สนามเด็กเล่น

5 ภัยอันตรายใน สนามเด็กเล่น ต้องสอนลูกให้ระวัง!

event
สนามเด็กเล่น
สนามเด็กเล่น

ภัยอันตรายใน สนามเด็กเล่น ที่พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ระวัง

สำหรับตำแหน่งที่ได้รับอุบัติเหตุเรียงจากมากไปหาน้อยคือ แขนขา มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ศีรษะ คอ หน้าอก ท้อง โดยมากเป็นกระดูกหักและข้อเคลื่อน ส่วนอายุที่พบบ่อยคือ 5-9 ปี และเวลาที่เกิดคือช่วงกลางวัน … อย่างไรก็ตามนอกจากการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย (ในเบื้องต้น) แล้ว สิ่งสำคัญยิ่งที่หลายคนอาจลืมนึกถึง นั่นก็คือ ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือพี่เลี้ยงก็ตาม ก็จะต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ ด้วย ซึ่งทาง CSIP ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ได้ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับเรื่องคำพูดการสอนลูกให้เล่นอย่างระวังในสนามเด็กเล่น ไว้ดังนี้

1. อันตรายจากกระดานลื่น พบบ่อยที่สุด คือ เด็กๆ มักจะสไลเดอร์ด้วยท่าพิสดาร เช่น แทนที่จะนั่งแล้วปล่อยให้ไหลลงไปตามปกติ กลับใช้หัวเข่าไถลงไป นอนหงายลงไป หรือ เดินขึ้นเดินลงตรงรางลื่นและที่อันตรายสุด ก็คือ นอนคว่ำเอาหัวล

>> ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามและต้องตักเตือนหากเห็นเด็กทำเช่นนั้น ทั้งนี้กระดานลื่นที่ปลอดภัยจะต้องมีราวจับทั้ง 2 ข้าง และราวจับก็ต้องทอดยาวตลอด ตั้งแต่บันไดขั้นแรกกระทั่งถึงพื้นยกระดับ ส่วนราวจับก็ต้องมีขนาดที่เด็กจะกำได้โดยรอบ ตรงพื้นที่ยืนรอก่อนจะลงรางลื่น ก็ต้องมีผนังกันตกทั้งสองข้าง รางลื่นจะต้องโค้งมน แต่มีพื้นผิวที่ราบเรียบตลอดแนว และก่อนจะให้เด็กๆเล่นควรเช็กใช้มือสัมผัสว่ามีรอยปูดปม มีรอยแหลมๆคมๆใดหรือไม่

นอกจากนั้นการสัมผัสยังทำให้รู้ว่า พื้นผิวของรางลื่นในขณะนั้นมีความร้อนสูงหรือไม่? เพราะการอยู่กลางแดดจัดนานๆ ทำให้เกิดความร้อนสะสมบนผิวของรางลื่น (ที่โดยมากมักทำด้วยสังกะสี หรือโลหะอื่นๆ) ขืนปล่อยให้เนื้ออ่อนๆของเด็กๆ ถูไถลลงมากับแผ่นโละร้อนจัด มีหวังได้รอยแผลไหม้แน่ๆ

สิ่งที่พ่อแม่ควรพูดสอนลูก คือ …  เพื่อความปลอดภัย การลงจากกระดานลื่น จะต้องอยู่ในท่านั่ง และเอาฝ่าเท้าลงก่อนเสมอ เมื่อลงถึงพื้นแล้วก็ให้ลุกขึ้นแล้วเดินออกจากกระดานลื่นทันที เพราะหากมีคนอื่นกำลังลงตามมาจะได้ไม่ชนกัน

สนามเด็กเล่น

2. เครื่องเล่นปีนป่าย-ห้อยโหน แม้ว่าเด็กเล็ก (วัยไม่เกิน 5 ขวบ) จะชอบปีนป่าย แต่เครื่องเล่นชนิดนี้ยังไม่เหมาะ เพราะนอกจากเครื่องเล่นที่มักจะมีความสูงเกินกว่าวัยของเด็กแล้ว ก็ยังไม่มีทางลงที่เหมาะอีกด้วย ทั้งนี้เด็กๆ ที่จะมาเล่นเครื่องเล่น ไม่ควรมีอะไรมาคล้องคอให้เสี่ยงอันตรายเลย ไม่ว่าจะเป็นเชือกผูก, จุ๊บนมยาง, สายสร้อย,สายสิญจน์, ผ้าพันคอ หรือแม้แต่ลักษณะของเสื้อผ้าที่เด็กสวมใส่ก็ไม่ควรมีสายมีเชือกระโยงระยางให้เกะกะ

