วิธีเพิ่มความสูง

ฮาวทู 5 วิธีเพิ่มความสูง อยากให้ลูกสูง ต้องทำแบบนี้ทุกวัน

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีเพิ่มความสูง
วิธีเพิ่มความสูง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวิตกกังวลกลัวว่าลูกเตี้ย มีความสูงไม่ได้มาตรฐานสมวัย สูงไม่เท่าเพื่อนในวัยเดียวกัน มาลองดู วิธีเพิ่มความสูง ที่เป็นแนวทางช่วยให้ลูกมีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นมาได้

ปัจจัยที่ส่งต่อผลความสูงและ วิธีเพิ่มความสูง ให้ลูกรัก

หากคุณพ่อคุณแม่มองว่าลูกตัวเล็ก กลัวว่าลูกไม่สูงสมวัย ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ส่วนสูง” ของเด็กแต่ละคนนั้นจะมีอัตราความสูงที่ไม่เท่ากัน และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงได้ เช่น

  • กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่พบมากที่สุด ในกรรมพันธุ์ของพ่อแม่มีผลประมาณ 60-80 % หากพ่อแม่สูงทั้งคู่ลูกก็มีโอกาสที่จะสูง หรือถ้าพ่อแม่ไม่สูงทั้งคู่ ลูกก็จะมีโอกาสไม่สูงได้ แต่ถ้าพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง ลูกก็จะมีความสูงในระดับกลาง ๆ ซึ่งพันธุกรรมของฝ่ายแม่จะมีผลต่อความสูงมากกว่าฝ่ายพ่อ
  • โภชนาการ อาหารมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของลูกตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ได้รับและในวัยที่กำลังเจริญเติบโต การได้สารอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม หรือลูกมีพฤติกรรมที่เลือกกิน ลูกกินน้อย ก็อาจทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าและตัวเตี้ยกว่าเด็กที่มีโภชนาการดี
  • ขาดการออกกำลังกายในวัยเด็ก
  • ลูกเครียด อันเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือการเลี้ยงดู ซึ่งความเครียดจะมีผลโดยตรงต่อการหลั่งฮอร์โมนในการเจริญเติบโต

ลูกเครียด

  • การเจ็บป่วยหรือป่วยเรื้อรังด้วยโรคหรือความผิดปกติบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและส่วนสูงได้ เช่น โรคหอบหืด ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมนี้อาจส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าคนทั่วไป โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นต้น รวมถึงการใช้ยาบางตัวในการรักษาโรคอาจมีผลกับการเจริญเติบโต หรือการที่ร่างกายถูกกระทบกระเทือนทางศีรษะอย่างแรงหรือบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม ตกบันได ตกชิงช้าก็มีผลต่อความสูงได้เช่นเดียวกัน
  • ร่างกายขาดฮอร์โมนที่ช่วยเจริญเติบโตหรือความสูงหรือฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่ ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน ( ในเพศหญิง) และเทสโทสเตอโรน (ในเพศชาย) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยควบคุมสมดุลของการสร้างกระดูก ทำให้เด็กมีความสูงไปตามพันธุกรรมที่กำหนดไว้ รวมทั้งภาวะขาดไทรอยด์ (Thyroid Gland) โดยเฉพาะไทร็อกซิน (Thyroxin) เป็นตัวกระตุ้นให้กระดูกมีพัฒนาการที่ดีหากขาดตัวนี้อาจทำให้เตี้ยและไม่สมส่วนได้

อัตราความเร็วในการเพิ่มส่วนสูงของเด็กแต่ละวัย

  • ทารกแรกเกิดมีส่วนสูงเฉลี่ย 50 เซนติเมตร
  • ช่วงอายุ 6 เดือนแรก เด็กสูงขึ้นเฉลี่ย 2.5 เซนติเมตรต่อเดือน/ ช่วงอายุ 6 เดือนหลัง เด็กสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 เซนติเมตรต่อเดือน
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12 เซนติเมตร
  • ช่วงอายุ 2-7 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-6 เซนติเมตร/ปี
  • ช่วงอายุ 8-15 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7-8 เซนติเมตร/ปี

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ

ช่วงเวลาที่เด็กแต่ละเพศสามารถสูงได้อย่างรวดเร็วที่สุด คือ

  • อัตราการเจริญเติบโตร่างกายของเด็กผู้หญิง มักเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี จะสามารถสูงได้มากที่สุดตอนอายุ 11 ปี ในช่วงวัยก่อนมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงเวลานี้เด็กหญิงจะสามารถสูงขึ้นเฉลี่ยถึง 8-10 เซนติเมตรต่อปี ถือว่าเป็นช่วงเป็นโอกาสทองของความสูง และจะสูงขึ้นช้าลงเมื่อมีประจำเดือน จนกระทั่งอายุประมาณ 16-18 ปี ความสูงก็จะค่อนข้างคงที่หรือหยุดสูง
  • อัตราการเจริญเติบโตร่างกายของเด็กผู้ชาย มักเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 11 ปี และจะสามารถสูงได้มากที่สุดตอนอายุ 13 ปี และความสูงก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 4-5 ปี จนกระทั่งร่างกายจะค่อย ๆ ลดอัตราการเติบโตลงเมื่อมีอายุ 18-20 ปี

ดังนั้นความสูงของร่างกายเด็กจะคงที่และมีร่างกายมีการเติบโตเกือบเต็มที่เช่นเดียวกับความสูงของผู้ใหญ่ ในช่วงอายุ 17-18 ปีและร่างกายจะหยุดสูงเมื่อมีอายุ 20 ปี

หยุดสูงตอนอายุเท่าไหร่

ทำไมร่างกายถึงหยุดสูง?

