ลูกเป็นหวัดบ่อย

อย่านิ่งนอนใจ ลูกเป็นหวัดบ่อย ไซนัสอักเสบอาจถามหา

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเป็นหวัดบ่อย
ลูกเป็นหวัดบ่อย

 

ลูกเป็นหวัดบ่อย

อาการของโรค

ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคนั้น จะคล้าย ๆ กับโรคหวัดค่ะ นั่นคือ คัดจมูก น้ำมูกข้นอาจจะมีสีเหลือง หรือเขียวก็ได้ มีเสมหะในคอ เจ็บและระคายคอ เสียงแหบ ไอ ที่สำคัญชอบไอมากเวลานอน เนื่องจากปกติแล้วน้ำมูกจะไหลลงคอเวลาที่เรานอนราบ สำหรับผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการปวดศรีษะ ปวดบริเวณดั้งจมูก หน้าผาก หัวคิ้ว โหนกแก้ม ฟันบน หูอื้อ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หรือเลือดกำเดาไหลบ่อย เป็นต้น

นอกจากคุณหมอจะวินิจฉันจากอาการเหล่านี้แล้ว คุณหมอก็จะใช้วิธีการตรวจร่างกาย หากพบว่าลูกหรือผู้ป่วยมีอาการกดแล้วเจ็บบริเวณไซนัส อาการ บวมรอบตา เยื่อบุโพรงจมูกบวม น้ำมูกข้น เหลือง เขียว เมื่อใช้ไม้กดลิ้นดูบริเวณช่องคอ จะเห็นน้ำมูกไหลลงคอ

แต่ในกรณีที่อาการและการตรวจนั้นไม่ชัดเจน คุณหมอก็จะทำการเอ็กซเรย์ไซนัสแทน โดยสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปค่ะ หากผลการเอ็กซ์เรย์พบว่า ไซนัสนั้นมีการขาวทึบ หรือเป็นระดับน้ำขังอยู่ในโพรง หรือเยื่อบุโพรงหนาตัวขึ้น นั่นก็แสดงว่าไซนัสอักเสบนั่นเอง

สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้ … ภาวะแทรกซ้อนที่ว่านี้ ก็คือ การติดเชื้อจากโพรงไซนัสลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้ารอบเบ้าตา ทำให้หนังตาและหน้าบวมแดง และที่พบได้แต่ไม่บ่อยได้แก่ การติดเชื้อของกระดูกบริเวณใบหนัา การติดเชื้อของเส้นประสาทตา เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นต้น

ในกรณีที่มีน้ำมูกไหลลงคอนั้น อาจส่งผลทำให้ลูกมีปัญหาเจ็บคอบ่อย หากน้ำมูกตกลงไปบริเวณหลอดลมทำให้มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือมีอาการหอบได้ จึงมักพบว่าเด็กที่มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือหอบบ่อย ๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคไซนัสอักเสบซ่อนเร้นอยู่

ลูกเป็นหวัดบ่อย
ลูกเป็นหวัดบ่อย

วิธีการรักษา

การรักษานั้น สามารถทำได้หลายวิธีค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นการให้ต่อเนื่องให้นานพอที่จะฆ่าเชื้อได้หมด เนื่องจากโพรงไซนัสเป็นบริเวณที่ยาเข้าถึงลำบาก เนื่องจากมีเส้นเลือดไปน้อย การให้ยาเพียง 1 สัปดาห์ ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด ทำให้เหลือเชื้อแบ่งตัวกลับมามีอาการใหม่ในเวลาไม่นาน และทำให้เชื้อโรคดื้อยามากขึ้น ถ้าเป็นไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน คุณหมอก็จะให้ยาประมาณ 2 สัปดาห์ หรือให้ต่ออีก 7 วันหลังจากที่อาการหายแล้ว แต่ถ้าเป็นแบบเรื้อรังละก็ การรักษานั้นอาจนาน 3-8 สัปดาห์เลยละค่ะ ซึ่งคุณหมอต้องประเมินผลการรักษาระหว่างให้ยาว่าได้ผลดีหรือไม่ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 4-5 วัน ควรพิจารณาเปลี่ยนยา เป็นต้น
  • ยาแก้คัดจมูก ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้ของเหลวในโพรงไซนัสไหลออกได้ดีขึ้น
  • การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ จะช่วยให้น้ำมูกเหนียวน้อยลง ขนฝอยที่เยื่อบุจมูกทำงานกวัดไกวเพื่อกำจัดเชื้อโรคและสารกระตุ้นภูมิแพ้ออก จากจมูกได้ดีขึ้น ลดคราบน้ำมูกแห้งกรังที่อุดตันรูเปิดของไซนัส ทำให้โพรงไซนัสสะอาดเร็วขึ้น
  • ใช้ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ อาจต้องใช้ร่วมด้วยในรายที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ เพื่อลดการอักเสบจากภูมิแพ้ ทำให้อาการบวมของเยื่อบุจมูกลดลง อาการคัดจมูกดีขึ้น
  • การดูแลทั่ว ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ งดว่ายน้ำ ดำน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ เท่านี้ก็สามารถช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้บ้างแล้วละค่ะ
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องทราบก่อนว่า ลูกของเรานั้นแพ้อะไรบ้าง หากไม่ทราบก็สามารถพาลูกไปทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง หรือเจาะเลือดตรวจก็ได้นะคะ เมื่อทราบแล้ว เราจะได้หาวิธีการรักษาและป้องกันได้ถูกต้องนั่นเอง
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่เป็นตัวกระตุ้น ยกตัวอย่างเช่น นมวัว นมถั่วเหลือง แป้งสาลี ไข่ หรืออาหารทะเล เป็นต้น

ดังนั้น ต่อไปนี้หากพบว่า ลูกเป็นหวัดบ่อย แนะนำให้ไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจให้แน่ชัดไปเลยจะดีกว่านะคะ ไม่ใช่แค่เพื่อความสบายใจอย่างเดียว แต่จะได้เป็นการช่วยกันหาวิธีการป้องกันไม่ให้อาการของลูกกำเริบขึ้นได้นั่นเอง

ขอบคุณที่มา: Breastfeeding Thai

อ่านต่อเนื้อหาอื่นเพิ่มเติม:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up