สิ่งที่พ่อแม่ควรพูดสอนลูก คือ … ทุกครั้งเมื่อจะปีนลงให้ลูกเอี้ยวไปมองด้านหลังก่อนว่า มีใครปีนสวนขึ้นมาหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เขาปีนขึ้นมาก่อน

เพราะอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้น ก็คือ คนหนึ่งปีนลงโดยไม่เหลียวมองหลัง ในขณะที่อีกคนก้มหน้าก้มตาปีนขึ้น

สอนลูกว่า … ห้ามเล่นเครื่องปีนป่าย (รวมทั้งเครื่องเล่นทุกชนิด) ที่เปียกน้ำเพราะมันลื่นทำให้พลัดตกได้ง่าย

สอนลูกว่า … ก่อนจะทิ้งตัวลงมาจากเครื่องปีนป่าย จะต้องลงโดยท่าย่อเข่า และใช้เท้าสองข้างถึงพื้นพร้อมๆกัน ไม่ใช่ทิ้งขาหรือทิ้งก้นลงมาเลย

Must read >> 5 วิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

สนามเด็กเล่น

3. ชิงช้า อีกหนึ่งในของเล่นยอดฮิต ในสนามเด็กเล่น ซึ่งควรทำด้วยผ้า ยาง หรือวัสดุที่อ่อนนุ่ม มีขอบมนและมีผิวเรียบซึ่งย่อมปลอดภัยว่าชิงช้าที่ทำด้วยโละหรือไม้ เพราะจะเสี่ยงต่อการโดนกระแทกหากเกิดพลัดตก ทั้งนี้ชิงช้าที่จัดวางใกล้กันเกินไป หรือใกล้กับเสาคานด้านข้างมักเกี่ยว ชนกัน หรือ กระแทกเสาคานข้าง ได้ ตามมาตรฐานระยะห่างของที่นั่งชิงช้ากับโครงด้านข้าง จะต้องไม่น้อยกว่า 75 ซม. และรายะห่างระหว่างที่นั่งต้องไม่น้อยกว่า 60 ซม.

สิ่งที่พ่อแม่ควรพูดสอนลูก คือ … การนั่งชิงช้านั้น ควรนั่งตรงกลางของที่นั่งเท่านั้น และห้ามขึ้นไปยืนหรือคุกเข่าบนที่นั่งโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจตกลงมาจนได้รับบาดเจ็บ

สอนลูกว่า … เพราะว่าหนูยังเด็ก ยังตัวเล็กนัก จึงไม่ต้องไกวชิงช้าให้คนอื่นนั่ง แล้วก็ไม่ให้คนอื่นมาไกวชิงช้าให้เรา และถ้าใครมาไกวชิงช้าให้เราเราก็ต้องห้ามปรามทันที เพราะเด็กๆมักจะออกแรงไกวอย่างสุดๆ โดยไม่ได้คิดถึงอันตรายกันเลย

***ถ้าลูกอายุยังไม่ถึง 5 ขวบ แต่อยากนั่งชิงช้า พ่อแม่ก็ควรประคองตัวประคองหลังเขาไว้ให้ดีเนื่องจากเด็กวัยนี้ยังทรงตัวได้ไม่ค่อยเก่ง หากไม่ระมัดระวังก็อาจเกิดอันตรายได้

 

4. เครื่องเล่นใน สนามเด็กเล่น โดยมากจะมีสีฉูดฉาดแบบการ์ตูน เพื่อดึงดูดใจเด็กๆ แต่หากว่าสีนั้นลอกหลุดร่อน ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจมีสารตะกั่วปนเปื้อน เมื่อลูกไปสัมผัสเข้า พิษสารตะกั่วก็มีโอกาสเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลเสียหายต่อการพัฒนาการทางสมอง

5. สนามเด็กเล่น ที่ปลอดภัยจะต้องไม่คับแคบ ตาควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร หรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 53 ตารางเมตร และ เครื่องเล่นแต่ละชิ้น ต้องวางห่างกันไม่น้อยกว่า 180 ซ.ม. เพื่อกันการถูกชนกระแทกโดนเครื่องเล่น ในขณะที่เด็กๆวิ่งเล่น หรือเกิดพลัดตกจากเครื่องเล่น

จะเห็นได้ว่าการจะทำให้ สนามเด็กเล่น เป็นสถานที่ปลอดภัย มีประโยชน์  และเหมาะสำหรับเด็กๆ นั้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิดแล้ว บรรดาหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ก็ควรจะต้องตื่นตัวและมีสามัญสำนึกทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดอีกด้วย

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.csip.orgwww.shawpat.or.thwww.thaihealth.or.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up