคุณก็ได้

 
– เข้าใจและยอมรับความจริงว่า การจะให้ลูกอายุแค่ขวบกว่าๆ นั่งกินข้าวอย่างเรียบร้อยไม่เลอะเทอะนั้น เป็นไปไม่ได้ เด็กวัยนี้ยอมนั่งกินได้สัก 5 – 10 นาทีก็เก่งแล้ว

 
– จัดของว่างให้หลายๆ มื้อในหนึ่งวัน เช่นวันละ 3 – 5 มื้อ เพราะการกินบ่อยครั้งจะเหมาะกับธรรมชาติการกินของเด็กวัยนี้ มากกว่าการพยายามให้ลูกกินมากๆ ในแต่ละมื้อ

 
– ไม่แสดงอาการตกใจ/ต่อว่าถ้าลูกทิ้งอาหารลงพื้น เพราะเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งหากต้องการให้ลูกหยุด ค่อยๆ จับมือเขาและบอกด้วยน้ำเสียงปกติว่า ไม่ทิ้งนะŽ

 
– ให้เวลาและโอกาสเมื่อให้ลูกลองกินอาหารใหม่เป็นครั้งแรก อาหารบางอย่างอาจต้องให้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์กว่าลูกจะยอมลองกิน…ท่องไว้ ใจเย็นๆŽ

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up