เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กน่ารัก

เทคนิคเลี้ยงลูกให้น่ารักและเป็นที่รักของผู้อื่น

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กน่ารัก
เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กน่ารัก

ในบางครั้ง เราอาจจะเจอกับการที่เด็กๆ หยาบคายได้โดยไม่ได้มีเจตนา พวกเขาอาจจะยังไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่พวกเขาทำมันไม่สุภาพหรือไม่ถูกกาลเทศะ และในบางครั้งก็เป็นการรบกวนผู้อื่นอย่างไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กน่ารัก และเป็นที่รักของคนอื่น จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวอกของคนเป็นพ่อแม่ อยากให้ลูกเติบโตเป็นเด็กน่ารัก และเป็นที่รักของผู้อื่น ไม่ว่าจะกับเพื่อน หรือคนรอบข้าง เมื่อไรที่เห็นลูกไม่มีใครเล่นด้วย หรือไม่เป็นที่ต้องการของเพื่อน และสังคม คงไม่ต้องถามเลยว่าคนเป็นพ่อแม่จะรู้สึกเช่นไร

เราจึงมีแนวทาง 27 ข้อ ซึ่งเป็นคู่มือการเลี้ยงลูกที่นอกจากจะทำให้ลูกเป็นคนดี เป็นที่รักของคนรอบข้างแล้ว ยังได้รวมถึงการปรับตัวของคุณพ่อคุณแม่ ต่อบทบาทของความเป็นพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเริ่มทำได้ทันที เพื่อปลูกฝังความดีให้อยู่ในใจลูกไปจนโตค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

banner300x250

  1. เป็นตัวอย่างที่ดี เด็กๆ เรียนรู้จากการเลียนแบบ หากคุณไม่ต้องการให้ลูกพูดคำหยาบ แต่คุณยังคงพ่นไฟทุกครั้งที่โมโห การพร่ำสอนด้วยคำพูดจะไม่มีความหมายใดๆ เลย อยากให้ลูกเป็นแบบใด จงแสดงให้ลูกเห็น อยากให้ลูกพบเจอกับคนแบบไหน จงเป็นคนแบบนั้นกับลูก อย่าลืมว่าปลูกพืชอย่างไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น
  2. สร้างภูมิคุ้มกันความหลงใหลในโลกวัตถุนิยม ก็เป็นสิ่งจำเป็น สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าแท้ คือประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ เช่น กินอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอด ไม่ใช่เพื่อรสชาติหรือปริมาณที่เกินจำเป็น เสื้อผ้ามีไว้เพื่อปกปิดร่างกาย ไม่ใช่เพื่อความสวยงามโก้หรู  สอนให้ลูกเห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อความหลงใหลในโลกแห่งวัตถุนิยมให้แข็งแรง
  3. การได้ใช้เวลาร่วมกัน พ่อแม่ลูกเพราะความสุข ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุ บางครั้งของเล่นที่ลูกร้องไห้อยากได้ ก็ไม่ได้ทำให้เจ้าตัวน้อยมีความสุขเสมอไป เพราะเมื่อได้สิ่งหนึ่ง ก็นำมาซึ่งความยากในสิ่งใหม่ ไม่สิ้นสุข ทำให้ลูกเห็นว่าสิ่งที่มีอยู่ก็ทำให้มีความสุขได้
  4. เคารพซึ่งกันและกัน หากคุณต้องการให้ลูกเคารพอย่างจริงใจ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าคุณเป็นพ่อแม่ แต่เพราะคุณเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตให้กับเจ้าตัวน้อย คุณก็ต้องเริ่ม การเลี้ยงลูก จากการเคารพเจ้าตัวน้อยด้วยการไม่ตำหนิ ต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่นๆ รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีด้วยการเคารพซึ่งกันและภายในครอบครัว รับฟังและสังเกตความต้องการของลูก อย่าลืมว่า ไม่มีใครสามารถให้ในสิ่งที่ตนเองไม่เคยได้รับได้
  5. กล่าวคำมหัศจรรย์ ตั้งแต่เจ้าตัวน้อยยังพูดไม่ได้ คุณควรเป็นตัวอย่างที่ดีด้วยการกล่าวคำว่า สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษทุกครั้งที่มีโอกาส คุณอาจขอบคุณเจ้าตัวน้อยในวันที่เขาอารมณ์ดีเลี้ยงง่ายไม่งอแง ขอโทษเมื่อคุณเผลอทำให้เจ้าตัวน้อยตกใจ เมื่อลูกโตขึ้นสอน การเลี้ยงลูก ให้เจ้าตัวน้อยหัดพูดขอบคุณและขอโทษจนเป็นนิสัย รวมทั้งคุณก็ยังคงต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกด้วย
  6. ใช้เวลากับลูกให้มากเท่าที่จะทำได้ สิ่งที่ลูกได้จากการเล่นของเล่นราคาแพงๆ เทียบไม่ได้เลยกับการที่เจ้าตัวน้อยได้ใช้เวลาอย่างมีคุณค่ากับคุณพ่อคุณแม่ เพราะไม่เพียงสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูกเท่านั้น แต่ยังเป็นการสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าที่แท้จริงของความสุข เหนือสิ่งอื่นใดการเป็นตัวอย่างที่ดีของคุณจะไม่ส่งผลสำเร็จอะไรเลย หากคุณไม่มีเวลาอยู่ให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนรู้สิ่งที่คุณทำมากพอ
  7. อยู่กับความแตกต่างอย่างเข้าใจ ในโลกที่แสนหลากหลายใบนี้ มีความแตกต่างมากมาย ที่เจ้าตัวน้อยจะต้องพบเจอ สอนให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งที่ต่างจากเรา ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก ตราบเท่าที่ทุกคนยังเคารพสิทธิถึงกันและกัน ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
  8. ระมัดระวังคำพูด เมื่อลูกทำผิดแทนที่จะบ่นหรือตำหนิด้วยน้ำเสียงรุนแรง พูดคำหยาบ ควรอธิบายด้วยน้ำเสียงปกติว่าลูกทำผิดเพราะอะไร และจะผลที่ตามมาจากการกระทำนั้นคืออะไร ไม่ควรใช้อารมณ์กับลูก คุณควรทำให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่คุณกำลังสอนอยู่นี้ ทำไปเพราะความหวังดี ไม่ใช่เพราะคุณไม่ชอบในตัวลูก แต่เป็นสิ่งที่เจ้าตัวน้อยทำต่างหากที่คุณเห็นว่าต้องแก้ไข

อ่านต่อ >> เทคนิคเลี้ยงลูกให้น่ารักและเป็นที่รักของผู้อื่น ข้อที่ 9 – 27 คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up