การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รวม “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” ให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง…ที่พ่อแม่ควรรู้!

event
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หัวโน ห้อเลือด ฟกช้ำ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกน้อยสะดุดล้มหัวโน หรือหื้อเลือด และมีรอยฟกช้ำ ควรทำดังนี้

  1. ในระยะแรกให้ประคบด้วยความเย็น โดยอาจจะใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำแข็ง ประคบเส้นเลือด บริเวณนั้นจะหดตัวทำให้เลือดนั้นหยุดไหล ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ห้ามกดนวดคลึงเพราะจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังยิ่งออกมากขึ้น
  2. ห้ามใช้ยาหม่อง หรือของร้อนอื่นๆ ทาบริเวณที่โนเพราะแทนที่จะหายโน ความร้อนของยาหม่องจะยิ่งทำให้ลูกปวดร้อน เลือดมาคั่งอยู่ที่บริเวณแผล บางครั้งจะเห็นแผลแดงช้ำมากขึ้น
  3. หลังจากประคบเย็นแล้ว 24 ชั่วโมง จึงเริ่มประคบด้วยความร้อน โดยการใช้ถุงน้ำอุ่น ขวดใส่น้ำอุ่น หรือใช้ใบพลับพลึงอังไฟให้อุ่นๆ แล้วพันหรือวางนาบไว้ที่แผล เพื่อให้เลือดที่ออกถูกดูดซึมกลับเข้าเส้นเลือดเร็วขึ้น ช่วยลดอาการปวดในบริเวณนั้นหรืออาจจะใช้ยาหม่องทาถูให้ผลดี

ไฟไหม้ ของร้อนลวก

อุบัติเหตุจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มักพบได้กับเด็กทุกช่วงวัย เมื่อเกิดบาดแผลห้ามใช้น้ำปลา ยาสีฟัน หรือยาหม่อง ตามที่เคยได้ยินคนโบราณบอก เอามาทาให้ลูกเด็ดขาด! เพราะจะทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้ และต้องรีบให้การช่วยเหลือทันที ดังนี้

  • ถ้าลูกถูกไฟและมีไฟติดที่เสื้อผ้า รีบราดน้ำไปบนตัวเพื่อดับไฟ ถ้าไม่มีน้ำ ให้ใช้ผ้าผ้าหนามาห่อหุ้มลูก เพื่อให้ไฟจากเสื้อผ้าดับก่อน และหลังจากไฟดับแล้วฉีกเสื้อผ้าออกเพื่อดูบาดแผล
  • ถ้าเกิดบาดแผลมีบริเวณกว้าง หลังจากราดน้ำเย็นๆ แล้วใช้ผ้าสะอาดรีบซับให้แห้งแล้วนําผ้าสะอาดห่อตัวลูก แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
  • ถ้าในเด็กที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป จะใช้การประเมินบริเวณผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งในส่วนของการโดน ของร้อนลวก นิยมใช้หลักกฎเลขเก้า (The Rule of Nines) (Jean W.S. and JANE C. O’Brien, 2006: 182) เพื่อประเมินแบบเร่งด่วนว่ามีภาวะของการช็อกจากการเสียสารน้ำในหลอดเลือด (Hypovolemic Shock) กฎเลขเก้า ประกอบด้วย การให้คะแนนบริเวณของผิวหนังที่สูญเสียน้ำ เมื่อผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย
  • ถ้าแผลรุนแรงจนเด็กมีอาการช็อก ให้เด็กนอนราบศีรษะต่ำกว่าลำตัว ห่มผ้าให้ดี พร้อมตะแคงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง ในกรณีที่ลูกไม่รู้สึกตัว ไม่ควรทำแผลเอง ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

ข้อเท้า ข้อมือแพลง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากลูกเกิดข้อเท้าแพลง คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ ดังนี้

  1. ไม่เคลื่อนไหวข้อที่แพลง เช่น ถ้าข้อเท้าแพลงห้ามเดิน ถ้าต้องการเคลื่อนย้ายลูกเข้าที่ร่มควรอุ้ม
  2. ใช้ความเย็นประคบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บทันที ความเย็นจะช่วยให้อาการบวมยุบตัวลง เนื่องจากเมื่อข้อแพลงเส้นเลือดเล็กๆ จำนวนมาก รอบๆข้อจะแตก ทำให้เลือดและน้ำเหลือง ไหลออกมาจากเส้นเลือด มาคั่งตามเนื้อเยื่อจึงเกิดการบวม ความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดที่กำลังแตกหดรัดตัว เลือดหรือน้ำเหลืองแข็งตัว ข้อที่แพลงจะไม่บวมมากขึ้นและยังช่วยให้ปวดน้อยลง
  3. ห้ามใช้น้ำอุ่นประคบข้อที่แพลงทันที หรือประคบในวันแรกเพราะหาก เส้นเลือดยังคงแตกแลเลือดหรือน้ำเหลืองยังคงซึมออกมา ความร้อนจะยิ่งทำให้ข้อบวมมากขึ้น และเด็กจะรู้สึกเจ็บปวดข้อมากขึ้น หลังจากประสบอุบัติเหตุอย่างนี้อยู่ 24 ชั่วโมง จึงใช้น้ำอุ่นประคบ เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ประคบมากขึ้น ทำให้ก้อนอนเลือดที่แข็งตัวถูกละลายและดูดซึมกลับเร็วขึ้น
  4. ยกข้อที่แพลงให้อยู่สูง เช่น ข้อเท้าแพลง ควรให้ลูกนั่งแล้วพาดเท้าบนเก้าอี้อีกตัวที่สูงกว่า ไม่ห้อยเท้า หรือนอนแล้วหาหมอนหรือผ้าห่มหนา ๆ มาพับหนุนเท้า ให้สูงกว่าระดับตัวลูกประมาณ 1 ฟุต หรือ หากข้อมือแพลง ให้ห้อยแขนข้างที่แพลงไว้ด้วยผ้าสามเหลี่ยม โดยให้ปลายนิ้วสูงกว้าข้อศอกที่พับตั้งฉาก ประมาณ 4-5 นิ้ว การยกข้อที่แพลง ให้สูงจะทําให้ข้อบวมน้อยลง เมื่อบวมน้อยลงก็จะปวดน้อยลงด้วยเช่นกัน

