แม่ลูกอ่อนนอนน้อย

แม่ลูกอ่อนนอนน้อย ระวัง 5 โรคอันตรายเพราะนอนน้อย

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ลูกอ่อนนอนน้อย
แม่ลูกอ่อนนอนน้อย

แม่ลูกอ่อนนอนน้อย ระวัง 5 โรคอันตรายเพราะนอนน้อย

สะลึมสะลือคืออาการประจำของบรรดา แม่ลูกอ่อนนอนน้อย แน่นอนเลยใช่มั้ยคะ ทั้งตื่นมาปั๊มนม ทั้งตื่นมาให้นม ตื่นมาอุ้มตอนลูกร้อง ตื่นมาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก มีสิ่งต่าง ๆ มากมายให้แม่ลูกอ่อนต้องตื่นมาทำตลอดทั้งคืน แต่คุณแม่ลูกอ่อนทุกคนต้องระวังให้มากนะคะ เพราะว่าการนอนน้อยนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่มากจริง ๆ ค่ะ และนี่คือ 5 โรคอันตรายที่จะเกิดเพราะแม่ ๆ นอนน้อยค่ะ

1.แม่ลูกอ่อนนอนน้อย ระวังโรคอ้วน

 โรคอ้วน เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีอายุสั้นลง รวมถึงมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น หายใจติดขัด นอนกรน เหนื่อยง่าย

การจะระบุว่าใครที่เข้าข่ายโรคอ้วน พิจารณาได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง คนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถือว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, โรคข้อเสื่อม, เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, มีบุตรยาก เป็นต้น

การนอนน้อย ทำให้แม่ลูกอ่อนอ้วน เพราะการนอนน้อยทำให้ระบบในร่างกายแปรปรวน ส่งผลให้คุณแม่อยากกินอาหารที่ไขมัน หรือน้ำตาลมากขึ้น หรือกินแล้วอิ่มช้า และการที่คุณแม่นอนน้อยก็จะยิ่งทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายเผาผลาญไขมันไม่เต็มที่ ก็จะส่งผลทำให้ไขมันสะสมมากขึ้น และอ้วนนั่นเอง

2. โรคซึมเศร้า

อาการนอนไม่หลับ นอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ นอกเหนือไปจากอาการซึมเศร้าหลังคลอด เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การนอนไม่พอ นอนน้อย ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง จนเกิดภาวะซึมเศร้า
  • การนอนน้อย ส่งผลกระทบต่อระดับสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
  • การนอนไม่ค่อยหลับในเวลากลางคืน จะทำให้เกิดความคิดในแง่ลบมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา

คุณแม่ที่มีอาการนอนไม่หลับ นอนน้อย ยังเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่นอนหลับสนิทถึง 10 เท่า ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เสี่ยงมีอาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น หากนอนหลับไม่เพียงพอค่ะ

แม่ลูกอ่อนนอนน้อย
แม่ลูกอ่อนนอนน้อย ระวัง 5 โรคอันตรายเพราะนอนน้อย

3. โรคนอนไม่หลับ

เมื่อคุณแม่ลูกอ่อนต้องตื่นบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้เป็นโรคนอนไม่หลับได้ ซึ่งโรคนอนไม่หลับนี้ เป็นปัญหาที่พบได้ทุกเพศวัย เกิดขึ้นได้บ่อยตามข้อมูลการศึกษาพบได้ถึง ร้อยละ30-35 ของผู้ใหญ่ ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายคุณแม่เกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวล หรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจ และการทำงานในช่วงกลางวัน

อาการของแม่ที่มีภาวะนอนไม่หลับ

  • อ่อนเพลีย
  • ไม่สามารถมีสมาธิกับการทำงาน, ความจำเปลี่ยนแปลง
  • ความสามารถในการทำงานลดลง
  • อารมณ์หงุดหงิด กระสับกระส่าย
  • ง่วงนอนเวลากลางวัน
  • ขาดพลังในการใช้ชีวิต อ่อนเพลีย
  • การเกิดอุบัติเหตุ
  • กังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่เกิดขึ้น

และหากนอนน้อยจนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับแล้ว คุณแม่ก็เสี่ยงจะมีอาการของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ด้วยค่ะ คือจะมีอาการ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือสะดุ้งตื่นทั้งคืน หรือต้องใช้เวลามากกว่า 30 นาทีถึงจะนอนหลับได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง จะมีอาการมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป หากเป็นเช่นนี้คุณแม่ต้องพยายามหาเวลาพักผ่อนไปพร้อม ๆ กับช่วงที่ลูกหลับนะคะ

4. โรคเบาหวาน

นักวิจัยได้วิเคราะห์ว่า การอดนอนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจึงเร่งผลิตอินซูลิน เพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ จนอาจทำให้ฮอร์โมนอินซูลิน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกต่อไป และผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ และระดับกรดยูริกในเลือด กับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) พบว่า ในคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ คนที่นอนดึกตื่นสาย รวมถึงคนนอนไม่เพียงพอ หรือนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง จะมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่าคนที่เข้านอนเร็ว เนื่องจากการเข้านอนผิดเวลาธรรมชาติ จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา

เพื่อหลีกเลี่ยง โรคเบาหวาน คุณแม่ควรเข้านอนในช่วง 2-3 ทุ่ม หรือไม่ควรนอนดึก โดยนอนให้ได้ 1 ใน 3 ของเวลาตามรอบนาฬิกาชีวิตค่ะ

5. โรคหัวใจ

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจโป่ง หลอดเลือดหัวใจตีบ การนอนหลับสนิททำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงขณะหลับ เมื่อเปรียบเทียบกับขณะตื่นตอนกลางวัน แต่หากเรานอนหลับไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ความดันไม่ลด ยังส่งผลให้ความดันสูงขึ้น ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจค่ะ

การนอนน้อยของคุณแม่ลูกอ่อน เสี่ยงต่ออันตรายหลายโรคจริง ๆ นะคะ หากเป็นไปได้ทีมบรรณาธิการ ABK อยากให้คุณแม่ได้ใช้ช่วงเวลาที่ลูกหลับ ได้พักผ่อนไปพร้อมกับลูก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมดูแลลูกน้อยต่อไปนาน ๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลเจ้าพระยา, pobpad, โรงพยาบาลนนทเวช, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ, โรงพยาบาลสุขุมวิท

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อายุเท่าไหร่ต้อง นอนกี่ชั่วโมง? ถึงจะเพียงพอ

14 วิธีช่วยให้การ นอนหลับ ดีขึ้น ต้อนรับวันนอนหลับโลก

วิธีรับมือ ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ลูกนอนไม่พอ แม่อย่ารอช้า!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up