เลี้ยงลูกให้ฉลาด

ส่งเสริม 7 พัฒนาการ สร้างความฉลาดรอบด้านให้กับลูก

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงลูกให้ฉลาด
เลี้ยงลูกให้ฉลาด
เลี้ยงลูกให้ฉลาด แรกเกิด
7 พัฒนาการชีวิต เพื่อ ความฉลาดรอบด้าน

5. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)

ลูกจะมีพัฒนาการด้านสังคมที่ดีหรือไม่ จะอยู่ร่วมกับสังคมได้หรือไม่ เช่น รู้จักแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่ทำร้ายคนอื่น รู้จักพึ่งพาและช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักการควบคุมตัวเอง ฯลฯ ขึ้นกับสัมพันธภาพของเขากับพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดูเขาตั้งแต่แรกเกิดว่าสามารถทำให้ลูกเกิดความเชื่อมั่น ไว้วางใจ ปลอดภัยได้หรือไม่ เพราะสิ่งนี้คือพื้นฐานในการพัฒนาคุณสมบัติอื่นๆ ตามมา

⇒ วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการ เริ่มตั้งแต่สายใยที่ได้จากการกินนมแม่ ฮอร์โมนออกซิโทซินที่หลั่งออกมาในน้ำนมแม่จะกระตุ้นให้เกิดความผูกพันระหว่างแม่กับลูก รวมไปถึงการกอด สัมผัส และการเลี้ยงดู ดูแลเอาใจใส่

ต่อมาเมื่อลูกทำดี พ่อแม่ยิ้มตอบ ถ้าเขาทำอะไรไม่ดี พ่อแม่บอกทำหน้าบึ้งหรือทำหน้าไม่ยอมรับ ให้เขารู้ว่าสิ่งนี้เราไม่ทำกัน โดยไม่จำเป็นต้องตี ลูกก็จะเชื่อมั่นและเรียนรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำกับใคร เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น พ่อแม่ก็เป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็นพฤติกรรมหรือนิสัยที่พึงมีในการอยู่ในสังคม และสอนเมื่อถึงเวลาต้องสอน

การเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย
7 พัฒนาการชีวิต เพื่อ ความฉลาดรอบด้าน

6. พัฒนาการด้านการสื่อสาร (Communication Development)

ทารกเริ่มเรียนรู้การสื่อสารจากการใช้ข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสต่างๆ  และนำมาใช้สื่อสารจากการได้เห็นตัวอย่าง เริ่มจากภาษาท่าทาง ต่อมาเป็นคำพูดและภาษาเขียน จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษาท่าทางในทารกแรกเกิดพบว่า พอแลบลิ้นให้เขา เขาก็แลบลิ้นกลับ ทำปากจุ๊บๆ เด็กก็ทำปากจุ๊บๆ กลับ ทำหน้าโกรธให้เขาก็ทำหน้าโกรธกลับมา

การศึกษาด้านการสื่อสารด้วยคำพูดก็พบว่า เด็กก็เรียนรู้คำและความหมายจากการเลียนเสียงและสังเกต โดยจะเริ่มสื่อสารเป็นคำพูดเมื่ออายุ 1 ขวบ จะเริ่มมีคำศัพท์ที่เขาพูดได้เป็นคำๆ ประมาณ 200 คำ อายุ 2 – 3 ขวบพูดได้ราวๆ 2,000 คำและเริ่มพูดเป็นประโยคสองคำ และเริ่มพูดประโยคที่ครบถ้วนประมาณ 3 – 4 ขวบ เมื่อ 4 ขวบขึ้นไปจะเริ่มใช้ภาษาเขียน เป็นต้น

⇒ วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการ ได้แก่ การสื่อสารกันด้วยภาษาท่าทางและคำพูด

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด
7 พัฒนาการชีวิต เพื่อ ความฉลาดรอบด้าน

7. พัฒนาการด้านความถูกต้อง รู้ผิดชอบชั่วดีคุณธรรม จริยธรรม (Moral Development)

เป็นส่วนที่เด็กเรียนรู้ได้ตั้งแต่แรกเกิดและจำเป็นต้องเห็นตัวอย่างอีกเช่นกัน เพราะเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบยังไม่เข้าใจเหตุผล แต่จะเลียนแบบจากตัวอย่างคือ พ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดูเขา

♦ Must read : สอนลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรมตั้งแต่แรกเกิด

⇒ วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการ พ่อแม่เป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตตั้งแต่แรกเกิด และค่อยๆ สอนเรื่องเหล่านี้ให้เหมาะสมตามวัยได้เช่น ลูกอายุ 1 – 2 ขวบ พ่อแม่ก็ช่วยบอกได้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แต่ยังไม่จำเป็นต้องอธิบาย พออายุ 3 – 4 ขวบ ลูกเริ่มมีความเป็นตัวเองสูงขึ้น พ่อแม่เริ่มอธิบายได้ว่าเขาทำอะไรได้หรือไม่ได้ ด้วยเหตุผลอะไรนะ แต่ตอนนี้เด็กก็ยังเรียนรู้แบบจำไว้ (Preoperational)

หากต้องการ เลี้ยงลูกให้ฉลาด ซึ่งการที่ลูกได้รับการกระตุ้นมาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเข้าวัยประถมมัธยม เขาก็จะเริ่มรู้แล้วว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ด้วยตัวของตัวเองโดยไม่ต้องมีใครมากำกับควบคุม (Operational) พอถึงระดับมหาวิทยาลัยก็เริ่มเป็นระดับที่เข้าใจแล้วว่า สิ่งที่มี สิ่งที่เป็น ถูกต้องหรือไม่ เพราะอะไร (Concrete) และพัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรมนี้ก็ค่อยๆ เจริญเติบโตจนเป็นผู้ใหญ่

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: ดร.นัยพินิจ คชภักดี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up