ทารกนอนสลับเวลา

เพราะเหตุใดทารกถึงนอนสลับเวลา!

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกนอนสลับเวลา
ทารกนอนสลับเวลา

ลูกสลับเวลานอน …คุณแม่มือใหม่หลายคน เป็นกังวลไม่น้อยกับเรื่องที่จะต้องปรับตัว เมื่อมีลูกน้อยอีกหนึ่งคนเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องการเลี้ยงดูลูกน้อยเป็นครั้งแรก เรื่องน้ำนมที่ยังไม่ไหล รวมไปถึงเรื่องการนอนของลูกน้อยด้วย

การนอนของทารกแรกเกิด อาจทำให้มีผลกระทบกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคุณแม่เป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นคุณแม่จะต้องเข้าใจและปรับตัวกับลูกน้อยที่เพิ่งเกิดใหม่ที่ยังไม่รู้จักเวลากลางวัน-กลางคืน

ลูกสลับเวลานอน !! ทำไมทารกแรกเกิดนอนกลางวัน
ตื่นกลางคืน

อันดับแรกคุณแม่ต้องเข้าใจด้วยว่าระยะเวลา 9 เดือนที่เจ้าตัวเล็กนอนอยู่ในท้องที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำ เมื่อยามที่คุณแม่เดินไปมา ก็เปรียบเสมือนว่าได้ไกวเปลทำให้ทารกในท้องนอนหลับสบาย ส่วนตอนกลางคืนที่คุณแม่หลับสนิทลูกน้อยในท้องกลับตื่นจนถีบท้องคุณแม่สะดุ้งอยู่หลายครั้ง เพราะคุณแม่ไม่ได้เคลื่อนไหวตัวนั่นเอง   จนกระทั่งคลอดออกมาทารกก็ยังคงเคยชินกับช่วงเวลาที่นอนและตื่นเหมือนตอนอยู่ในท้อง  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดนัั้นนอนกลางวัน มากกว่ากลางคืน  แม้จะปลุกให้กินนมก็ไม่ค่อยอยากจะตื่นนั่นเองค่ะ

f0ntogdz2h5bogkjhvs06d2dvdicyjrc_med

ปัญหา การนอนของทารก แรกเกิด

ตามปกติแล้วเด็กทารกแรกเกิดต้องการเวลานอนหลับพักผ่อนมากกว่าเด็กโต แต่ห้วงเวลาการหลับและตื่นจะสั้น และมีหลายช่วงเวลาที่ตื่นเมื่อหิว ซึ่งทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือนต้องการเวลานอน 11-18 ชั่วโมงต่อวัน และระหว่าง 2 -10 เดือน ต้องการเวลานอน 11-15 ชั่วโมงต่อวัน โดยปกติทารกแรกเกิดจะนอนในเวลากลางวันนานมาก และใช้เวลานานในตอนกลางคืนกว่าจะหลับได้นั้นจะมีอาการ หลับๆ ตื่นๆ ไปตลอดคืน  เด็กทารกจะตื่นบ่อยในช่วง 3 เดือนแรก เพื่อขอกินนมแม่บ่อยๆ เป็นการกระตุ้นให้แม่สร้างน้ำนมแม่มากขึ้น  ดังนั้นแม่จะเหนื่อยมากในช่วง 3 เดือนแรก

