อุ้มลูกบ่อย

ไขข้อสงสัย! อุ้มลูกบ่อยๆ ทำให้ติดมือ และขวางพัฒนาการลูกน้อย จริงหรือ?

event
อุ้มลูกบ่อย
อุ้มลูกบ่อย

กลับมาเรื่องงานวิจัยซึ่งเกี่ยวกับการอุ้มลูกของคน โดยในงานวิจัยหนึ่งได้บอกไว้ว่า เด็กทารกช่วง 6 เดือนแรก เป็นวัยที่สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ได้โดยการร้องไห้ เท่านั้น หากได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็นการเดินเข้าไปหา การอุ้ม การสัมผัส การพูดคุยปลอบให้หายกลัว และได้รับความช่วยเหลือตรงกับความต้องการของเด็ก จะสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูได้เป็นอย่างดี เกิดความไว้ใจ (trust) ว่ามีคนคอยดูแล และการร้องไห้จะน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเติบโตขึ้นมา จะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เรียกร้องความสนใจจนมากเกินไป (demanding)

แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับเด็กที่ขาดคนตอบสนองความต้องการอย่างเพียงพอในวัยทารก เช่น เด็กกำพร้าที่มีผู้ดูแลน้อยกว่าเด็กที่มีจำนวนมาก ร้องเป็นชั่วโมงแล้วยังไม่มีคนมาให้นม ช่วยเช็ดทำความสะอาด หรือปลอบให้หายกลัว เรียกว่าร้องจนสิ้นหวัง หยุดร้องไปเองเลย จะโตขึ้นมาอย่างคนขาดรัก เรียกร้องมากเพราะได้รับการเติมมาไม่เต็มพอ

ลูกติดมือ วางไม่ได้เลย

ซึ่งการอุ้มลูกน้อยในวัยนี้ จึงไม่ได้เป็นการตามใจเด็กจนเสียนิสัย (spoil) แบบเดียวกับกรณีที่เด็กโตแล้วพูดเข้าใจแล้วซึ่งใช้วิธีร้องไห้เพื่อให้ได้ สิ่งที่ตรงการ เมื่อลูกน้อยร้องไห้พ่อแม่สามารถอุ้มปลอบประโลมได้ค่ะ

Must read : สปอยล์ลูก มากไป ระวังลูกนิสัยเสีย!

เพราะอย่างที่ทราบกันว่า เด็กทารกยังไม่รู้จักใช้ภาษาหรือทำท่าทางแสดงความรู้สึกของตนเอง การร้องไห้จึงเป็นวิธีเดียวที่ทารกสามารถเรียกร้องผู้อื่นให้ตอบสนองความต้องการ การที่เด็กร้องแปลว่า ลูกต้องการบอกอะไรสักอย่าง ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจตอบสนองก็เท่ากับเป็นผู้ตัดสื่อสัมพันธ์แต่ฝ่ายเดียว  โดยเฉพาะสำหรับทารกแรกเกิดนั้นเป็นที่ยอมรับแล้วว่า การสัมผัสทางกายกับแม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการสร้างพื้นฐานทางจิตใจและอารมณ์ของเด็ก

Must read : ถอดรหัส เสริมพัฒนาการ 11 กระบวนท่าของทารกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ลูกติดมือ วางไม่ได้เลย

กลัวลูกติดมือขวางพัฒนาการลูก?

หลายบ้านกลัวว่าการอุ้มลูกบ่อยๆ ตอบสนองกับลูกมากในช่วงแรกเกิด จะทำให้ลูก “ติดมือ” แต่จริงๆ แล้วคุณหมอแนะนำว่าเป็นช่วงที่ทารกควรได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงดูมากที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาที่เขายังแสดงออกอย่างอื่นไม่ได้นอกจากการร้อง ดังนั้นถ้าลูกๆ ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้ก็จะเติบโต มีพัฒนาการทางอารมณ์จิตใจที่มั่นคงขึ้น เกิดความรู้สึกเชื่อใจ มั่นคง ปลอดภัย

แต่หลังจาก 6 เดือนไป พ่อแม่อาจจะฝึกให้ลูกรอคอยก่อนที่จะได้รับการตอบสนองในทันที เพื่อฝึกให้รู้จักการอดทนรอคอย คุณแม่ไม่ต้องห่วงว่าลูกจะติดมือ และจะขัดขวางพัฒนาการของลูก เพราะถ้าลูกได้รับการตอบสนองในช่วงแรกเกิดอย่างเหมาะสม และมีพัฒนาการอารมณ์จิตใจที่มั่นคงดีแล้ว จะช่วยให้ลูกกล้าที่จะเรียนรู้ และไม่กลัวที่จะสำรวจ เรียนรู้  เมื่อถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมของลูกค่ะ

เมื่อค่อยๆ โตขึ้น ลูกจะเริ่มสื่อสารได้มากขึ้น เริ่มอยากเรียนรู้ และไม่ร้องติดมือเหมือนช่วงทารก เพียงแต่ระหว่างนี้พ่อแม่ก็ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้และพัฒนาการของลูกไปด้วย โดยปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเล่นอย่างอิสระด้วยตัวเอง ลูกก็จะมีพัฒนาการได้ตามวัย เพราะพัฒนาการของลูกจะเกิดขึ้นได้จากการ “เล่น” ของเขาเอง การเล่นของลูกเป็นเรื่องง่ายๆ เช่นการปล่อยให้เขาคืบคลาน ให้เขากลิ้ง นอนเล่นกับของเล่นต่างๆ ฯลฯ ดังนั้นการปล่อยลูกให้เล่นได้อย่างอิสระนั้นจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการร่างกาย พัฒนาการสมองของลูกให้ค่อยๆ เติบโตขึ้น

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด www.breastfeedingthai.com และ www.rmutphysics.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up