โรคติกส์

โรคติกส์ (ลูกกระพริบตาบ่อย) อันตรายหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติกส์
โรคติกส์

4 วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อลูกมีอาการติกส์

 การดูแลลูกที่มีอาการโรค TICS คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ตามคำแนะนำจากคุณหมอ ดังนี้ค่ะ…

1. ลดความเครียด ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลาย (relax)

อาการ TICS เป็นเสมือนปรอทวัดอุณหภูมิความเครียดที่เกิดขึ้นในใจลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดให้ลูกได้โดยช่วยให้ลูกได้มีเวลาว่าง และพักผ่อนได้เพียงพอ เช่นได้มีโอกาสเล่นตามประสาเด็กกับเพื่อนๆ เพราะปัจจุบันหลังเลิกเรียน เด็กมักจะไม่ค่อยได้เล่นที่โรงเรียน แต่กลับต้องเรียนพิเศษต่ออีก ก่อนที่จะมีคนมารับกลับบ้าน พอวันหยุดสุดสัปดาห์ ก็ยังต้องเรียนอะไรๆ อีกหลายอย่าง คุณจึงควรจัดเวลาให้ลูก ในเรื่องการเรียนพิเศษ ฯลฯ ไม่ให้มากจนเกินไป

2. ลดการวิพากษ์วิจารณ์ การตำหนิติเตียน

คุณควรลดการตำหนิลูก ในเรื่องต่างๆ ลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินอาหาร, การแต่งตัว หรือการทำการบ้าน, การอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือเรื่องคะแนนสอบที่อาจจะไม่ได้ดั่งใจของคุณ ฯลฯ แม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกหงุดหงิด และคิดว่าคุณจำเป็นต้องพูดเตือนลูกอยู่เสมอๆ เพราะดูเหมือนว่า เด็กจะไม่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ได้อย่างที่คุณต้องการ คุณต้องเลือกใช้วิธีอื่น ที่เป็นในเชิงบวกกับลูก เพื่อให้กำลังใจแก่เขา มากกว่าที่จะใช้วิธีในเชิงลบ โดยการตำหนิ,ว่ากล่าวลูกตลอดเวลา

3. ให้ทำเป็นไม่เห็น

ไม่สนใจในอาการกระตุก หรือกระพริบตาบ่อยๆ ที่เกิดขึ้นต่อหน้าคุณ (ignore)  เพราะการที่คอยจับผิดลูกอยู่ตลอด และคอยว่ากล่าวเขาในเรื่องนี้ กลับยิ่งทำให้เขาเกิดความเครียดมากขึ้น ยิ่งทำให้เขากระพริบตาบ่อยขึ้น เกิดอาการ TICS มากขึ้น และควรจะบอกคุณครู, คุณปู่คุณย่า และคนอื่นๆ รอบข้าง ให้ใช้วิธีการเดียวกันกับคุณ คือทำเป็นไม่เห็น ไม่สนใจกับอาการ TICS ที่เกิดขึ้น และไม่ล้อเลียนเด็ก

4. หลีกเลี่ยงการลง

โทษเด็กที่ยังมีอาการ TICS  คุณพ่อคุณแม่บางท่านเข้าใจผิดว่า การที่ลูกมีอาการกระพริบตาบ่อยๆ นี้เป็นนิสัยที่ไม่ดี และต้องรีบแก้ไขโดยการลงโทษ โดยคิดว่าเป็นการที่เด็กแกล้งทำ แต่ที่จริงแล้ว เด็กเองก็ไม่สามารถควบคุมอาการ TICS ได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก ที่จะปลดปล่อยความเครียด ที่เขามีออกมา ดังนั้นการทำโทษเด็กกลับยิ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้แก่เด็ก จะยิ่งทำให้เกิดอาการ TICS มากขึ้นไปอีก[2]

การให้กำลังใจลูก หรือคนในครอบครัวที่มีอาการติกส์ เป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ เพราะนอกจากจะไม่เป็นการไปซ้ำเติมให้เด็กรู้สึกอาย หรือเป็นจุดสนใจให้คนรอบข้างมองแบบสงสัยแล้ว ก็ยังจะช่วยให้อาการติกส์ที่เป็นอยู่ค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปได้ในที่สุดค่ะ อย่างไรก็ดีลองนำคำแนะนำทั้ง 4 ข้อจากคุณหมอไปลองปรับใช้เพื่อรับมือกับโรคติกส์ให้กับลูกๆ กันดูนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

โรคเลือดออกง่าย ฮีโมฟีเลีย อีกโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิตในเด็ก
โรคหายาก 1 ในหมื่น กล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง ตั้งแต่เกิด

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานนท์ จากคลินิกเด็ก.คอม. www.clinicdek.com

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up