ไส้เลื่อนในเด็ก

“ไส้เลื่อนในเด็ก” อันตรายถึงชีวิต ทารกและเด็กหญิงก็เป็นได้

Alternative Textaccount_circle
event
ไส้เลื่อนในเด็ก
ไส้เลื่อนในเด็ก

โรคไส้เลื่อนเป็นโรคที่ผู้ชายกลัว แต่รู้หรือไม่ว่า ไส้เลื่อนในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นทารกหรือเด็กเล็ก เด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง ก็สามารถเป็นโรคไส้เลื่อนได้ อ่านรายละเอียดและวิธีสังเกตอาการไส้เลื่อน ได้ที่นี่

“ไส้เลื่อนในเด็ก” อันตรายถึงชีวิต ทารกและเด็กหญิงก็เป็นได้

ไส้เลื่อนคืออะไร?

ไส้เลื่อน (Hernia) คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งเดิม และทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายก้อนตุง ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้องที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลังเช่น จากการผ่าตัด ภาวะแรงดันที่มากผิดปกติภายในช่องท้อง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ อาทิ เบ่งจากภาวะท้องผูก การไอหรือจาม การยกของหนัก โดยภาวะไส้เลื่อนสามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามบริเวณตำแหน่งการเกิดโรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด และ ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ

ไส้เลื่อนในเด็กนี้เกิดได้ในทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่าเด็กผู้หญิง และเกิดขึ้นในข้างขวามากกว่าข้างซ้าย และพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่าเด็กที่ครบกำหนด

ไส้เลื่อนในเด็ก มีอาการอย่างไร?

อาการของเด็กที่เป็นไส้เลื่อน จะพบว่ามีก้อนบริเวณเหนือขาหนีบและข้างหัวเหน่าเคลื่อนตัวออกมา หรือ เข้า ๆ ออก ๆ เด็กจะมีอาการเจ็บเวลาเบ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ ไอ หรือร้องไห้ก็ตาม เด็กบางคนจะรู้สึกแน่นท้อง หรือมีอาการปวดแสบปวดร้อน จนงอแง ก้อนที่ออกมาจะยุบหายไปหมดเมื่อเด็กนอนหลับ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถดันก้อนไส้เลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ ในเด็กที่เกิดภาวะไส้เลื่อนหนักขึ้น อาจมีอาการอาเจียน ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือบริเวณที่ไส้เลื่อนออกมาตุงที่ผนังหน้าท้องมีลักษณะแข็ง จนไม่สามารถใช้มือกดบริเวณที่เป็นก้อนลงไปได้ โดยหากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงลำไส้ในบริเวณที่เป็นไส้เลื่อนได้ เกิดอาการบวม เสี่ยงต่อภาวะลำไส้ตาย ซึ่งจะต้องได้รับการผ่าตัดด่วนเพื่อรักษาอาการ

ไส้เลื่อน
อาการไส้เลื่อนในเด็กที่มีอาการหนัก เด็กจะร้องกวน งอแง และรู้สึกปวด

ไส้เลื่อนในเด็ก มีสาเหตุมาจากอะไร?

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน สามารถเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอของเยื่อบุช่องท้อง ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุที่ช่องท้องจนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องอ่อนแอลง หรือเกิดขึ้นจากการผ่าตัด นอกจากนี้ แรงดันภายในช่องท้องก็เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนได้อีกด้วย เพราะเมื่อแรงดันในช่องท้องมากขึ้น ลำไส้ที่อยู่ภายในก็จะถูกดันออกมาตุงอยู่ที่บริเวณผนังช่องท้อง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ อันตรายจากโรค ไส้เลื่อนในเด็ก และ วิธีการรักษาโรคไส้เลื่อน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up