ภาวะเมทฮีโมโกลบิน

กินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ เสี่ยง!! ป่วยด้วย ภาวะเมทฮีโมโกลบิน

Alternative Textaccount_circle
event
ภาวะเมทฮีโมโกลบิน
ภาวะเมทฮีโมโกลบิน

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ค เตือนภัย อย่ากินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือสาเหตุจากพบเด็กที่กินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ ป่วยด้วย ภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin)

กินไส้กรอกไม่มียี่ห้อ เสี่ยง!! ป่วยด้วย ภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin)

กรณีเด็กป่วยหลังจากกินไส้กรอกไส้กรอกไม่มียี่ห้อ ไม่ระบุแหล่งที่มานี้ แล้วป่วยนี้ เกิดจากที่มีการพบว่ามีเด็กจำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย โดยทั้งหกรายมีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ ไส้กรอกเหล่านี้ทางผู้ปกครองได้สั่งซื้อทางออนไลน์ โดยมีต้นทางมาจากจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อเด็กทุกคนกินเข้าไปแล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมกัน ได้แก่ เกิดอาการคลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ และทุกรายต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งอาการเหล่านี้ทางการแพทย์ระบุว่าเป็นภาวะ เมทฮีโมโกลบิน Methemoglobin  เกี่ยวกับกรณีนี้ทีมแม่ ABK รวบรวมข้อมูลไว้เพื่อคุณแม่ทุกคนแล้วค่ะ

ภาวะเมทฮีโมโกลบิน Methemoglobin คืออะไร

ภาวะเมทฮีโมโกลบิน เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ถูกออกซิไดช์ โดยสารออกซิแดนท์ต่าง ๆ กลายเป็น เมทฮีโมโกลบิน ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ

อาการของภาวะเมทฮีโมโกลบิน

ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจน เช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะผู้ป่วยได้รับสารออกซิแดนท์ที่อาจมีการเติมในไส้กรอกหรืออาหารแปรรูปคือสารตระกูล ไนเตรท และไนไตรท ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย

โดยปกติแล้ว ร่างกายคนเราได้รับสารออกซิแดนต์ในปริมาณไม่มากจากแหล่งต่าง ๆ อยู่เสมอ แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเมทฮีโมโกลบิน กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติได้ แต่หากมีปริมาณเมทฮีโมโกลบิน สูงมาก ๆ คือได้รับสารออกซิแดนท์ในปริมาณที่มากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนเมทฮีโมโกลบิน คืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน

ภาวะเมทฮีโมโกลบิน
เด็กป่วยภาวะเมทฮีโมโกลบินต้องเข้าโรงพยาบาล

วิธีการรักษาภาวะเมทฮีโมโกลบิน

สำหรับวิธีการรักษานั้น คือ ผู้ป่วยต้องหยุดรับสารนี้จากแหล่งที่ต้องสงสัย และให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพิจารณาใช้ยา methylene blue ซึ่งมีในระบบยาต้านพิษ และในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรง จากการได้รับสารออกซิแดนท์ร่วมด้วย ต้องมีการติดตามระดับเกลือแร่ ให้สารน้ำและเลือดทนแทน

เด็ก เปลี่ยนเมทฮีโมโกลบินให้เป็นปกติ ได้น้อยกว่าผู้ใหญ่

จากการศึกษาพบว่าเด็กมีความสามารถในการเปลี่ยนเมทฮีโมโกลบิน ให้กลับเป็นฮีโมโกลบินปกตได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเกิดเมทฮีโมโกลบิน ได้ง่ายกว่า การตรวจเบื้องต้นจะพบว่าระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วจะต่ำอาจต่ำ 80-85% ได้ นอกจากนี้ในคนปกติเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน แต่หากเป็นผู้มี เมทฮีโมโกลบิน เลือดจะเป็นสีดำ

ปริมาณไนเตรทและไนไตรทที่อนุญาต

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) นั้น ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรทในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรทให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ในการผลิตอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีการเติมสารไนเตรท และไนไตรท มากกว่าปริมาณที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควร

ภาวะเมทฮีโมโกลบิน
ไส้กรอกไม่มียี่ห้อ ทำเด็กป่วย

สืบค้นแหล่งที่มาของไส้กรอกอันตราย

ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สืบหาแหล่งที่มาของไส้กรอกดังกล่าว และเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์อย่างเร่งด่วน

ผลิตภัณฑ์จำนวนมากไม่ผ่านเกณฑ์

ตั้งแต่ปี 2561-2564 ได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ส่งตรวจวิเคราะห์ 392 ตัวอย่าง พบว่าไม่ผ่าน 58 ตัวอย่าง ส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่าน เพราะในผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของสารไนเตรต ไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารกันเสีย เกิดขนาด โดย อย. ได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผลิตภัณฑ์ที่ผิดมาตรฐานแล้ว มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และหากมากเกินจนอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จะเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เตือนให้บริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ทาง ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี เตือนอีกว่า ให้เฝ้าระวังการบริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัด ไม่น่าเชื่อถือ  ควรเลือกซื้อไส้กรอกที่มีสีไม่แดงจัด พร้อมควรสังเกตชื่อผลิตภัณฑ์อาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ ส่วนประกอบและข้อมูลวัตถุเจือปนอาหาร น้ำหนักสุทธิ เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. และมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เย็นเพียงพอตลอดการขาย เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค โดยเฉพาะต้องระวังมากในเด็ก เนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่ หากมีอาการผิดปกติ ควรไปตรวจที่โรงพยาบาล หากทาง รพ. สงสัยภาวะเมทฮีโมโกลบิน สามารถปรึกษา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีได้ที่ 1367 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ทีมแม่ ABK ขอให้คุณแม่ทุกท่านตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อที่ลูกของเราจะได้ปลอดภัยจากอาการผิดปกติทั้งหลายนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

AmarinTV HD, ช่อง7 HD, ข่าวสด , FB Ramathibodi Poison Center

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ไข่จุ๊บ อันตราย! ลูกเสี่ยงกินเชื้อโรคเข้าร่างกาย เกิดอาหารเป็นพิษ

ชัวร์หรือมั่ว? ลูกเป็นมะเร็ง เด็กเป็นมะเร็ง เพราะพ่อแม่ให้กินแบบนี้

5 ผลเสียหากให้ลูกต่ำกว่า 2 ขวบกินอาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน !!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up