ลูกสะดือจุ่น + โป่ง อันตรายหรือไม่?

event

ลูกสะดือจุ่น

ลูกสะดือจุ่น เพราะอะไร ผิดปกติหรือไม่

ในทางธรรมชาติแล้ว รกของเด็กที่อยู่ในครรภ์จะเชื่อมต่อกับสายสะดือของแม่ เป็นส่วนที่เด็กจะสามารถได้รับสารอาหารที่แม่กินเข้าไปเมื่อเด็กคลอดออกมา แพทย์จะทำการตัดสายสะดือของเด็กและมัดเอาไว้ สายสะดือส่วนนี้ที่ถูกตัด จะสามารถแห้งไปได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคน

ส่วนของสะดือนี้  จะยังคงยื่นออกมาในช่วงแรกๆ ของการคลอดดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจึงมั่นใจได้ว่า เป็นเรื่องปกติและมันจะยุบบุ๋มกลับลงไปในที่สุด

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ :  6 ข้อ ห้ามทำกับสะดือทารกแรกเกิด

ลักษณะอาการ สะดือจุ่น 

อาการ สะดือจุ่น หรือทางการแพทย์เรียกว่า ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) อาการนี้มักพบตั้งแต่แรกเกิดถ้า ซึ่งในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เพราะเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือจะปิดไปตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นของพังผืดเข้ามาปกคลุม ถ้าหากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้

โรคไส้เลื่อนที่สะดือ

โรคไส้เลื่อน หรือ Hernia คือโรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรูหรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยานสูญเสียความแข็งแรง ไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่งและมักปรากฏเป็นก้อนตุงออกมา โดยส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปจะยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อยคือ ลำไส้เล็ก1

คำว่า Hernia มาจากภาษาลาตินแปลว่า Rupture (แตก) ทั้งนี้โรคไส้เลื่อนแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามตำแหน่งที่อวัยวะเคลื่อนไปอยู่และตามสาเหตุการเกิด การรักษาส่วนใหญ่ต้องอาศัยการผ่าตัด2

ไส้เลื่อนแต่ละชนิดจะพบได้ในเพศและวัยที่แตกต่างกันไป แต่พบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั้งนี้

1.ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ (Inguinal hernia) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 25 เท่า ส่วนมากพบในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 75% ของไส้เลื่อนทั้งหมด

สะดือจุ่น

 

2.ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือที่เรียกกันว่าสะดือจุ่น มักพบตั้งแต่แรกเกิดถ้า เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชายในสัดส่วน 3:1 ส่วนใหญ่จะหายได้เองก่อนอายุ 2 ขวบ พบว่าทารกชาวผิวดำพบเกิดเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้มากกว่าทารกชาวผิวขาวถึง 8 เท่า

 

 

♦ อ่านต่อบทความแนะนำ :  navel วิธีดูแลและทำความสะอาดสะดือลูกน้อย

3.ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย พบมากในวัยสูงอายุ

4.ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อย เกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น

5.ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในสัด ส่วน 3:1 พบได้น้อยเช่นกัน

6.ไส้เลื่อนตรงข้างๆกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Spigelian hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชายเล็กน้อย ส่วนมากพบตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป

7.ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วน 6:1 แต่เป็นชนิดพบได้น้อยมาก

8.ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) โดยเกิดในตำแหน่งที่เคยผ่าตัดมาแล้ว พบได้ในทุกเพศทุกวัยที่เคยมีการผ่าตัดภายในช่องท้องมาก่อน

อ่านต่อ >> “วิธีรักษาอาการโรคไส้เลื่อนที่สะดือของลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up