ตามใจลูกเกินไป

อุทาหรณ์เลี้ยงลูกผิด! ตามใจลูกเกินไป จนไม่รู้ค่าของเงิน

event
ตามใจลูกเกินไป
ตามใจลูกเกินไป

เรื่องเงินถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและค่อนข้างสอนกันได้ยากในแต่ละบุคคล แต่อย่างไรก็ดี การที่เด็กๆจะโตขึ้นมาได้และเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเรื่องการเงินนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ว่าจะเลี้ยงดูสั่งสอนเข้ามาแบบไหน นอกจากนี้ค่านิยมทางสังคมก็ได้ทำให้ทั้งเด็กๆและครอบครัวอยากจะมีอยากจะได้เหมือนกับคนอื่นๆนั้น ก็ยิ่งทำให้เด็กๆมีนิสัยทางการเงินที่ถูกปล่อยปละละเลยจนเสียคนในที่สุด ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการ ตามใจลูกเกินไป จนเสียคน โดยเฉพาะเรื่องเงิน ตามมาดูกันค่ะว่าจะมีกลยุทธ์อะไรที่จะช่วยสอนลูกให้เค้ารู้จักรับผิดชอบทางการเงินได้บ้าง

1. รู้จักรับผิดชอบงานบ้าน

เด็กๆ แต่ละคนมีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานบ้านเป็นสัดส่วนของตัวเอง เช่น ล้างจานหลังทานข้าวทุกครั้ง คอยดูแลรักษาห้องของตัวเองให้สะอาด และเมื่อทำเช่นนี้ พวกเขาก็จะได้รางวัลเป็นค่าขนมตอบแทนในแต่ละเดือน ซึ่งนั่นจะช่วยสอนให้เด็กๆ รู้จักการเป็นเจ้าของบ้านจากการต้องดูแลบ้านช่องของตนเองให้ดีอีกด้วย

2. แยกให้ออกระหว่าง “ความจำเป็น” กับ “ความต้องการ”

สอนให้ลูกรู้จักการรับผิดชอบเงินที่มีอยู่โดยให้เงินตามสัดส่วนจำนวนอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต้องให้เด็กๆทำงานบ้านเพื่อนแลกมาซึ่งค่าขนมเหล่านี้ ซึ่งลูกจะสามารถใช้เงินตรงนี้ซื้อสิ่งของที่เขาต้องการได้ แต่ว่าพ่อแม่จะต้องเป็นคนช่วยจ่ายในสิ่งที่จำเป็น นั่นรวมไปถึงรองเท้านักเรียนคู่ใหม่ เสื้อผ้าที่เอามาแทนเสื้อผ้าที่เก่าแล้ว การพาไปตัดผมและคลาสเรียนดนตรี

สิ่งของจำเป็นเหล่านี้ไม่ได้รวมพวกของเล่นต่างๆ เสื้อผ้าสวยงาม หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัย นั่นจะทำให้เด็กๆรู้จักแยกแยะว่า สิ่งใดคือสิ่งจำเป็นและสิ่งใดเป็นเพียงสิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขาจะได้รู้วิธีการออมเงินที่ถูกต้องและใช้ชีวิตอย่างมัธยัสถ์ เพื่อที่ว่าในภายภาคหน้า พวกเขาจะได้อยู่รอดได้โดยไม่ใช้จ่ายเงินจนเกินตัว

3. เห็นคุณค่าของการทำงานหนัก

ต้องให้ลูกรู้จักการหยิบจับสิ่งของและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆแล้วออกมาทำงานอะไรบ้าง หรือให้คลุกคลีกับดินที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนอาจก็จะทำให้พวกเขา ไม่เย่อหยิ่งเกี่ยงงานจนเกินไป และหากคุณพ่อคุณแม่กับลูกทำงานบ้านด้วยกัน เมื่องานสำเร็จเสร็จสิ้น ลูกก็จะเห็นคุณค่าของความสำเร็จตรงนั้นมากกว่าจะได้มาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นั่นจะทำให้เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในทางการเงิน ไม่ใช้จ่ายไปสุรุ่ยสุร่ายเพราะพวกเขาจะต้องทำงานหนักกว่าจะได้เงินมา

ตามใจลูกเกินไป

4. รู้จักทำอะไรด้วยตัวเองเสียบ้าง

เมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจความรับผิดชอบต่างๆแล้ว ก็ให้ลองเลิกเตือนเลิกจี้ดู ว่ามีงานบ้านอะไรจะต้องทำบ้าง แล้วปล่อยให้พวกเขาลองทำดูเองแล้วดูซิว่าจะทำหรือไม่ ถ้าหากลูกเลือกที่จะไม่ทำงานบ้าน เดี๋ยวเขาก็รู้ผลเองว่าหากไม่ทำแล้วเขาก็จะไม่มีเสื้อใส่ไปโรงเรียน และถ้าหากลูกจนตรอกจริงๆ จนต้องมาขอยืมเสื้อผ้าสะอาดและถุงเท้าดีๆไปใส่ ก็ให้บอกปฏิเสธไป พวกเขาจะได้รู้ผลลัพธ์ของการไม่มีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง และแก้ปัญหาด้วยตัวเองให้เป็น