กระดูกหัก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อลูกน้อยกระดูกหัก สามารทำได้ ดังนี้

  1. ห้ามเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บ หรือเคลื่อนย้ายลูก
  2. ทำการเข้าเฝือกชั่วคราว เพื่อช่วยให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลด อาการเจ็บปวดและป้องกันความพิการที่อาจจะเกิดขึ้น การเข้าเฝือกชั่วคราวทำได้โดยใช้แผ่นไม้, กิ่งไม้, นิตยสารพับครึ่งตามยาว, หนังสือพิมพ์พับเป็นท่อนยาวหนา ๆ, ไม้บรรทัด หรือด้ามร่ม วางนาบกับส่วนที่หักแล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น หรืออาจจะพันส่วนที่หักติดกับร่างกายก็ได้ เช่น พันต้นแขนที่หักกับลำตัว แล้วใส่ผ้าคล้องแขนไว้ หรือพันแขนข้างที่หักกับข้างที่ปกติ เป็นต้น
  3. นำลูกส่งโรงพยาบาล โดยด่วน

สิ่งแปลกปลอมเข้าอวัยวะต่างๆ

สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก อาจทำให้ลูกเกิดอาการหายใจขัด หายใจไม่ออกได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. บอกให้ลูกอ้าปากหายใจทางปากแทน แต่ถ้าเป็นลูกทารกและมองเห็นว่าสิ่งแปลกปลอมนั้น อยู่ลึกและปิดจมูกให้แน่น พร้อมสังเกตการหายใจ หากรู้สึกขัดควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
  2. หยอดน้ำมันพืชเข้าไปในจมูกข้างที่มีสิ่งแปลกปลอม ถ้าเป็นจำพวกเมล็ดพืชก็จะช่วยไม่ให้เมล็ดนั้นบวมปูดในรูจมูกจนแน่นมากขึ้น ถ้าเป็นพวกแมลงเข้าจมูกจะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนในรูจมูก และยังทำให้แมลงหยุดการเคลื่อนไหวหรืออาจจะตาย ได้ด้วย
  3. สำหรับลูกโต บอกให้ลูกที่สามารถสั่งน้ำมูกได้ สั่งน้ำมูกออกมาเบาๆ วิธีนี้สิ่งแปลกปลอมอาจจะหลุดออกมา แต่ถ้าเป็นเด็กเล็ก 2-4 ขวบ ไม่ควรใช้วิธีนี้ เพราะแทนที่เด็กจะสั่งน้ำมูกออก กลับสูดลมเข้าไปทำให้สิ่งแปลกปลอม ยิ่งเข้าไปลึก
  4. ถ้าสิ่งแปลกปลอมเป็นพวกเศษผ้า เศษกระดาษ อาจใช้ครีมคีบที่มีปลายมนค่อยๆ คีบออกมา
  5. ถ้าสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก และเป็นจำพวกถั่วเมล็ดกลมผิวมัน หรือลูกปัด ห้ามคีบ หรือเขี่ยออกเอง เพราะจะยิ่งเป็นการดันให้เมล็ดพืชหรือลูกปัดกลิ้งเข้าไปลึกอีก ควรพาลูกไปหาหมอ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถจับศีรษะลุกให้อยู่นิ่งๆ ได้ และของนั้นอยู่ตื้น มองเห็นและคีบออกได้ง่าย ควรจะพูดกับลูกให้เข้าใจอย่าตกใจ แล้วค่อยๆ ใช้ที่คีบปลายมนคีบออกมา อย่ารีบร้อนเพราะของอาจจะยิ่งตกลึกเข้าไป
  6. ถ้าเป็นเด็กเล็กที่ไม่ยอมนิ่ง และไม่ยอมให้ปฐมพยาบาลหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นอยู่ในหูลึก หรือไม่แน่ใจว่าจะคีบได้ ควรพาไปพบแพทย์ เพราะถ้ากระทบกระเทือนถึงเยื่อแก้วหู หูอาจหนวกได้ และทางที่ดีอย่าให้ลูกกินอาหารก่อนไป เผื่อไว้กรณีที่จำเป็น ต้องวางยาสลบเพื่อที่จะเอาของที่ติดอยู่ออกจะได้ ทำได้ง่ายโดยไม่มีอันตราย เพราะในการวางยาสลบ ถ้าทำหลังการกินอาหาร ลูกอาจสำลักอาหารเข้าหลอดลมได้ นอกจากนั้นเวลาเดินทางไปพบแพทย์ต้องระวังอย่าให้กระเทือน เพราะสิ่งแปลกปลอมนั้นจะกระเทือนเข้าไปในหูมากขึ้นได้

อ่านต่อ >> การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ถูกวิธีให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 4

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up