สอนลูก รู้จัก “การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” อ้างจากเรื่องจริง!

event

สอนลูก ให้แบ่งปัน

ทั้งนี้การสอนเรื่อง การให้ กับลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ ต้องฝึกสอนตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ เพราะโดยพื้นฐานของเด็กทั่วไป มักเผลอแสดงความเห็นแก่ตัว-หวงของออกมา นั่นไม่ใช่เรื่องผิด แต่มันเป็นสัญชาตญาณดิบในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่คุณพ่อคุณแม่คงไม่ยินดีนักหากลูกจะติดนิสัยเหล่านี้ไปจนโต

ตรงกันข้ามกับเด็กที่รู้จักให้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สำนึกต่อคนรอบข้างที่ดูแลเขา ทั้งพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ที่จะเป็นที่รักของคนทั่วไป อีกทั้งการรู้จักให้ยังช่วยบ่มเพาะจิตใจ ทำให้เขาเป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

นับข้อดีได้มากขนาดนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการแก้ปัญหาเด็กขี้หวงของ เห็นแก่ตัว เรามีวิธีสอนให้เด็กๆ “รู้จักให้” อย่างมีประสิทธิภาพ มาฝากกันค่ะ ดังต่อไปนี้

√ ขั้นแรก – เตรียมความพร้อมก่อน

เด็กเล็กที่ดูไม่ประสีประสา ยังไม่รู้ความอะไร แต่เขาก็รู้จักหวงของ และรู้คุณค่าของสิ่งที่ตนมี อย่างของขวัญวันเกิด หรือความสำคัญของวันเกิด การจะสอนให้เขารู้จักให้ จึงควรเริ่มจากอธิบายให้เขาฟังว่าเด็กบางคนไม่ได้โชคดีเกิดมามีพ่อแม่ที่เอาใจใส่ และเห็นวันเกิดของเขาเป็นวันสำคัญอย่างตัวเขา เมื่ออธิบายอย่างนี้ เด็กจะเริ่มเห็นอกเห็นใจผู้ที่ขาดขึ้นมาได้ในทันที เป็นการค่อยๆ ปลูกความเห็นอกเห็นใจในผู้อื่นลงในใจเด็ก แล้วเขาจะนึกอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุขบ้าง

√ ขั้นที่สอง – ลงมือปฏิบัติ

การแนะให้ลูกรู้จักให้ อาจเป็นของเล่นชิ้นที่ไม่โปรดแล้ว หรือแม้แต่ชิ้นโปรดแต่ไม่ได้เล่นแล้ว หรืออาจเป็นการพาลูกไปซื้อข้าวของสำหรับการบริจาค โดยให้ลูกมีส่วนในการเลือกที่คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ชี้แนะ หรือแม้แต่เก็บค่าขนมของตัวเอง โดยไม่ควรหัดให้ลูกบริจาคเฉพาะของที่เขาไม่เอาแล้ว แต่ควรหัดให้ลูกคิดว่าคนที่จะมอบของให้เขาขาด และต้องการอะไรจริงๆ เพราะการทำทานนั้นยิ่งทานนั้นออกไปจากใจที่ประณีตเท่าไรก็ยิ่งได้บุญเท่านั้น และเมื่อนำของไปมอบให้ ควรให้ลูกเป็นผู้ที่มีส่วนในการมอบ โดยเฉพาะของที่เป็นของเขา เพื่อให้เขาได้สัมผัสการให้จริงๆ เมื่อได้ให้ใจของเขาจะเบา และมีกำลัง จิตใจอย่างนี้สะสมมากๆ จะช่วยให้เขาเป็นคนจิตใจดี มีความเชื่อมั่นในความดีของตัวเอง และเป็นเด็กรู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

√ ขั้นที่สาม – ยืดอายุความรู้สึกดี

ในการทำบุญทำทานนั้น ก่อนให้ ระหว่างให้ และหลังให้ หากใจเบิกบานเรียกว่าได้อานิสงส์ครบ ฉะนั้นเมื่อได้แบ่งปันของให้ผู้อื่นแล้ว เด็กจะรู้สึกดี คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเสริมด้วยการชื่นชมการทำดีของเขา อธิบายให้เขาฟังว่าผลจากการให้ของเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป เช่น หากเขามอบของเล่นให้คนที่ขาดก็แนะได้ว่าคนอื่นจะได้มีเล่น สนุก แบบเดียวกับเขา

บางครอบครัวอาจต่อยอดด้วยการทำสมุดความดีให้เขาลงบันทึกสิ่งดีๆ ที่ได้ทำด้วยตัวเอง เอากลับมาดูอีกเมื่อไรก็ชื่นใจเมื่อนั้น แถมเมื่อมากครั้งแล้ว ยังอาจรวมให้เป็นรางวัลให้ลูกประหลาดใจ ดีใจกับการทำความดีของตนขึ้นไปได้อีก

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลและเรื่องราวดีๆ จาก :  www.manager.co.th , ac127.wordpress.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up