baby_infant_child_267795การนอนแบบสับสนช่วงเวลาของเด็กทารกนี้ จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะช่วงแรกเกิดจนถึง 3 เดือนเท่านั้น (หรือบางคนอาจมากกว่านั้น) ถือเป็นช่วงที่สำคัญและลำบากสำหรับคนเป็นแม่มากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นช่วงที่ร่างกายของแม่ต้องการการพักฟื้น การพักผ่อนนอนหลับ แต่ในขณะที่เจ้าตัวน้อยนอนตื่นไม่เป็นเวลา นอนกลางวันตื่นกลางคืน หรือนอนไม่ถึงชั่วโมงก็ตื่น ดังนั้นเบื้องต้นหากทำได้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่มือใหม่ควรงีบหลับพักผ่อนในช่วงที่ลูกนอนตอนกลางวัน   เพื่อเก็บแรงไว้รับมือกับลูกน้อยในตอนกลางคืน และควรฝึกให้นมแม่ท่านอนสำหรับการกินนมตอนกลางคืน  จะได้หลับไปพร้อมกันกับลูกได้เลยค่ะ (อ่านต่อ ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่”)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถฝึกลูกให้รู้จักเวลากลางคืนที่เป็นเวลาสำหรับการนอนหลับพักผ่อน โดยฝึกตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ให้ลูกน้อยรู้จักที่นอนและห้องนอนของเขา เพื่อให้ได้รับรู้หรือสัมผัสได้ว่าเมื่อถูกวางบนที่นอนเมื่อไร แสดงว่าเมื่อนั้นได้เวลาที่จะต้องนอน ดังนั้นคุณแม่ควรพาลูกนอนไปที่ห้องนอน  ให้รู้ว่าถ้ามาห้องนี้ต้องนอนแล้ว   ควรวางลูกบนที่นอนก่อนที่ลูกจะหลับ   เพื่อให้เด็กทารกได้คุ้นเคยกับที่นอนและสถานที่ภายในห้องนอน   เพราะถ้าหากคุณแม่อุ้มกล่อมลูกไว้จนกระทั่งลูกหลับไปแล้วจึงวางนอนบนที่นอน เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาลูกอาจตกใจร้องไห้ได้ถ้าไม่เห็นคุณแม่อยู่หรืออุ้มตัวเขา
  2. สร้างบรรยากาศในห้องให้ลูกน้อยได้รู้จักความแตกต่างของกลางวันและกลางคืน โดยในช่วงกลางวันควรให้เด็กมีระยะเวลาในการนอนที่น้อยกว่าในตอนกลางคืน คุณแม่ควรจัดห้องนอนให้เด็กนอนในห้องที่มีแสงสว่างพอเพียง ไม่ควรให้นอนในห้องที่มืดเพื่อป้องกันมิให้ทารกรู้สึกสับสนว่าเป็นกลางคืน ในช่วงเวลากลางวันไม่ควรให้ภายในห้องเงียบสนิท ควรให้มีเสียงเพลง หรือเสียงทำงานบ้านของคุณแม่ แต่ควรเป็นเสียงที่เบาๆ
  3. ให้นมในเวลาที่แน่นอนเป็นประจำ ถ้าถึงเวลาตื่นมาดูดนมแล้วยังหลับอยู่ก็ต้องปลุกให้ตื่นขึ้นมา
  4. ช่วงแรกเดือนแรก ควรห่อตัวลูกตอนนอนกลางคืน  เพื่อช่วยให้ทารกไม่สะดุ้งตกใจ    การโดนห่อตัวนี้เปรียบเสมือนว่าได้นอนอยู่ในท้องแม่   เด็กทารกจะรู้สึกอบอุ่น ไม่เคว้งคว้าง   ผ้าที่ใช้ห่อตัวลูกควรเลือกตามสภาพอากาศบ้านเรา  ช่วงหน้าร้อน เปิดพัดลมก็ไม่ควรใช้ผ้าหนามากจนเกินไป    ถ้าลูกนอนห้องแอร์ก็ควรเลือกผ้าที่หนาขึ้นมาหน่อย (อ่านต่อ คลิปวีดีโอ “ห่อตัวลูก อบอุ่นปลอดภัย”)
  5. ถ้าหากลูกตื่นและร้องไห้กลางดึก คุณแม่ไม่ควรรีบเปิดไฟหรืออุ้มทารกขึ้นมาทันที ควรสังเกตดูก่อน ว่าลูกร้องเพราะอะไร  ถ้ายังร้องไห้ไม่หยุด  คุณแม่ควรเข้าไปปลอบและสังเกตดูว่ามีความผิดปกติอะไรเช่นร้องไห้เพราะเปียกแฉะจากการฉี่รดผ้าอ้อมก็ควรเปลี่ยนทันที คุณแม่ต้องรีบจัดการแก้ปัญหาให้ก่อน โดยที่ยังไม่ต้องอุ้มลูกขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รู้จักว่าเป็นเวลาของการนอน

อ่านต่อ >> “วิธีสร้างสุขนิสัยการนอนของลูกน้อย” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up