พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ในเด็กวัยแรกเกิดนั้น พัฒนาการต่าง ๆ สำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่จะสามารถเห็นความแข็งแรงของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยนี้ และพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามคือ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ต่าง ๆ ของลูกได้เลย

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ คืออะไร?

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Skills) คือ ความสัมพันธ์กันของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึง กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว แขน ขา พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จะช่วยให้เด็กรู้จักการทรงตัว สร้างสมดุลให้กับร่างกายได้ มีความแข็งแรง มีความทะมัดทะแมง ความไวในการเปลี่ยนท่าทาง ได้แก่ การวิ่ง การคลาน การกระโดด เป็นต้น โดย พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ นี้จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิด และจะพัฒนาโดยเริ่มจากส่วนหัวไปสู่ส่วนขา โดย คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ซึ่งจัดทำโดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ดังนี้

ชันคอ
พัฒนาการกล้ามเนื้อคอ เริ่มพัฒนาได้ตั้งแต่ 1-3 เดือน โดยทารกจะเริ่มชันคอได้
  • ชันคอ (1-3 เดือน) โดยจะเริ่มชันคอได้ชั่วขณะเมื่ออายุได้ 1 เดือน และชันคอได้ 45 องศาเมื่ออายุได้ 2 เดือน และสามารถชันคอได้ตั้ง 90 องศาเมื่ออายุได้ 3 เดือน พัฒนาการในช่วงนี้ จะใช้กล้ามเนื้อคอ แขน ประสานกัน
  • พลิกคว่ำ พลิกหงาย (4-5 เดือน) โดยก่อนจะพลิกคว่ำ พลิกหงายได้นั้น ทารกควรที่จะชันคอได้แข็งและสามารถรับน้ำหนักของศีรษะของตัวเองให้ได้เสียก่อน ถึงจะเริ่มพลิกคว่ำ โดยการพลิกคว่ำนี้ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ลำตัวส่วนบนขึ้นไป และพัฒนาแขน ขา ไปพร้อม ๆ กัน
ฝึกลูกนั่ง
ลูกจะสามารถนั่งหลังตรงได้เมื่ออายุ 5-7 เดือน
  • นั่งได้ (5-7 เดือน) ทักษะในการนั่งนั้น การทรงตัวมีส่วนสำคัญในทักษะนี้ ดังนั้น ลูกควรฝึกทรงตัวไปพร้อมกับการพัฒนากล้ามเนื้อ ท้อง สะโพก และขา โดยในช่วงแรก ลูกอาจจะเริ่มนั่งโดยการใช้มือยันตัวเองเอาไว้ เมื่อลูกพร้อมที่จะทรงตัวแล้ว จะเริ่มปล่อยมือ จนสามารถนั่งหลังตรงได้
  • คลานและเกาะยืน (7-9 เดือน) เมื่อลูกพลิกคว่ำ พลิกหงายจนคล่องแล้ว และสามารถทรงตัวจากการนั่งได้แล้ว และกล้ามเนื้อ คอ แขน มือ ท้อง สะโพก และ ต้นขา ก็จะเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ลูกก็จะอยากที่จะเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองแล้วค่ะ โดยลูกจะเริ่มจากท่านั่งแล้วเปลี่ยนมาอยู่ในท่าคลาน และค่อย ๆ เคลื่อนไหวได้เอง

(อ่านต่อ 7 ท่าคลานทารก เมื่อลูกน้อยคลาน ลูกเราคลานท่าไหนนะ)

  • เกาะเดิน (10 เดือน) ในตอนนี้ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ลงมาสู่ช่วงขาแล้วค่ะ โดยลูกจะใช้มือในการช่วยพยุงน้ำหนักแทนการใช้ขา เพราะยังใช้ขาได้ไม่คล่อง และกล้ามเนื้อบริเวณขายังไม่แข็งแรงพอ ในช่วงนี้ ลูกจะเริ่มใช้มือดึงตัวเองให้อยู่ในท่ายืน แล้วค่อย ๆ เกาะ โต๊ะ หรือ เก้าอี้ เพื่อเคลื่อนตัวไปด้านข้าง
  • ยืนเอง หรือตั้งไข่ (12 เดือน) เมื่อกล้ามเนื้อขาเริ่มมีความแข็งแรงจากการเกาะเดินแล้ว ลูกจะเริ่มฝึกการทรงตัวโดยการใช้ขา สะโพก และ ลำตัว ผ่านการยืนนั่นเองค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของทารกวัยแรกเกิด ถึง 3 ปี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up