ตรวจคัดกรองมะเร็ง

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจคัดกรองมะเร็ง
ตรวจคัดกรองมะเร็ง

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ในผู้หญิงควรตรวจเมื่อไหร่?

มะเร็งเต้านม

โดยทั่วๆไป ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรจะต้องเริ่มมีการตรวจเต้านมตัวเองอยู่สม่ำเสมอ แนะนำให้ตรวจหลังการหมดช่วงมีประจำเดือน และให้พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก 1-3 ปี (อ่านต่อ 4 วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง คลำหาง่าย ๆ ด้วยสองมือเรา (มีคลิป))
อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แนะนำเริ่มมีการตรวจแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี และยังต้องมีการตรวจด้วยตัวเองต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่นเดิม
การตรวจแมมโมแกรม คือ การตรวจภาพเนื้อเยื่อภายในเต้านมด้วยรังสีเอกซ์ (เอกซเรย์) ด้วยเครื่องเอกซเรย์พิเศษเฉพาะการตรวจเต้านมที่เรียกว่า “แมมโมแกรม” ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการฉายเอกซเรย์ตรวจปอดหรือตรวจอวัยวะอื่น ๆ เพียงแต่ว่าจะเจาะจงเฉพาะเนื้อเยื่อของเต้านมแท้ ๆ โดยไม่ผ่านอวัยวะอื่นใดเลย และเครื่องนี้จะใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% แต่มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามากในระดับที่สามารถเห็นเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ แม้จะเป็นก้อนหินปูนเล็ก ๆ หรือจะเป็นเพียงจุดขนาดเล็กก็ตาม
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม
แต่ถ้าเป็นผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เช่น เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน เคยตรวจเจอเนื้อเต้านมชนิด LCIS เคยฉายแสงก่อนอายุ 30 ปี บริเวณหน้าอก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเป็นมะเร็งทางพันธุกรรมเต้านม รังไข่ อาจต้องเริ่มตรวจแมมโมแกรมที่อายุ 30 พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทุก 6-12 เดือน หรือตรวจแมมโมแกรมอาจไม่พอ บางรายอาจต้องตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย
อ้างอิง : NCCN 2013

มะเร็งลำไส้ใหญ่

  • คนทั่วไป เริ่มตรวจที่อายุ 50 ปี โดยการตรวจได้หลายแบบ ได้แก่
    • การส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี
    • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (colonoscopy) ทุก10 ปี
    • การตรวจอุจจาระ โดยอาจร่วมกับส่องกล้องลำไส้ส่วนปลายปละทวารหนัก ทุก 5 ปี
    • การตรวจลำไส้ใหญ่ทางเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT colonography ทุก 5 ปี
  • กลุ่มเสี่ยง (มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ) ควรตรวจที่อายุ 40 ปี หรือ ที่อายุ 5 ปีก่อนอายุขของคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
อ้างอิง : NCCN 2013

การตรวจหาโรคมะเร็งทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้มีสัญญาเตือนว่าอาจเป็นโรคมะเร็งนั้น อาจฟังดูน่ากลัว กลัวว่าถ้าตรวจแล้วจะเจอโรค แต่หากตรวจแล้วเจอ ยอมรับ และทำการรักษาได้เร็ว ก็จะเป็นการตัดโอกาสไม่ให้เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกายของเราได้เลย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก

ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี!

8 เรื่องเข้าใจผิด “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้ชายก็เป็นได้

19 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพ, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up