การเจริญเติบโตของร่างกายบางด้านนั้นมีข้อจำกัด รวมถึงความสูงที่จะหยุดสูงในที่สุด เนื่องจากการหยุดเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะบริเวณแผ่นการเจริญเติบโต (Growth Plate) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนพิเศษบริเวณส่วนปลายของกระดูกยาว ซึ่งในช่วงวัยเด็กกระดูกส่วนนี้ยังเจริญเติบโตต่อเนื่องส่งผลให้กระดูกตามส่วนต่าง ๆ ยาวขึ้น จนเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 20 ที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กระดูกอ่อนดังกล่าวกลายเป็นส่วนของกระดูกแข็ง และไม่สามารถเติบโตได้อีก ดังนั้นก่อนที่ลูกจะหยุดสูง ไม่อยากให้ลูกเตี้ย การสร้างพฤติกรรมและทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ตั้งแต่ยังเล็ก เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสูงให้กับลูกได้

ฮาวทู 5 เคล็ดลับช่วยเพิ่มความสูงให้ลูกรัก

1.ให้ลูกได้กินอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่ช่วยเพิ่มความสูงคือ อาหารที่มีสารอาหารจำพวกวิตามินส่วนช่วยในการเติบโต เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 12 และ วิตามินดี เป็นต้น แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียมและฟลูออไรด์ที่มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย และโปรตีนที่เป็นสารอาหารหลักช่วยในการเจริญเติบโต ซึ่งมาจากแหล่งอาหาร ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ ปลาตัวเล็กๆ ผักใบเขียว และผลไม้ พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น เน้นให้ลูกรับประทานสารอาหารเหล่านี้ควบคู่กันการกินให้ครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อทุก ๆ วัน

เพิ่มความสูง

2.ดื่มนม

ในน้ำนม อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารมากมาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และและเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเด็กที่ไม่ได้แพ้นมวัวควรได้ดื่มนมรสจืดนมอย่างน้อย 2 แก้วต่อวันควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดื่มนมในวัยเด็กจะช่วยเพิ่มความหนาของมวลกระดูกได้และยังช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ด้วย

3.ให้ลูกได้ออกกำลังกายเป็นประจำ

เด็ก ๆ ควรได้ออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 30 นาที -1 ชั่วโมง การออกกำลังกายแป็นประจำมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายกระตุ้นการหลั่งของโกรทฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตให้เพิ่มมากขึ้น กีฬาที่มีส่วนช่วยเพิ่มความสูงได้ เช่น กระโดดเชือก กระโดดสูงหรือเล่นแทมโบลีน ว่ายน้ำ โหนบาร์ นอกจากนี้ยังมีกีฬาบาสเก็ตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล วิ่ง เต้นแอโรบิก โยคะ ต่อยมวย หรือแม้แต่การเดินเร็วก็มีส่วนในการกระตุ้นความสูงทั้งสิ้น

4.จัดท่าทางให้ถูกต้อง

ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำกิจกรรมในท่าทางต่าง ๆ ถ้าอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องอาจกระทบต่อส่วนสูงได้ เช่น การเดินหลังค่อมหรือนั่งหลังงอตลอดเวลาอาจจะทำให้กระดูกคดงอผิดรูป แถมยังทำให้ดูเสียบุคลิกภาพและดูเตี้ยกว่าปกติด้วย การนอนงอตัว ที่จะทำให้กระดูกสันหลังคดงอ ร่างกายเติบโตได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทางของลูก และช่วยปรับท่าให้ยืนตัวตรงหรือนั่งหลังตรงจนชิน เพื่อบุคลิกภาพที่ดีและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น

โกรทฮอร์โมน เพิ่มความสูง

5.นอนหลับเป็นเวลาและเพียงพอ

ในวัยเด็กที่ร่างกายมีเจริญเติบโตอยู่นั้น ควรนอนอย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง ซึ่งในขณะนอนหลับสนิทนั้นจะเป็นเวลาที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีผลต่อความสูงของลูก หากนอนไม่เพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้และฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ น้อยลง ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลว่าลูกจะไม่สูง เมื่อได้ทราบสาเหตุและเทคนิคเพิ่มความสูงกันไปแล้วก็ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมนำไปใช้กันดูในช่วงวัยที่ลูกกำลังเจริญเติบโต ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กกราฟเพื่อติดตามส่วนสูงของลูกจากกรมอนามัยได้ ที่นี่

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pobpad.comwww.gh3tallplus.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รู้ทันภาวะ “เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย” ก่อนลูกหยุดสูง

โรคเตี้ยในเด็ก โรคใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up