เพราะฉะนั้น ต้องทำให้เด็กๆ รู้จักการทำผิดพลาดบ้าง เพื่อที่พวกเขาจะได้จำไว้เป็นบทเรียนไว้ปรับปรุงแก้ไขตัวเองในอนาคตครับ สิ่งนี้เองก็ดีต่อการเงินและการลงทุนของเด็กๆในอนาคตเช่นกัน ที่พวกเขาจะต้องรู้จักรับผิดชอบวางแผนการเงินให้ดีๆ เพราะถ้าหากพลาด หรือใช้เงินเกินตัวจนเป็นหนี้ขึ้นมา ผลกระทบนั้นใหญ่หลวงกว่าแค่ไม่มีเสื้อผ้าใส่แน่นอน

5. อยากได้อะไร อดทนรอหน่อยก็ดีนะ

สอนลูกให้มีความอดทนกับสิ่งของที่อยากได้ โดยให้พวกเขารู้วิธีการออมเงินที่ถูกต้องเพื่อจะได้ซื้อของที่อยากได้เหล่านั้น ไม่ใช่ว่าหาทางซื้อมันให้ได้ในทันที นั่นจะยิ่งทำให้เมื่อลูกได้สิ่งของที่ต้องการภายหลังจากการออมเงินอย่างหนักหน่วงแล้ว เขาก็จะรู้สึกภูมิใจและเห็นคุณค่าของของชิ้นนั้นอย่างมาก โดยที่ไม่ทิ้งมันไปแล้วซื้อของใหม่เพิ่มเติมมาเรื่อยๆ

เราควรฝึกลูกให้เป็นแบบนี้ นั่นเป็นเพราะค่านิยมสังคมสมัยใหม่มักให้ค่ากับการได้ของที่ต้องการในทันที ทำให้เราไม่รู้จักการอดทนรอ หรือการเห็นค่าของของสิ่งนั้นมากนัก เราก็จะเข้ามาสู่วงจรการซื้อของใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป และในอนาคตเมื่อลูกโตขึ้นหากพวกเขาต้องการอยากได้อะไรในทันทีแต่ยังไม่มีเงิน ณ ขณะนั้น พวกเขาก็จำเป็นจะต้องไปกู้เงินเพื่อให้ได้มา ซึ่งการกู้เงินเองถ้าหากลูกไม่รู้จักวิธีการจัดการทางการเงินเพื่อจ่ายเงินคืนให้ทันครบกำหนด หนี้ที่มีอยู่ก็จะยิ่งบานออกมาเรื่อยๆ เป็นผลเสียกับพวกเขาเองอีกต่างหาก

6. พาออกไปดูโลกบ้าง

นั้นก็เพื่อจะได้รู้ว่า ณ สถานที่อื่นบนโลกนี้เขามีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่เป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะหมุนรอบตัวลูกเสมอไป อาจพาลูกไปเข้าโปรแกรมอาสาสมัครช่วยเหลือชนบท เขาจะได้ไปเห็นว่า อันที่จริงแล้วยังมีผู้คนอีกมากมายที่ประสบความทุกข์ยากลำบากมากกว่าลูกมากนัก น่าจะช่วยสร้างให้ลูกมีความเห็นใจแก่ผู้อื่น และลดความเห็นแก่ตัว และความเอาแต่ใจตนเองลงไปได้ อีกทั้งพวกเขาก็จะรู้คุณค่าของสิ่งของต่างๆ ว่าในแต่ละชีวิตคน กว่าจะได้สิ่งของที่ต้องการมานั้นต้องทำงานเหนื่อยยากแค่ไหน การพาลูกออกไปดูโลกกว้างก็จะช่วยเปลี่ยนมุมมองและทำให้พวกเขามีความคิดลึกซึ้งต่อชีวิตและต่อโลกมากขึ้นด้วย

7. ท้อได้แต่ห้ามถอย

เมื่อเด็กๆ เจอกับอุปสรรคขวากหนาม เราต้องคอยเป็นกำลังใจให้พวกเขาไม่ให้ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะว่าในชีวิตอีกยาวไกลนั้นเด็กๆ จะต้องเจออุปสรรคอีกมากมาย ถ้าหากพวกเขายอมแพ้เพียงเรื่องง่ายๆ ในตอนนี้ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจจะไม่สามารถจัดการสิ่งใดๆในชีวิตให้ราบรื่นไปได้เลย

โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องคุยกับเขาและฝึกให้เขาหาหนทางแก้ปัญหา ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกพบเจอกับปัญหา มันเป็นที่ตัวเขาหรือไม่ และมีสิ่งใดที่เขาควรจะปรับปรุง น่าจะทำให้ลูกมีแรงลุกขึ้นสู้ มองเห็นข้อบกพร่องของตัวเองออก และพยายามแก้ไขมันซะ สิ่งนี้จะยิ่งช่วยให้เมื่อลูกโตขึ้น หากต้องมีการแก้ปัญหาทางด้านการเงินพวกเขาจะได้ชี้จุดที่มีปัญหาออก แล้วลงมือแก้ปัญหาให้เรียบร้อย

เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ตามใจลูกเกินไป ซึ่งการสอนลูกให้มีความรับผิดชอบถือเป็นเรื่องดี เพราะเมื่อพวกเขาโตขึ้นก็รู้จักเรื่องการใช้เงิน และไม่กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เสียคน รวมไปถึงเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจคนอื่น อย่างแน่นอน

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.gobear.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up