พัฒนาการเด็ก 2 เดือน

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ลูกโตแค่ไหน ต้องส่งเสริมพัฒนาการยังไง?

event
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน เรื่องการนอน : ในวัยนี้จะยังคงคล้ายกับวัย 1 เดือน โดยอาจนอนวันละประมาณ 15.5 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืนประมาณ 8.5 ชั่วโมง และนอนตอนกลางวันอีกประมาณ 7 ชั่วโมง ที่แบ่งเป็นนอนช่วงสั้น ๆ ประมาณ 3 ครั้ง

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการสื่อสาร :  ลูกจะยังคงร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก แต่อาจเริ่มทำเสียงในลำคอได้บ้างแล้ว และอาจแสดงอารมณ์ได้มากขึ้น โดยอาจยิ้มเมื่อรู้สึกชอบหรือพอใจ เมื่อได้ยินเสียงแม่ และมักจะหันหาและส่งเสียงตอบทันที ทั้งนี้ลูกจะมองเห็นได้ชัดในระยะ 8-9 นิ้ว โดยเด็กอาจมองตามการเคลื่อนไหวเมื่อมีคนเดินเข้ามาใกล้ อีกทั้งยังชอบมองรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากกว่าวัตถุหรือสีเรียบ ๆ อย่างสีขาวดำ ซึ่งแตกต่างจากเด็กทารกอายุ 1 เดือน

Must read : 10 พัฒนาการทารก (วัยแรกเกิด-12 เดือน) ที่บอกว่ารักคุณ

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว : ในท่านอนคว่ำ ลูกสามารถ ยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนคว่ำ ข้อศอกงอ
  2. หยิบของเล่นกรุ๋งกริ๋งมาเขย่าตรงหน้าลูก เมื่อลูกมองมาที่ของเล่นแล้ว ก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2 และจึงค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
  3. ทำซ้ำอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าลูก เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อน ของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้เด็กเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
  4. แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าเด็กเหมือนเดิม

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา : ลูกสามารถมองตามสิ่งของ จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย
  2. ให้คุณพ่อคุณแม่ถือของเล่นสีสดใสที่ไม่มีเสียง ห่างจากหน้าลูก ประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) และอยู่ในตำแหน่งเลยจุดกึ่งกลางของใบหน้าลูก ไปทางซ้ายเล็กน้อย
  3. กระตุ้นให้ลูกสนใจ โดยแกว่งของเล่นให้ลูก จ้องมอง แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นนั้นให้ผ่านจุดกึ่งกลางใบหน้าลูกไปทางด้านขวาและสลับมาทางด้านซ้าย

หมายเหตุ : ถ้าลูกไม่มองตาม ให้ช่วยเหลือโดยการประคองหน้าลูกเพื่อให้หันมามอง และอาจใช้ใบหน้าของแม่กระตุ้น โดยการแสดงสีหน้า ยิ้ม ทำปากพูดคุยแต่ไม่ออกเสียง เพื่อให้ลูกมองตาม

Must read : 14 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริม พัฒนาการทารก 2 เดือน

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา : ลูกสามารถมองหน้า พ่อแม่ที่พูดคุย ได้นาน 5 วินาที

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกในท่านอนหงาย หรือ อุ้มลูก โดยให้หน้าพ่อแม่ห่าง จากลูกประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจ เช่น ทำตาโต ขยับริมฝีปาก ยิ้ม หัวเราะ

หมายเหตุ : สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก ขณะให้นมลูก ขณะอาบน้ำ

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการใช้ภาษา : เด็กทำเสียงในล้ำคอ (เสียง “อู” หรือ “อือ”) อย่างชัดเจน

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย ให้พ่อแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้า เข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจแล้วทำเสียง อู หรือ อือ ในลำคอให้เด็กได้ยิน หยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกส่งเสียงตาม
  3. เมื่อลูกออกเสียง “อู” ได้ ให้ผู้ปกครองเปลี่ยนไปฝึกเสียง “อือ” และรอให้เด็กออกเสียงตาม

Must read : ถอดรหัส เสริมพัฒนาการ 11 กระบวนท่าของทารกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม : ลูกสามารถยิ้มหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อพ่อแม่แตะต้องตัวและ พูดคุยด้วย

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย โดยให้พ่อแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหา
  2. สบตาลูกและสัมผัสเบาๆ พร้อมกับพูดคุย เป็นคาพูดสั้น ๆ ซ้ำ ๆ ช้าๆ เช่น “ว่าไงจ๊ะ… (ชื่อลูก)… คนเก่ง” “ยิ้มซิ” “เด็กดี” “… (ชื่อลูก)… ลูกรัก” “แม่รักลูกนะ”
  3. จากนั้นก็หยุดฟัง เพื่อรอจังหวะให้ลูกยิ้ม หรือ ส่งเสียงตอบ

หมายเหตุ : สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก โดยให้หน้าลูกอยู่ระดับเดียวกับหน้าแม่ขณะอาบน้ำ หรือขณะนวดสัมผัส

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า พัฒนาการเด็กทารก เดือน ลูกสามารถทำอะไรได้หลายอย่างขึ้น เริ่มเรียนรู้และส่งเสียงตามได้ แต่อาจจะยังไม่ชัด แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องรีบ ฝึกแค่สองคำก่อน  แต่ให้สังเกตการณ์เปล่งเสียงของลูก เพราะการเปล่งเสียงเมื่อลูกเข้าสู่เดือนที่ 3 ก็จะแตกต่างออกไปอีก นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเลี้ยงดูลูกวัย 2 เดือน คือ ระวังสิ่งของอันตรายรอบตัวลูก เพราะวัยนี้จะเริ่มหยิบสิ่งของต่างๆ , ระวังเสียงดัง และการพูด เพราะวัยนี้จะเริ่มฟังเสียง จำเสียง และควรเริ่มหาของเล่นให้ลูกจับ หรือให้ลูกได้มองบ่อยๆ เพื่อเสริมพัฒนาการมองเห็นให้ลูกในวัยนี้นะคะ

อ่านต่อบทความอื่นๆ น่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : หนังสือคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี thaichilddevelopment.comwww.pobpad.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up