หัดเยอรมัน

สธ. เตือน “หัดเยอรมัน” ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง

Alternative Textaccount_circle
event
หัดเยอรมัน
หัดเยอรมัน

หัดเยอรมัน ติดต่อกันได้อย่างไร?

สามารถติดต่อได้โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัส โดยเชื้อสามารถติดอยู่ที่มือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือสิ่งแวดล้อม เมื่อคนปกติมาสัมผัสถูกมือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ เชื้อก็จะติดมากับมือของคน ๆ นั้น เมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะไชจมูกเชื้อหัดเยอรมันก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ (การสัมผัสผื่นที่ผิวหนังของผู้ป่วยไม่ได้ติดโรคได้) โดยระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ 12-24 วัน

หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร?

สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป โดยประมาณ 50% ของผู้ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการ (บางรายอาจเป็นหัดเยอรมันโดยไม่มีผื่นขึ้น แต่ยังคงสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้อยู่) ส่วนผู้ที่มีอาการก็จะแบ่งเป็นระยะก่อนออกผื่นและระยะออกผื่นเช่นเดียวกับโรคหัด ดังนี้

  • ระยะก่อนออกผื่น : เริ่มแรกอาจมีอาการไม่สบายเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ถึงปานกลาง ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา โดยเฉพาะเวลากลอกตาไปด้านข้างและด้านบน ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและเจ็บ สามารถคลำได้เป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำ ตรงหลังหู หลังคอ ท้ายทอย และข้างคอทั้ง 2 ข้าง หรืออาจมีอาการแบบโรคหวัด คือ มีไข้ มีน้ำมูก ไอ ในบางรายอาจมีน้ำมูกหรือถ่ายเหลวเล็กน้อยก่อนผื่นขึ้น ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-5 วันก่อนที่ผื่นจะขึ้น และอาการเหล่านี้จะทุเลาลงเมื่อมีผื่นขึ้นแล้ว (ในเด็กอาจไม่มีอาการไม่สบายเหล่านี้ในระยะนี้ ในขณะที่ผู้ใหญ่จะแสดงอาการมากกว่า)
  • ระยะออกผื่น : ผื่นจะมีลักษณะแบนราบเป็นสีชมพูอ่อน ๆ มีขนาดเล็ก ๆ ประมาณ 1-4 มิลลิเมตร ผื่นมักจะแยกจากกันชัดเจนไม่แผ่รวมกันเป็นแผ่นแบบโรคหัด โดยผื่นจะเริ่มขึ้นจากที่หน้า ตามชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น แล้วกระจายลงมาตามลำคอ ลำตัว แขนและขาอย่างรวดเร็วจนทั่วตัวภายใน 1-3 วัน โดยทั่วไปผื่นมักจะไม่มีอาการคัน นอกจากในผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการคันได้เล็กน้อย ผื่นแต่ละแห่งมักจะจางหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยเรียงลำดับจากหน้าลงมาที่ขา ซึ่งผื่นจะจางหายไปจนหมดภายในเวลาประมาณ 3 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นและไม่ทิ้งรอยผื่นสีคล้ำหรือหนังลอกแบบโรคหัด ยกเว้นในรายที่เป็นผื่นมากอาจลอกแบบขุยละเอียด นอกจากนี้ในระหว่างที่เป็นผื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดง น้ำมูกไหลร่วมด้วยได้
วัคซีนหัดเยอรมัน
ก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันแล้ว

วิธีป้องกันตนเองของนักเดินทาง

  • ตรวจสอบตนเองว่าเคยได้รับวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันครบ 2 เข็มหลังจากอายุ 1 ขวบหรือไม่
  • หากไม่มั่นใจว่าเคยได้รับวัคซีนครบหรือไม่ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับวัคซีนเพิ่มเติม โดยหญิง ตั้งครรภ์ไม่สามารถรับวัคซีนได้เนื่องจากวัคซีนเป็นอันตรายกับเด็กในท้อง และหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนครบอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้
  • แนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมัน (ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นโรคมาก่อน) หลีกเลี่ยงการเดินทาง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้ใช้มาตรการระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น พยายามไม่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีคนอยู่ รวมกันเยอะ ๆ และอากาศไม่ถ่ายเท ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากที่พัก ล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งที่มีโอกาส รวมถึงพกแอลกอฮอลส์เปรย์หรือเจลไว้ล้ามือตลอดเวลาทุกครั้งที่ไม่สามารถล้างมือฟอกสบู่ได้ และไม่นนำมือไปสัมผัสตา จมูก ใบหน้าโดยไม่จำเป็น
  • แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 9 เดือนหลีกเลี่ยงการเดินทาง เนื่องจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันในประเทศไทยเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุ 9 เดือนเป็นต้นไป
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนไม่สบาย รวมถึงการใส่หน้ากากอนามัยในที่ชุมชนแออัดและล้างมือฟอกสบู่บ่อย ๆ

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคยังได้ระบุว่าคนไทยสามารถเดินทางไปญี่ปุ่นได้ แต่ขอให้มีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งยังไม่เห็นคำแนะนำเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ขอให้อย่าวิตก แต่หากจะเดินทางไปให้เช็กประวัติว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันหรือไม่ และหากไม่เคยก็สามารถพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ คลิก

โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร

ระวัง! โรคหัด ระบาด ทำเด็กตาย…แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนฟรี

ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น พบผู้ป่วยในกรุงเทพฯ 124 รายแล้ว

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up