ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ

30 ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ ที่พ่อแม่สังเกตได้

event
ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ
ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ

ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ
√ 40 วิธีเลี้ยงลูกแบบนี้… ลูกฉลาดแน่

ซึ่งหลังจากลักษณะของเด็กอัจฉริยะที่กล่าวมานั้น หากลูกของเรายังไม่มีแวว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนและเลี้ยงดูลูกไปเองจนลูกเผยความอัจฉริยะขึ้นมาได้ ซึ่งหากอยากให้ลูกฉลาด คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ตอบคำถามลูกด้วยความอดทน และจริงใจ 2. เอาใจใส่คำถามของลูก
3. มีกระดานสำหรับแสดงผลงานของลูก 4. ยอมรับความรกรุงรังของบริเวณที่ลูกกำลังทำงานสร้างสรรค์
5. จัดห้องส่วนตัวให้ลูก 6. แสดงความรักลูกในฐานะลูกมิใช่จากผลงานของลูก
7. ให้ลูกมีความรับผิดชอบตามวัย 8. ช่วยลูกให้รู้จักวางแผนและตัดสินใจเอง
9. พาลูกไปชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ 10. สอนลูกให้รู้จักทำหน้าที่ให้ดีขึ้น
11. ให้ลูกคบกับเด็กทุกชนชั้น 12. กำหนดมาตรฐานพฤติกรรมของลูกอย่างมีเหตุผล
13. ไม่เปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น 14. ไม่ลงโทษลูกด้วยการวางเฉยเมย
15. มีของเล่นและหนังสือให้ลูก 16. ส่งเสริมให้ลูกคิดด้วยตัวเอง
17. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง 18. ฝึกนิสัยรักการอ่านให้ลูก
19. สนับสนุนพร้อมส่งเสริมให้ลูกสร้างเรื่องและคิดฝันตามแบบของเขา 20. พิจารณาความต้องการของลูกอย่างรอบคอบ
21. มีเวลาให้กับลูก 22. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผนไปเที่ยวด้วย
23. ไม่เยาะเย้ยลูกเมื่อทำผิด 24. ส่งเสริมให้ลูกจดจำเรื่องราวคำประพันธ์และเพลงต่าง ๆ
25. ให้ลูกได้เข้าสังคมกับคนทุกวัย 26. สอนให้ลูกทดลองปฏิบัติด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลูกให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
27. ให้ลูกเล่นวัสดุเหลือใช้ที่เขาสนใจ 28. ให้ลูกได้พบปัญหา และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
29. ชมลูกเมื่อทำกิจกรรมที่ดี 30. ไม่ชมลูกอย่างพร่ำเพรื่อ ทั้ง ๆ ที่ใจจริงไม่อยากชม
31. มีความจริงใจทางด้านอารมณ์กับลูก 32. คุยกับลูกได้ทุกเรื่อง
33. ให้โอกาสลูกได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง 34. ส่งเสริมลูกให้เป็นตัวของตัวเอง
35. ช่วยลูกหารายการโทรทัศน์ที่มีประโยชน์ 36. ส่งเสริมให้ลูกคิดในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง
37.ไม่บอกปัดความล้มเหลวของลูกโดยพูดว่า “พ่อแม่เองก็ทำไม่ได้” 38.ไม่ให้ลูกพึ่งผู้ใหญ่เท่าที่จะทำได้
39.เชื่อว่าลูกมีความรู้สึกดีและไว้วางใจ 40. ยอมให้ลูกทำผิดพลาด ดีกว่าพ่อแม่เข้าไปช่วยทำแทน

 

อย่างไรก็ดี จากวิธีปฏิบัติ 40 ข้อนี้ นักวิจัยได้สรุปว่าพ่อแม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กฉลาดนั้น ควรจะมีข้อปฏิบัติอยู่ในระหว่าง 25-35 ข้อ ฉะนั้นเราลองมาตรวจสอบตัวเราเองจากข้อปฏิบัติเหล่านี้ดูว่า เราได้ปฏิบัติกับลูกของเราเป็นประจำได้กี่ข้อ และข้อใดบ้างที่ยังปฏิบัติน้อยหรือยังไม่ได้ปฏิบัติ เราจะได้ฝึกหัดหัวข้อเหล่านั้นให้มากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมลูกให้ฉลาดได้ตามที่ความต้องการและไม่กดดันลูกจนเกินไป

ระวังลูกฉลาดมากก็มีปัญหาได้!

ทั้งนี้หากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรภูมิใจว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ หรือสบายใจว่าลูกฉลาดมาก ไม่ต้องช่วยเหลืออะไรแล้วนะครับ เพราะเด็กปัญญาเลิศอาจจะมีปัญหาหลายอย่างตามมาเช่นปัญหาทางอารมณ์ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะลักษณะเฉพาะของเด็กปัญญาเลิศก็คือ ความเป็นตัวของตัวเอง ไม่พึ่งพาอาศัยใคร จึงมักที่จะชอบทำงานคนเดียว เชื่อมั่นในตนเองสูง มีความสนใจ และความสามารถเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ มีความสามารถหลายอย่าง มักจะปฏิเสธคำแนะนำของพ่อแม่ และเพื่อน เข้ากันไม่ได้กับผู้ใหญ่อาจสร้างความยุ่งเหยิง วุ่นวาย เรียกร้องความสนใจ พ่อแม่ และครูมักไม่เข้าใจ และอาจมีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

คุณพ่อคุณแม่จะช่วยเหลือลูกได้อย่างไรบ้าง?

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักดีใจ และภูมิใจเมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ เฉลียวฉลาดมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป แต่อาจมีความรู้สึกตื่นเต้น หวาดกลัวปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นร่วมกันไปด้วย อาจพยายามสอบถามผู้รู้ หาหนังสือมาอ่าน เด็กปัญญาเลิศอาจมีมุมมองที่ เห็นสิ่งปกติแตกต่างไปจากคนอื่น ถึงแม้จะได้เปรียบในการรับรู้ที่ดีกว่าคนอื่นแต่ก็จะข้อเสีย คือ ความรู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น เมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพูดคุยกับลูก อธิบาย และบอกความจริงว่าลูกต่างจากผู้อื่น เหมือนคนเราสีผม สีผิว แตกต่างกัน ไม่ควรยกย่องหรือชื่นชมความเป็นอัจฉริยะของลูกนะครับ จะทำให้ยิ่งมีปัญหาต่อไปเมื่อลูกโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามที่จะเรียนรู้ ยอมรับและเข้าใจในอัจฉริยภาพของลูก

และท้ายที่สุดแล้วการที่ลูกเป็นเด็กเก่ง ฉลาด หรือเด็กอัจฉริยะนั้น เด็กก็ต้องได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขด้วย คือสุขทั้ง กายและใจก็ถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐที่พ่อแม่พึงกระทำ เพราะแม้เด็กจะเก่งเป็นอัจฉริยะเพียงใดแต่อยู่ในสังคมไม่ได้ก็ไร้ซึ่งความสำเร็จเช่นกัน

อ่านต่อบทคความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : 1พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ www.clinicdek.com
www.pantown.com , oknation.nationtv.tv

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up