ไข้ดำแดง คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน พ่อแม่ต้องรู้

event

ไข้ดำแดง

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ดำแดง

สำหรับโรคไข้ดำแดง เชื้ออาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้หูชั้นกลางอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ฝีทอนซิล ปอดอักเสบ และเชื้ออาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน กระดูกอักเสบ นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ไข้รูมาติก และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะเกิดหลังต่อมทอนซิลอักเสบประมาณ 1-4 สัปดาห์ ซึ่งการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 10 วัน จะช่วยลดการเกิดของภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้

หลังจากไข้อีดำอีแดงหายไปประมาณ 1-2 เดือน อาจมีโรคไตหรือโรคไข้รูมาติกตามมาได้

  • โรคไต ทำให้มีอาการบวม ปัสสาวะน้อยเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ความดันโลหิตสูง ถ้าเป็นมาก ๆ อาจมีอาการหัวใจวายหรือไตวายได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก
  • โรคไข้รูมาติก โรคนี้จะทำให้เกิดโรคหัวใจรูมาติก ผู้ป่วยจะมีอาการบวม เหนื่อยง่าย ลิ้นหัวใจรั่ว ปวดบวมตามข้อมือ เท้ากระตุก มีอารมณ์แปรปรวนเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ ถ้ามีอาการทางโรคหัวใจมาก อาจต้องทำการผ่าตัดลิ้นหัวใจหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 

วิธีป้องกันไข้ดำแดง

เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ การป้องกันการติดเชื้อจึงสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคติดเชื้อผ่านการสัมผัสและฝุ่นละออง ดังนี้

  • ดูแลสุขภาพร่างกายของลูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่หากมีความจำเป็นต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • อย่าใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ เครื่องนอน แก้วน้ำ เป็นต้น
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อยู่เสมอ ทั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยหรือของใช้ของผู้ป่วย และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการขยี้ตา แคะจมูก หรือปาก
  • คุณพ่อคุณแม่ควรแยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติทันทีที่พบ
  • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการไอหรือจามรดใส่ผู้อื่น และต้องรีบรักษาโรคนี้ให้หายเพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อ Group A hemolytic streptococci แต่กำลังศึกษาและพัฒนาวัคซีนอยู่ ทั้งนี้โรคไข้ดำแดง มีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค คือมีไข้และผื่น หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกจะเป็นโรคนี้ หรือไม่ควรพามาพบกุมารแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://healthmeplease.com , www.thaipost.net , www.thainannyclub.com , haamor.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up