ทำความสะอาดของใช้

แนะ 4 วิธี ทำความสะอาดของใช้ ใกล้ตัว ให้ปลอดเชื้อโควิด-19

Alternative Textaccount_circle
event
ทำความสะอาดของใช้
ทำความสะอาดของใช้

ทางด้านนายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า มีบทวิจัยเชิงวิชาการวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจว่า

เชื้อไวรัสโควิด-19 เวลาที่อยู่บนผิวสัมผัสจะมีระยะเวลาของเชื้อที่ตายไปแตกต่างกัน เช่น

  • พลาสติก : COVID-19 จะอยู่ได้ประมาณ 9 วัน
  • กระดาษ (อยู่ในอุณหภูมิห้อง) : COVID-19 จะอยู่ได้ประมาณ 5 วัน
  • โลหะ : COVID-19 จะอยู่ได้ประมาณ 3 วัน

เราจะฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 บนธนบัตรได้อย่างไร?

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาอธิบายถึงการใช้ธนบัตรอย่างไรให้ปลอดภัย ห่างไกล COVID-19 ว่า แม้เชื้อไวรัสจะสามารถอยู่ในเนื้อกระดาษได้นาน 5 วัน แต่สามารถทำความสะอาดได้

ธนบัตร
เชื้อไวรัสสามารถอยู่บนธนบัตรได้ 5 วัน

หากคุณแม่ต้องการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อบนธนบัตร/เหรียญสามารถทำได้โดย

  • ใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเช็ด ซึ่งการใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อมาเช็ดไม่ทำให้เนื้อกระดาษถูกทำลาย
  • นำไปผึ่งแดด พอโดนความร้อนเชื้อก็ตาย ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน
  • ควรหลีกเลี่ยงการพับหรือกรีดธนบัตร เพราะรอยที่เกิดขึ้นจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

นอกจากนี้ เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการสัมผัสเหรียญหรือธนบัตรด้วยการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่นในมือถือแทนจะดีกว่าค่ะ แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเหรียญและธนบัตร

เราควรทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ บ่อยแค่ไหน?

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า ความบ่อยของการทำความสะอาดขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ใช้ และความบ่อยของการสัมผัสในจุดๆ นั้น

สำหรับในบ้านของตัวเอง ควรทำความสะอาดกลอนประตู ด้ามจับ ที่จับ ก๊อกน้ำต่างๆ ให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะประตูหน้าบ้านที่เรามักจับเพื่อเปิดประตูเข้า-ออกจากบ้าน และหากอยู่นอกบ้านควรหลีกเลี่ยงการจับต้องสิ่งเหล่านี้แล้วเอามือมาสัมผัสหน้า จึงควรล้างมือบ่อย หรือล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ระหว่างวันด้วย

สำหรับในที่สาธารณะ จุดที่มีคนสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ ได้แก่ ลูกบิดประตู เคาน์เตอร์ที่มีการวางมือเท้าแขน กระจกที่อาจสัมผัสเชื้อจากการไอ จาม ปุ่มกดลิฟต์ ราวจับห่วงจับ ปุ่มกดชักโครก เป็นต้น

ความบ่อยในการทำความสะอาดแบ่งจุดต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. จุดที่สัมผัสร่วมกัน ในพื้นที่ปิด

พื้นที่ปิด เช่น รถสาธารณะต่างๆ อย่างรถแท็กซี่ (ที่เปิดประตู) รถเมล์ (ที่จับโหน ที่จับตรงพนักพิง) รถไฟฟ้า รถใต้ดิน (ที่จับโหน) ควรทำความสะอาดทุกๆ 1-2 ชั่วโมง และทำความสะอาดทั้งคันรถวันละ 1 รอบ เพราะอาจเกิดการสัมผัสในส่วนอื่นๆ ของรถด้วย

  1. จุดที่สัมผัสร่วมกัน ในพื้นที่เปิด

พื้นที่สาธารณะที่มีคนมารวมกันเยอะๆ อย่าง ตลาด ห้างสรรพสินค้า ห้องประชุม ฮอลล์จัดงานแสดง คอนโด แฟลต ลิฟท์ ห้องซักผ้า ห้องทิ้งขยะ สเตเดียม ร้านเสริมสวย ฟิตเนส ตึกทำงาน ควรต้องทำความสะอาดจุดที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ ทุก 1 ชั่วโมง ยังคงเป็นที่จับประตู ก๊อกน้ำ กลอนประตูห้องน้ำ เคาน์เตอร์ที่มีที่เท้าแขน ฯลฯ เป็นต้น

  1. จุดที่เป็นสิ่งที่ใช้ด้วยกัน

เครื่องใช้ หรือสถานที่ที่ใช้ร่วมกันที่ควรต้องทำความสะอาดบ่อยขึ้นกว่าเดิม (จากที่จะมีการทำความสะอาดบ่อยอยู่แล้ว) ได้แก่ อุปกรณ์ออกกำลังกายในฟิตเนส สระว่ายน้ำ ภายในห้องซาวน่า เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ อุปกรณ์ในสำนักงาน เช่น เครื่องปรินท์ ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องชงกาแฟ ตู้เย็น โถส้วม ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่ามีคนมาใช้ร่วมกันมาก และบ่อยแค่ไหน แต่แนะนำให้ทำความสะอาดทุกๆ 1-2 ชั่วโมงเช่นกัน

แม้จะเป็นไปได้ยากที่เราทำความสะอาดทุกอย่างที่เราต้องสัมผัสร่วมกับคนอื่นได้ แต่ทางที่ดีที่สุด คือการป้องกันตัวเองด้วยการล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดภายหลังการสัมผัสสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน หรือ ใช้เจลแอลกอฮอล์ 70% ฆ่าเชื้อโรคในเบื้องต้นไปก่อน หากยังไม่มีโอกาสล้างมือ ก็อย่าเพิ่งนำมือไปสัมผัสใบหน้า เข้าปากหรือจมูกเพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ค่ะ

ข้อมูลจาก https://thestandard.co/ , www.sanook.com , https://www.js100.com/

บทความน่าสนใจอื่นๆ

คำแนะนำในการรับมือไวรัสโคโรนา สำหรับแม่ท้องและให้นม

ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ ? เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up